กรณีไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

ฎีกาที่  530/2522

ผู้ขอรับชำระหนี้

การขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืม ผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้ยืมเงินนั้นจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้น    เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม ข้อความในแชตก็ไม่มีคำว่าเป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืม เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม   เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มาแสดงหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้

กฎหมายหน้ารู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

สอบถามเพิ่มเติม

091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

การลงลายมือชื่อ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การลงลายมือชื่อ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กรณีที่มีการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติ   กรณีนี้ก็ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ และมีหลักฐานจากการกู้ยืมแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556

การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินสดและใส่รหัสส่วนตัว เปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง การทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์และกดเงินยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิปไปแล้ว การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7, 8 และ 9   จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจในการฟ้องคดีได้

กฎหมายหน้ารู้

ผลของดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตรา

การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราโดยมีการเรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนิติกรรมการกู้ยืมตกเป็น “ โมฆะ ” ดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปนั้นจะมีการคืนหรือไม่ หรือสามารถนำไปหักยอดหนี้ได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ชำระทราบหรือไม่ว่าตนชำระตามอำเภอใจโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ    หากมีการชำระตามอำเภอใจตาม มาตรา47  ก็เรียกคืนไม่ได้หรือนำไปหักยอดหนี้ไม่ได้  กรณีจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฉบับเดิมคือ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา    พ.ศ..2475 มีเรื่องกฎหมายต่างๆมากมายที่ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยไว้   แม้กฎหมายฉบับดังกล่าวจะได้มีการยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา มาตรา2560 แล้ว  แต่หลักการสาระสำคัญโดยเฉพาะฐานความผิดของกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่นั้นใกล้เคียงกัน  ดังนั้นแนวบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของศาลฎีกาตามกฎหมายเก่าจึงสามารถนำมาใช้เทียนในประเด็นต่างๆได้จึงเห็นสมควรปรึกษาข้อกฎหมายต่างๆ

กรณีมีอำนาจตามกฎหมายในการเรียกดอกเบี้ยทบต้น หากมีอำนาจตามกฎหมายในการเรียกดอกเบี้ยทบต้นก็สามารถทำได้และว่าการเรียกดอกเบี้ยทบต้นเมื่อรวมแล้วเกินอัตราตามกฎหมายก็ไม่ต้องห้าม

ฎีกาที่ 658 – 659/2511

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้เมื่อ รวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้ดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ15 ต่อปีก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  มาตรา 2475, มาตรา 3

ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนโดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดจึงใช้ได้ “ ไม่เป็นโมฆะ ”

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

เกี่ยวกับการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นมีกฎหมายคือพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 บัญญัติไว้เนื่องจากทางรัฐบาลเห็นว่าการให้กู้ยืมโดยอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควรเป็นเรื่องที่เป็นทางเสื่อมประโยชน์ของบ้านเมืองสมควรป้องกันและสะท้อนให้ต้องเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดูถ่ายทอดสดกันอยู่ที่ว่ามาตรา 3 และมาตรา 4 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

มาตรา 3 บุคคลใด

(ก) ให้บุคคลอื่น ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้หรือ

(ข) เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราท่านบัญญัติไว้ในกฎหมายบังอาจกำหนด ข้อความมันไม่จริงในเรื่องจำนวนเงินกู้หรืออื่นๆไว้ในหนังสือสัญญาหรือสถานที่เปลี่ยนมือได้หรือ

(ค) นอกจากดอกเบี้ยยังบังอาจ กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งกำไรอื่นเป็นเงินหรือสิ่งของโดยวิธีการเพิกถอนหนี้หรืออื่นๆจนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรดำเนินไขแห่งการกู้ยืม

ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา44 บุคคลใดโดยรู้อยู่แล้วได้มาแม้จะได้เปล่าซึ่งสิทธิ์ที่จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นอันผิดบัญญัติที่กล่าวไว้ในมาตราก่อนและใช้สิทธิ์นั้นหรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งถิ่นนั้นท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อนนั้น

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ทำยอมกันที่ศาล

ทำยอมกันที่ศาล

คดีความที่เกิดขึ้นแล้วทุกๆคดี ส่วนใหญ่ศาลมักที่จะเปิดโอกาสให้คู่ความทั้งสองฝ่ายให้มีการพูดคุยเจรจาคดีที่เป็นความกันก่อนอยู่เสมอ  และหากตัวความสามารถตกลงกันได้  ในทางคดีแพ่งเขาเรียกกันว่า “ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาล ”

การทำสัญญาประนีประนอมที่ศาลนั้น หากคู่ความสองฝ่ายตกลงจัดทำขึ้นมาแล้วตามเจตนารมณ์ทั้งสองฝ่ายแล้ว ศาลก็จะมีคำพิพากษาและตัดสินคดีให้เสร็จสิ้นไปตามที่สองฝ่ายได้ตกลงกัน  ส่งผลให้คดีความที่ศาลเสร็จสิ้นโดยทันทีได้

ส่วนหลังจากตกลงกันแล้ว  หากคู่ความฝ่ายใดผิดนัดตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ในสัญญายอม  ตัวความอีกฝ่ายอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สามารถดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาของศาลได้

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

กรณีไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

กรณีไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

ฎีกาที่  530/2522

ผู้ขอรับชำระหนี้

การขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืม ผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้ยืมเงินนั้นจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้น    เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม ข้อความในแชตก็ไม่มีคำว่าเป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืม เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม   เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มาแสดงหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้

สอบถามเพิ่มเติม

091-0473382 , 02- 1217414

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดคดีฉ้อโกง

ความผิดคดีฉ้อโกง

คดีความข้อหาฉ้อโกงเป็นความผิดในคดีอาญามีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 3 ปี   โดยมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาดังนี้ครับ

มาตรา 341    “  ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความซึ่งควรบอกให้แจ้ง   และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวง   หรือบุคคลที่สามทำถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ์    ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  ”

สอบถามเพิ่มเติม https://www.facebook.com/chessstudio/

091-0473382 , 02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

 

ฎีกาเรื่องหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

ฎีกาที่ 167/ 2499

คำรับสารภาพหนี้ในบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นพยาน  แสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 65/2507

หนังสือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว    ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น

 

ฎีกาที่ 64/2509

บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง และจำเลยได้ลงชื่อไว้ท้ายบันทึกนั้นด้วย    แม้จะเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตาม   ก็สามารถใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแทนสัญญาแห่งการกู้ยืมได้

ฎีกาที่ 215/2510

จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอและได้ให้ถ้อยคำในบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าบันทึกถูกต้อง  ดังนั้นบันทึกหลังทะเบียนการหย่าถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 โจทย์สามารถนำหลักฐานนั้นมาฟ้องร้องเรียกหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมได้

ฎีกาที่ 483/2510

จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่า ไม่ต้องมารบกวนอีกเก่ายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละอายใจเพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ   เพราะข้อความยังไม่ระบุจำนวนเงินโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ไม่ได้     แต่ต่อมาหากโจทก์ส่งข้อความไปให้จำเลยจำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับเงินแล้ว  และต่อมาจำเลยมีจดหมายอีก 2 ฉบับถึงจุดยืนยันว่าจะใช้เงินที่ยืมให้จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม     โจทก์จึงฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้

 

กฎหมายหน้ารู้