ความผิดคดีแพ่ง

wooden gavel and books on wooden table,on brown background

ความผิดคดีแพ่ง
คดีแพ่ง คือคดีที่ฟ้องเพื่อเรียกเงินระหว่างกัน เช่น คดีกู้ยืมเงิน คดีผิดสัญญา คดีเช่าทรัพย์ คดีตั๋วเงิน คดีจำนอง คดีซื้อขาย คดีมรดก เป็นต้น
การฟ้องร้องคดีแพ่ง ต้องมีการจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้อง ต้องมีการเสียค่าขึ้นศาล ค่าส่งหมายให้ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ทราบถึงการฟ้องร้องนั้น ค่าคำร้อง และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะมีการรวบรวมไว้ และเมื่อชนะคดีแล้ว ศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้เงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้น แทนโจทก์ และเมื่อชนะคดีโจทก์ก็ต้องนำยึดทรัพย์สินของจำเลย (ถ้ามี) เพื่อนำออกขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิการมีทนายความในศาล

การดำเนินคดีอาญานั้นนอกจากจะมุ่งปราบปรามการกระทำความผิดแล้ว ยังต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความที่เกิดขึ้นอีกด้วย ในชั้นพิจารณาคดีของศาลก็เช่นเดียวกัน กฎหมายได้ให้การคุ้มครองสิทธิของจำเลยไว้ว่า “ จำเลยในคดีมีสิทธิในการมีทนายความได้ ” เพราะถือว่าทนายความนั้นเป็นผู้ที่จะคอยมาพิทักษ์สิทธิของจำเลยให้การต่อสู้คดีในชั้นศาล เช่น การยื่นคำให้การต่อสู้คดี การนำพยานมาหักล้างพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ซึ่งรวมถึงการซักค้านด้วย การขอให้ศาลปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างการพิจารณา รวมถึงช่วยเหลือจำเลยในการอุทธรณ์ ฎีกาต่อไป
ดังนั้นในคดีความที่เกิดขึ้น ทนายความเปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยหรือเป็นพี่เลี้ยงที่จะคอยดูแลและให้คำแนะนำจนกว่าคดีความของลูกความเสร็จสิ้น ตรงตามความต้องการของลูกความครับ

กฎหมายหน้ารู้

สำคัญก่อนขึ้นศาล

สำคัญก่อนขึ้นศาล

ด้วยสภาพเศรษฐกิจสังคม และครอบครัวในปัจจุบัน ปัญหาคดีความถือก็ยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่มีคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไทย
ปัญหาการเริ่มต้นคดีความที่ผิดพลาด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีความ บางท่านไปศาลตามกำหนดนัดหมายส่งผลให้ศาลตัดสินแพ้คดีได้ง่ายๆ บางท่านในคดีอาญาศาลอาจจะสั่งจำคุกจนกลับบ้านไม่ได้เลยทีเดียว
ดังนั้นเรื่องนี้ทนายเห็นว่าการเตรียมตัวขึ้นศาลก่อนวันนัดหมายจึงมีความสำคัญมากกว่าวันพิจารณาคดีด้วยซ้ำไป ความสำคัญของการเตรียมคดีจึงอยู่ที่ว่า ท่านได้เข้าพบ ประชุม และหาช่องทางออก หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีความกับที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความที่ท่านไว้วางใจก่อนวันนัดหมายหรือไม่ เพราะที่ปรึกษาคือสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงที่จะคอยดูแลเป็นที่ปรึกษา และวางแผนในการแก้ปัญหาให้ท่านได้เป็นอย่างดี
เมื่อท่านรู้แนวทางหรือช่องทางในการดำเนินคดี ก่อนล่วงหน้า ท่านก็จะรู้ว่าสิ่งที่ท่านจะต้องเตรียมตัวก่อนวันนัดหมายของศาลนั้นควรจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้คดีความของท่านเกิดความราบรื่น ไม่เสียหาย ตรงความต้องการของท่านได้
ท้ายนี้ ทนายขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน เพื่อจะก้าวผ่านพ้นวิกฤต เศรษฐกิจในช่วงนี้ครับ
ท่านใด สงสัย หรือต้องการสอบถามข้อกฎหมายใดๆ สามารถ ทักทายเข้ามาคุยกับทนายได้ทุกวัน
#ติดต่อ 02-1217414 , 091-0473382
หรือกดลิงค์ : https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

การรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า   ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับถ้าปรากฏว่าผู้นั้น

1) ไม่เคยรับโทษ จำคุกมาก่อน

2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ

3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่า 5 ปีแล้วมากระทำความผิดอีกด้วยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุประวัติ  ความประพฤติ  สติปัญญา  การศึกษาอบรม  สุขภาพ  สภาวะแห่งกิจนิสัย  อาชีพ   และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น  หรือสภาพความผิดหรือการรู้สึกความผิด และการพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น  หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว   ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่เรากำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด  แต่ต้องไม่เกิน5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาโดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อควบคุมความความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้า

การออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันครบกำหนดชำระเงิน ในส่วนนี้ศาลได้มีแนวคำพิพากษาฎีกาไว้ดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 7569/2541    การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมโดยปรากฏว่าวันเสาร์จ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงินแสดงว่าขนาดเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้น  ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องและบังคับได้ตามกฎหมาย      การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้วไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตามเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน    จำเลยที่๒ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

ฎีกาที่ 6888/2550  ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค      พ. ศ.2534 นั้น    วันออกเช็คย่อมหมายถึง  วันที่ลงในเช็คส่วนวันที่เขียนเช็คหรือมอบเช็คให้แก่ผู้เสียหายหาใช่วันที่ออกเช็คไม่ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าหลังจากที่ผู้เสียหายได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและเช็คพิพาทแล้วผู้เสียหายก็มอบเงินที่กู้ยืมให้แก่จำเลยในวันเดียวกันนั้น ปรากฏว่าวันสั่งจ่ายเช็คที่ลงในเช็คพิพาทตรงกับวันครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแสดงว่าขณะที่เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือเป็นออกเช็คดังกล่าวสมบูรณ์และมีหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน    การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

 

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเช็ค

          ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเช็ค

กรณีที่มีการออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยที่มีการเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยให้แก่ผู้เสียหาย กรณีนี้ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราหากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็ไม่ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหาย ตามกฎหมาย

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

กรณีที่มีการออกเช็คสั่งจ่ายเงินโดยรวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

ฎีกาที่ 508- 5010/2549

โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3  เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระหนี้เงินต้นเท่าใดจะได้ดอกเบี้ยเท่าใด  จึงถือได้ว่า  เช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คกับใบเสร็จการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

ผลของดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตรา

ผลของดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตรา

การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราโดยมีการเรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนิติกรรมการกู้ยืมตกเป็น “ โมฆะ ” ดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปนั้นจะมีการคืนหรือไม่ หรือสามารถนำไปหักยอดหนี้ได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ชำระทราบหรือไม่ว่าตนชำระตามอำเภอใจโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ    หากมีการชำระตามอำเภอใจตาม มาตรา47  ก็เรียกคืนไม่ได้หรือนำไปหักยอดหนี้ไม่ได้  กรณีจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 วรรคแรกได้วางบทบัญญัติไว้ว่า “  ในการกู้ยืมเงิน กว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น      ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ”

        ซึ่งจากบทบัญญัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้   ก็จะตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาทขึ้นไป    ดังนั้นการกู้ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาทพอดี  หรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด
  2. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติให้เป็นโมฆะไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น     ไม่เหมือนกับกรณีให้ทำเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นแบบ

3.หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง   แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้แล้ว

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้