ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับการขอปล่อยตัวชั่วคราว

ตัวอย่างที่ 1 สิทธิของผู้ถูกควบคุมขังโดยผิดกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัว

คำพิพากษาฎีกาที่ 4827/2550 ได้วางแนวเอาไว้ว่า   สิทธิ์ของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 90 นั้น  มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกควบคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น   ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว  พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว  โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้  กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะยื่นคำร้องแล้ว  ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอตามมาตรา 90 ได้  หากการจับไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง   ด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมายในเรื่องนั้นๆต่อไป  ทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่า   เจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น  ก็ไม่ใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90 เช่นกัน  พูดแล้วไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องเป็นคดีนี้

 

ตัวอย่างที่ 2  กรณีนิติบุคคลตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย  จะค้างหรือปล่อยชั่วคราวผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้  ปราณนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้และไม่ถือว่าเป็นการจัดที่จะได้รับรางวัลนำจับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 3117/2533   ได้ระบุรายละเอียดในเรื่องนี้เอาไว้ว่า   โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อพ.ร.บศุลกากร  คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ขอเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม  ดังนี้  กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆของนิติบุคคลนั้น   ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี   ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้  แต่จะขังหรือปล่อยตัวชั่วคราว  ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้  ตอนนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้  ขอให้ใช้วิธีการกรอกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี

การที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้ว  แจ้งข้อกล่าวหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด  จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย  ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพศ 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว

          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า  “ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง  อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง  และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น   เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่   ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย”

        ด้วยเหตุที่คดีอาญา เป็นคดีความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น  ทั้งต่อประชาชนด้วยกันและต่อรัฐ  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  รัฐในฐานะผู้ปกครองจำต้องเข้าไปเกี่ยวกล้องกับบุคคลในทางชีวิตร่างกายและเสรีภาพของบุคคลในการเคลื่อนไหวร่างกายและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย

       แต่ด้วยเหตุที่รัฐเองก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  และฉันต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน   ดังนั้นการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรจึงต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพของประชาชน

       ในการดำเนินคดีอาญานั้น  การควบคุมตัวระหว่างดำเนินคดี  จึงเป็นเรื่องของข้อยกเว้น  กล่าวคือ  โดยหลักจะต้องไม่ควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในอำนาจรัฐ  เว้นแต่  จะมีความจำเป็นจะต้องควบคุมตัวไว้  และในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องควบคุมตัวไว้ในระหว่างคดีนี้  อาจมีการพิจารณาอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวได้  ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอปล่อยตัวชั่วคราวไว้ในมาตรา 106  ถึงมาตรา 119 ทวิ  ในปัจจุบันได้มีบัญญัติในมาตรา 107 บัญญัติรับรองสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในการขอปล่อยตัวชั่วคราว   เมื่อได้รับคำร้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้เปิดตัวชั่วคราว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์  https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการขอปล่อยตัวชั่วคราว

            นับแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา  ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพกันมากขึ้น   และที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อนในรอบ 65 ปี  เพื่อคุ้มครองและรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว   การที่เราจะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำให้ได้ทั้งนี้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  เกิดจากกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

            เมื่อเป็นดังนี้   เกี่ยวกับการประกันตัวหรือการขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน   กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันตัวเอาไว้ในมาตรา 239 ว่า  คำขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว   โดยจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีไม่ได้  การไม่ให้ประกันตัวต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมายและต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยทรัพย์โดยเร็ว   สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันซึ่งได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ  บุคคลผู้ถูกควบคุม  คุมขัง หรือจำคุก  ย่อมมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะและมีสิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควรอีกด้วย

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์  https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

หลักเกณฑ์การพิจารณาคดีอาญา

ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  

   วรรค 3 บัญญัติว่า ” ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ” และมาตรา 40 (7)  บัญญัติว่า ” ในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง  รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ  การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร  การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความและการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว “

        ซึ่งจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้  จะทราบได้ว่า  ในคดีอาญาตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำความผิดและต้องรับโทษ ตราบนั้น  บุคคลนั้นก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาและถูกฟ้องร้อง  และย่อมที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างที่ถูกดำเนินคดี  และสำหรับคำขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาก็ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว  แล้วจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีไม่ได้  การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมาย  และต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาทราบหรือจำเลยทราบโดยเร็ว   สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ  บุคคลผู้ถูกคุมขัง  การคุมขัง  หรือการจำคุก ย่อมมีสิทธิพบหรือปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะและมีสิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควรด้วย

กฎหมายหน้ารู้