ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ทางปฏิบัติในการกู้ยืมเงินที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การกล่าวถึงหลักการพื้นๆไม่ลงลึกในรายละเอียด  เพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการแนวทาง ในการทำคดีประเภทนี้ ดังนั้นจึงไม่ควรจะยึดถือเป็นหลักตายตัวไปทั้งหมด จะยึดได้กรณีเฉพาะที่มีการแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเท่านั้น    ส่วนด้านอื่นที่เป็นเทคนิคของผู้ทำคดีแต่ละคนที่จะประยุกต์ใช้หรือมีเทคนิควิธีการที่ดีอยู่แล้วก็ได้ซึ่งเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลไป     ในทางปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงินในแต่ละขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นว่าควรมีสิ่งดังต่อไปนี้

  1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องกระทำเมื่อเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี ทางหนึ่งที่จะได้ข้อเท็จจริงก็คือการตรวจสอบซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริงจากตัวความ เพิ่งมาติดต่อปรึกษาว่าจ้างให้เราเป็นทนายความให้ จะต้องซักถามรายละเอียดและข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมีอะไร อย่างไรบ้าง ต้องรวบรวมไว้ซึ่งจะต้องซักถามรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อมองลู่ทางรูปเขาของคดีแล้ว เมื่อตัดสินใจฟ้องร้องก็มักจะมีการออกหนังสือบอกกล่าวที่เรียกว่า Notice เป็นการกล่าวเตือนให้ปฏิบัติการชำระหนี้มิฉะนั้นจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ลักษณะของหนังสือบอกกล่าวนั้นควรมีลักษณะตรงไปตรงมา กล่าวถึงเหตุผลความเป็นมาของนิติกรรมสัญญาระหว่างกันการผิดนัดจำนวนหนี้สินที่ต้องชำระตลอดเป็นมาตรการที่จะให้ดำเนินการหากไม่ปฏิบัติตามการชำระหนี้คือ การฟ้องคดีนั้นเอง

 

กฎหมายหน้ารู้

ละเมิด คือ อะไร

 ละเมิด คือ อะไร

ละเมิด  คือ การกระทำใด ๆ ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคล อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น อาจเป็นการกระทำของตนเอง การกระทำของบุคคลอื่น หรือความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองดูแล ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติ ในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดจากการกระทำละเมิด

ความรับผิดจากการกระทำละเมิด

หลักกฎหมายว่าด้วยการกระทำที่เป็น ” ละเมิด

มาตรา ๔๒๐ บัญญัติว่า “  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี  แก่ร่างกายก็ดี    อนามัยก็ดี   เสรีภาพก็ดี  ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า  ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  ”

              องค์ประกอบของการกระทำที่เป็นละเมิด กล่าวคือ

  1. กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
  2. กระทำโดยผิดกฎหมาย
  3. การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
  4. ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น

                สำหรับการละเมิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับด้วยเหตุผลว่า  การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะตัว ในการดำเนินงานบางครั้งอาจเกิดความเสียหายขึ้นโดยความไม่ตั้งใจและผิดพลาดเล็กน้อยแต่กลับต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว และที่ผ่านมายังใช้หลักของลูกหนี้ร่วมทำให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของผู้อื่นด้วย  ซึ่งเป็นระบบที่มุ่งจะให้ได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายอย่างครบถ้วนโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อบุคคล จึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ จนบางครั้งเป็นปัญหาในการบริหารงานเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจในการทำงานเท่าที่ควร      ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงให้เจ้าหน้าที่รับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ

                      ดังนั้นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน้าที่ของตนนั้นหากเกิดความเสียหายขึ้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าทีนั้นต้องไม่ได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่  การที่มีกฎหมายให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ดังกล่าวนั้นเนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ บางกรณีอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดหรือเป็นเหตุสุดวิสัยโดยมิได้เกิดจากความ จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงส่งผลให้เกิดความเสียหายพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ จึงบัญญัติคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไว้ ดังนี้

             มาตรา๕ วรรคหนึ่ง “ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐ ดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้  ”

            แต่หากเจ้าหน้าที่กระทำการนอกเหนือหรือไม่ได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของตน เช่น เจ้าพนักงานการเงิน ไม่ได้มีหน้าที่ในการขับรถ แต่ได้ขับรถไปซึ่งมิใช่หน้าที่ของตนแล้วเกิดเฉี่ยวชนกับคุคลภายนอกได้รับความเสียหายเป็นต้นย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

           มาตรา๖ บัญญัติว่า  “ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้น เป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานรัฐไม่ได้” จะเห็นได้ว่าหากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกเหนือหน้าที่ของตนตามที่กฎ ระเบียบ กำหนดไว้แล้วรัฐไม่คุ้มครองแต่ถ้าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนโดยชอบแล้วเมื่อเกิดความ ผิดพลาดไม่ว่าบุคคลใดได้รับความเสียหายหรือทำให้รัฐเองเสียหายก็ตาม หน่วยงานของรัฐ จะต้องเข้ารับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนเจ้าหน้าที่ แต่ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า ความผิดพลาดที่ เกิดขึ้นเนื่องมาจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือไม่ ตามความที่บัญญัติไว้ใน มาตรา๘ วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการอันเป็นไปด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

                กรณีจะเป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจะต้องเป็นประมาทเลินเล่อเสียก่อนโดย “จะเป็นส่วนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจงใจกับประมาทเลินเล่อธรรมดา” คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตอบข้อหารือกรมบัญชีกลางว่า การที่จะพิจารณาว่ากรณีใดจะเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบทุกคน จนถึงคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือศาล ส่วนอย่างไรเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณีไปความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจะมีลักษณะไปในทางที่บุคคลนั้นได้กระทำไปโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้หรือหากใช้ความระมัดระวังสักเล็กน้อย ก็คงได้คาดเห็นการอาจเกิดความเสียหายนั้น นั้นเอง

สอบถามเพิ่มเติมหรือติดต่อทนายความ

091-0473382   , 02-1217414

Line id  : 0910473382

 

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 วรรคแรกได้วางบทบัญญัติไว้ว่า “  ในการกู้ยืมเงิน กว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น      ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ”

        ซึ่งจากบทบัญญัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้   ก็จะตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาทขึ้นไป    ดังนั้นการกู้ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาทพอดี  หรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด
  2. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติให้เป็นโมฆะไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น     ไม่เหมือนกับกรณีให้ทำเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นแบบ

3.หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง   แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้แล้ว

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 วรรคแรกได้วางบทบัญญัติไว้ว่า “  ในการกู้ยืมเงิน กว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น      ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ”

        ซึ่งจากบทบัญญัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้   ก็จะตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาทขึ้นไป    ดังนั้นการกู้ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาทพอดี  หรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด
  2. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติให้เป็นโมฆะไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น     ไม่เหมือนกับกรณีให้ทำเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นแบบ
  3. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้แล้ว

กฎหมายหน้ารู้

การต่อสู้คดีความในชั้นพิจารณาของศาล

การต่อสู้คดีที่เกิดขึ้นกับตัวความกับการหาทางออกในเรื่องคดีความที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน   ทางออกที่ตัวความควรพิจารณาก็คือ        “   หากคดีอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาล  ตัวความทุกท่านสมควรมีที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความที่ท่านไว้วางใจเพื่อขอคำปรึกษา  แนะนำ  ขอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับกับตัวความจากปัญหาที่เกิดขึ้น  อันเนื่องมาจากที่ได้กล่าวเช่นนี้ก็เพราะทนายความถือว่าเป็นผู้รู้  เป็นบัณฑิต  เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในงานคดีที่เกิดขึ้น  ทนายความจะเข้าใจขั้นตอนการดำเนินการพิจารณาคดีต่อศาล      การตัดสินใจของเราในคดีที่เกิดขึ้นจะมีผลดีหรือผลเสียต่อคดีหรือไม่นั้น  สิ่งเหล่านี้ทนายสามารถเสนอแนะและให้ความเห็นเชิงนักกฎหมายให้แก่ตัวความที่เข้ามาขอคำปรึกษาได้    ”

 

หากท่านดำเนินการดังกล่าวแล้ว  การที่ท่านนำเอาข้อเท็จจริงและความต้องการของตัวความที่มีอยู่เข้ามารวมกับความเห็นในเชิงกฎหมายของทนายความ เชื่อว่าตัวความก็จะได้ประโยชน์และมีทางออกในการแก้ปัญหาคดีความที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

การต่อสู้คดีความในชั้นพิจารณาของศาล

กฎหมายหน้ารู้

ทำยอมกันที่ศาล

คดีความที่เกิดขึ้นแล้วทุกๆคดี  ส่วนใหญ่ศาลมักที่จะเปิดโอกาสให้คู่ความทั้งสองฝ่ายให้มีการพูดคุยเจรจาคดีที่เป็นความกันก่อนอยู่เสมอ  และหากตัวความสามารถตกลงกันได้  ในทางคดีเรียกกันว่า “ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาล ”

การทำสัญญาประนีประนอมที่ศาลนั้น  หากคู่ความสองฝ่ายตกลงจัดทำขึ้นมาแล้วตามเจตนารมณ์ทั้งสองฝ่ายแล้ว ศาลก็จะมีคำพิพากษาและตัดสินคดีให้เสร็จสิ้นไปตามที่สองฝ่ายได้ตกลงกัน  ส่งผลให้คดีความที่ศาลเสร็จสิ้นโดยทันทีได้โดยคดีความไม่ยืดเยื้อยาวนาน

ส่วนหลังจากตกลงกันแล้ว  หากคู่ความฝ่ายใดผิดนัดตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ในสัญญายอม  ตัวความอีกฝ่ายอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้สามารถดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาของศาลได้

ทำยอมกันที่ศาล

กฎหมายหน้ารู้

แนวทางต่อสู้คดีความ

การต่อสู้คดีกับการหาทางออกในเรื่องคดีความที่เกิดเป็นเรื่องเดียวกัน    การมีทางออกที่ดีและถูกต้อง    “ หากคดีอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาล  ตัวความทุกท่านสมควรมีที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความเพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับท่าน  เนื่องด้วยทนายความเป็นผู้รู้และเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในงานคดีที่เกิดขึ้น เข้าใจขั้นตอนการดำเนินคดีต่อศาล  การตัดสินใจของเราในคดีที่เกิดขึ้นมีผลดีหรือผลเสียต่อคดีที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร สิ่งเหล่านี้ทนายสามารถเสนอแนะและให้ความเห็นเชิงนักกฎหมายให้กับตัวความได้    ”    หากท่านทำตามขั้นตอนดังกล่าวนำข้อเท็จจริงและความต้องการของตัวความที่มีมารวมกับความเห็นในเชิงกฎหมายหรือขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาล เชื่อว่าตัวความก็จะได้ประโยชน์และได้มีทางออกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน

 

กฎหมายหน้ารู้

ขึ้นศาลครั้งแรก

ก่อนอื่นผู้เขียนขอแสดงความยินดีกับตัวความที่มีคดีความเป็นครั้งแรกด้วย เพราะการที่ท่านเพิ่งมีคดีความเพียงครั้งแรกนั้น  แสดงให้เห็นว่าท่านยังมีชีวิตที่ดีกว่าคนอื่นๆอีกหลายคน   สิ่งสำคัญของท่านเมื่อมีคดีความต้องขึ้นโรงขึ้นศาลแล้ว  คือ   การเตรียมความพร้อมก่อนไปศาลตามวันเวลานัดหมาย ผู้เขียนมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวของตัวความดังต่อไปนี้

1) ปรึกษาทนายความ

การปรึกษาทนายความก็เพื่อตัวความที่ต้องขึ้นศาลจะได้ทราบหน้าที่ของตนเองว่ามีสิ่งไหนบ้างที่จะต้องเตรียมตัวหากมีคดีความต่อศาล    ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเช่น  ในคดีแพ่งประเภทคดีแพ่งสามัญกฎหมายกำหนดให้ตัวความที่ได้รับหมายศาลจะต้องมีหน้าที่จัดทำคำให้การเพื่อยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหมายเรียก  หากตัวความไม่จัดทำยื่นเสนอต่อศาลภายในเวลากำหนดนี้  ส่งผลให้ตัวความแพ้คดีตั้งแต่เริ่มต้น   ส่วนในบางคดีแพ่งอื่นๆตัวความสามารถยื่นคำให้การต่อศาลภายในวันนัดได้   หากถึงวันนัดไม่จัดทำคำให้การยื่นเสนอต่อศาลอีกก็มีโอกาสแพ้คดีได้เช่นเดียวกัน    ในบางกรณีหากเป็นคดีอาญาที่ตัวความต้องไปตามหมายเรียก  ตัวความควรเตรียมความพร้อมเรื่องหลักทรัพย์ประกันตัวเอาไว้สำหรับการขอปล่อยตัวที่ศาลในวันนัดหมายหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ตัวความควรปรึกษากับทนายความเมื่อมีคดีขึ้นสู่ศาล    ดังนั้นการปรึกษาทนายความเมื่อมีคดีความต้องขึ้นศาลจึงจำเป็นจะต้องปรึกษาทนายความก่อนเสมอ

2)  จัดทำแนวทางออกของปัญหาคดีความชั้นพิจารณาคดีต่อศาลก่อนถึงวันนัดหมาย

แนวทางออกของตัวความจะได้รับแนวทางออกที่ดีหรือถูกต้องตัวความจะได้รับภายหลังได้ประชุมหารือกับทนายความก่อน เนื่องจากตัวความมีข้อมูลในคดีและมีรายละเอียดข้อเท็จจริงรวมทั้งความต้องการของท่านในคดีที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนทนายความก็มีความเข้าใจในข้อกฎหมายและระบบการพิจารณาของศาล หากนำสองอย่างมารวมกันก็จะได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับตัวความที่ศาลได้อย่างถูกต้องแน่นอน

3)  ไปศาลตามวันเวลาที่นัดหมาย

เมื่อถึงกำหนดนัดหมายที่ศาลกำหนดไว้  ตัวความในคดีสมควรมีทนายความร่วมรับฟังและเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมการพิจารณาคดีด้วยเสมอ  ในการพิจารณาคดีของศาลนัดแรกส่วนใหญ่ศาลมักจะเปิดโอกาสให้คู่ความสองฝ่ายไกล่เกลี่ยกันก่อนเสมอ  คู่ความฝ่ายตรงข้ามทุกคดีส่วนใหญ่ก็จะมีทนายความมาด้วยเสมอ  นัดแรกหากคดีตัวความสามารถตกลงกันได้ คดีความก็อาจจะจบลงได้โดยไม่ยืดเยื้อก็สามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน  สัญญาจะส่งผลให้ท่านได้เปรียบหรือเสียเปรียบหรือไม่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง   บางกรณีหากคดีตกลงกันไม่ได้แล้วตัวความจะต้องทำอย่างไรต่อไป  คำให้การจะยื่นเลยไหม  หากไม่ยื่นจะมีผลต่อคดีอย่างไร  หากมีนัดหมายครั้งต่อไปจะต้องเตรียมตัวอะไร  ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง  ผลที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร   นี่คือสิ่งที่ท่านไม่รู้     !!!   นี่คือเหตุผลการมีทนายความเข้าร่วมพิจารณาคดีครับ 

กฎหมายหน้ารู้

เตรียมพร้อมก่อนขึ้นศาล

เตรียมความพร้อมก่อนขึ้นศาล

         การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นศาล  ไม่ว่าจะเป็นตัวความเองหรือทนายความเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน  หากเตรียมตัวดี     มีความเข้าใจในระบบการพิจารณาของศาล    มีความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น     มีทักษะสำหรับการเจรจาคดีความได้ดี    คดีความที่มีอยู่ก็จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจได้    แต่ในบางกรณีตัวความขาดทักษะประสบการณ์    ขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกิดขึ้น  หรือไม่เข้าใจในระบบกระบวนการพิจารณาความต่างๆ  สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบให้ตัวความเกิดความเสียหายต่อคดีที่พิจารณาในชั้นพิจารณาของศาลได้  เช่น  กระทบต่อยอดเงินและความรับผิดชอบตามข้อกล่าวหาที่มี   ในบางคดีอาจส่งผลให้ตัวความแพ้คดีได้โดยที่ไม่สมควรที่จะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น

 

ทัศนะของทนายความในเรื่องนี้เห็นว่า   การสอบข้อเท็จจริงจากตัวความในคดี  เพื่อรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด   รวมถึงการสืบค้นข้อกฎหมายและแนวคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง   เพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดทำแนวทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาคดีความให้กับตัวความนั้นมีความสำคัญมาก      ทนายความที่ได้รับมอบหมายในงานคดีที่เกิดขึ้นสมควรจัดเตรียมข้อมูลเหล่านี้ไว้   และสมควรแจ้งให้ตัวความทราบล่วงหน้าก่อนวันขึ้นศาลก่อนเสมอ     เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นพิจารณาคดีต่อศาลในวันนัดหมายได้แล้วครับ

กฎหมายหน้ารู้