แบบของนิติกรรม

แบบของนิติกรรม

            แบบของนิติกรรม : ในนิติกรรมบางประเภทกฎหมายกำหนดแบบของการทำนิติกรรมเอาไว้    เช่น   สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ถ้าไม่ทำตามกฎหมายกำหนด สัญญาถือเป็นโมฆะ

            สัญญา  คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้นมาตกลงกัน โดยแสดงเจตนาเสนอและสนองตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น

            สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้ เกิดความผูกพันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

            สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

            การโอนกรรมสิทธิ์    หมายถึง   การโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน ที่ซื้อขายนั้นไปให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อเมื่อได้เป็นเจ้าของก็สามารถที่จะใช้ ได้รับ ประโยชน์ หรือจะขายต่อไปอย่างไรก็ได้

           ราคาทรัพย์สินจะชำระเมื่อไรนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อผู้ขาย จะต้องตกลงกัน ถ้าตกลงกันให้ชำระราคาทันทีก็เป็นการซื้อขายเงินสด ถ้า ตกลงกันชำระราคาในภายหลังในเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียวตามที่ตกลงกันก็เป็นการซื้อขายเงินเชื่อ แต่ถ้าตกลงผ่อนชำระให้กันเป็นครั้งคราวก็เป็นการซื้อขายเงินผ่อน

           การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการวางมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไว้ล่วงหน้า หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ย่อมฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญารวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้

           สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืน ผู้ซื้อจะยอมขายคืนเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้

           การเช่าทรัพย์ คือ สัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ที่จะต้องชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทน

                – การารเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา

                – สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                – ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว

                – ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เหมือนทรัพย์สินของตนเอง และยอมให้ผู้ให้เช่าตรวจตราทรัพย์สินเป็นครั้งคราว และไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สิน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า

                – ผู้เช่าต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ให้แห่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อสัญญาเช่านั้นสิ้นสุดลง

                สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวดๆ จนครบตามข้อตกลง

                สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชำระราคาเป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะทำสัญญา ไม่ต้องรอให้ชำระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชำระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้

                การกู้ยืมเงิน เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้กู้” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้

                ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น จะต้องมีหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อของคนยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้”

                ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินกันนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบบังคับคนจน กฎหมายจึงได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)

                ค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้คํ้าประกัน” สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้

                สัญญาค้ำประกัน ต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ ต้องลงลายมือชื่อของผู้คํ้าประกัน

                ชนิดของสัญญาค้ำประกัน ได้แก่ สัญญาคํ้าประกันอย่างไม่จำกัดจำนวน และสัญญาคํ้าประกันจำกัดความรับผิด

                จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น

                เมื่อผู้จำนำไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอกกล่าวแก่ผู้จำนำ หากผู้จำนำยังไม่ชำระหนี้อีก ผู้รับจำนำมีสิทธินำทรัพย์สินนั้นขายออกทอดตลาด โดยต้องแจ้งเวลาและสถานที่แก่ผู้จำนำ

                เมื่อขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ

                จำนอง คือ การที่ใครคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ ที่ดิน บ้านเรือน เป็นต้น ไปตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง หรือนัยหนึ่ง ผู้จำนองเอาทรัพย์สินไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน เพื่อเป็นประกัน การชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ ผู้จำนองอาจเป็นตัวลูกหนี้เองหรือจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้

 

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ความประพฤติที่เป็นความผิด (คดีแรงงาน)

ความประพฤติที่เป็นความผิด (คดีแรงงาน)

           กรณีที่ลูกจ้างประพฤติผิดต่อนายจ้างที่ไม่ร้ายแรง    นายจ้างต้องลงโทษทางวินัยตามความจำเป็นเหมาะสมเสียก่อน มิฉะนั้นถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม    ฎีกา 3360/2526 ลูกจ้างทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งแรก     นายจ้างเลิกจ้างทันที ทั้งที่มีระเบียบว่าต้องทำผิดซ้ำ ถึงจะให้ออกจากงานได้ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยสาเหตุดังกล่าว ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

           หากลูกจ้างผิดวินัยกรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างลงโทษเตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างยังคงทำผิดซ้ำอีก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมฎีกา 3934/2557 จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ไปท างานในตำแหน่งผู้จัดการประสานงานขาย แต่โจทก์ไม่ยอมไปท างาน ยังคงท างานในตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายตามเดิมต่อมาจ าเลยมีหนังสือเตือนแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจ าเลยและกระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

           ถ้าความประพฤติของลูกจ้าง เป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรง ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมฎีกา 11096/2556 นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปมีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด การขาย เนื่องจากในระหว่างทำงาน ไปดำรงค์ตำแหน่งกรรมการบริษัท อ.ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง การกระทำของลูกจ้างเป็นปฏิปักษ์ต่อทางการค้าของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  ฎีกา 5978/2549 ลูกจ้างปล่อยเงินกู้นอกระบบ ในสถานที่ทำงานคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน ฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ข้อควรพิจารณาการยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ข้อควรพิจารณาการยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

         แม้ตามหลักกฎหมายจะไม่ได้บังคับไว้ แต่ถ้าพิจารนาจากรูปคดีแล้ว มีแนวโน้มว่าเจรจาตกลงกันได้ ก่อนขึ้นสู่ศาล ก็ควรยื่น หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง     อีกกรณีที่แม้กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่เพื่อป้องกัน ข้อโต้แย้ง จากคู่กรณีในภายหลัง โดยให้ คู่กรณีปฏิบัติตามหน้าที่ก่อน และให้โอกาสตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา อย่างเหมาะสม โดยแจ้งไปในหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง

        หนังสือบอกกล่าวทวงถาม นั้นผู้ฟ้องคดี สามารถทำเองได้    แต่ในทางปฏิบัติ ทนายความจะทำได้ถูกต้อง มีเนื้อหาข้อความ รัดกุมดีกว่า และ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้คู่กรณี เกิดความยำเกรง มากกว่า

        หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าว สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382  สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์

https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

คุณสมบัติผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 5

คุณสมบัติผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง  ยาเสพติดให้โทษประเภท  5

      1. หน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอน หรือให้บริการทางการแพทย์  เภสัชศาสตร์  วิทยาศาสตร์  หรือเกษตรศาสตร์   เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  หรือเภสัชกรรม  หรือหน่วยงานของรัฐ  ที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด สภากาชาดไทย

    2.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  เภสัชกรรม  ทันตกรรม  การสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง  การแพทย์แผนไทย  /แผนไทยประยุกต์   หรือหมอพื้นบ้าน

    3.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน  ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย  และจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์

 

     สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

     https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้