หลักประกันที่ใช้ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวทุกชั้นศาล

กรณีใช้เงินสดหรือทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันมีอะไรการทรัพย์สินดังต่อไปนี้

  1. เงินสด
  2. หลักทรัพย์อื่นๆ เช่น

       2.1)  ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือกรรมสิทธิ์ห้องชุด

       2.2) พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมสินทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ตัวเลขเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว  หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย(แคชเชียร์เช็ค) หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว

  1.   เงินฝากธนาคาร
  2.   หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
  3. หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
  4. บางศาลเคยพิจารณาอนุญาตให้ใช้สิ่งต่อไปนี้เป็นหลักทรัพย์ เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์  ที่ดินมีเอกสาร บท. 5 , สค 1 , นศ 2 หรือ สปก  , บ้านพักอาศัย , ทรัพย์ที่ติดจำนองหรือมีภาระติดพัน

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382  สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์

https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว

ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี  หมายความถึง  บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล  กล่าวคือ  ยังอยู่ในชั้นของตำรวจ (พนักงานสอบสวน) และพนักงานอัยการ   ส่วนจำเลย  หมายถึง  บุคคลซึ่งถูกฟ้องศาลแล้ว  โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิดและศาลรับฟ้องอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาลแล้ว

ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือจำเลย   อันได้แก่  บุพการี  ผู้สืบสันดาน  สามีภรรยา  ญาติพี่น้อง  ผู้ปกครอง  ผู้บังคับบัญชา  นายจ้าง  ทนายความ  บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส  บุคคลที่เจ้าพนักงาน  พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่เจ้าพนักงานหรือการเห็นสมควรซึ่งต้องมีความสำคัญเป็นผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ดังนี้

 

1. บุคคลธรรมดา ต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถตามกฎหมายที่จะทำนิติกรรมสัญญาได้  ดังนั้น บุคคลวิกลจริต  บุคคลไร้ความสามารถ  และบุคคลเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้

 

2. นิติบุคคล สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวได้  ยกตัวอย่างเช่น  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัด  บริษัทมหาชนจำกัด  แต่ต้องเป็นในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการผู้แทน  ตัวแทน  หุ้นส่วน  พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น  หากไม่เกี่ยวข้องดังกล่าว  นิติบุคคลนั้นก็ต้องมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ  ต้องจดทะเบียนว่ามีวัตถุประสงค์ในการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาได้  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทประกันและต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนายทะเบียนประกอบด้วย

 

3. บุคคลที่ถูกกักขังหรือจำคุกในกรณีอื่น เช่น  ศาลออกหมายจับพยานที่จงใจไม่มาศาล  หรือกรณีละเมิดอำนาจศาล  หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับกุมโดยเหตุจงใจขัดขืนคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 300  เป็นต้น  บุคคลเช่นว่านั้นมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือขอประกันตัวได้

 

4. ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด   ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ 2545  และผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอันได้แก่  บิดา มารดา สามี ภรรยา ปู่ ย่า ตา ยาย  ป้า น้า อา นายจ้าง  ผู้ปกครองตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ  หรือบุคคลที่บิดามารดายินยอมให้เป็นผู้ปกครองดำเนินการแทน  มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นเข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือในชั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนี้ได้

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์      https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้