เอกสารเกี่ยวกับหลักประกันที่ใช้ในการขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว

เอกสารเกี่ยวกับหลักประกันที่ใช้ในการขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว

          1)  กรณีใช้โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก./ น.ส.3) เป็นหลักประกันต้องมีเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย(1)  เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก./ น.ส.3) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสำคัญที่ดินอื่นๆ เป็นต้น

           2)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน 1 เดือน ( หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล ต้องนำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลมาประกอบด้วย )

           3)  แผนที่การไปที่ตั้งทรัพย์ โดยให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการออกสู่ทางสาธารณะด้วย ( แผนที่ต้องเขียนอย่างชัดเจนให้สามารถเดินทางไปได้อย่างถูกต้อง )

          4)  ภาพถ่ายปัจจุบันของหลักทรัพย์ พร้อมรายละเอียดของทรัพย์ เช่น เลขที่โฉนดที่ดิน บ้านเลขที่ หมู่ที่ หมู่บ้าน ซอย ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต สถานที่สำคัญซึ่งอยู่ใกล้เคียง  ( ภาพถ่ายต้องชัดเจนสามารถบรรยายสภาพทรัพย์ได้ ) 

            5)  ราคาประเมินที่ดินหรือราคาประเมินอาคารชุด ที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน

————————————————————————————————————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักประกันที่สามารถนำมาวางเป็นประกันเพื่อขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

หลักประกันที่สามารถนำมาวางเป็นประกันเพื่อขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

     1.เงินสด

     2.หลักทรัพย์อื่น เช่น

                (1)  โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓)

                (2)  พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์กรเกษตร

                (3)  สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร

                (4)  หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน

                (5)  หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย

     3.บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน

               ต้องมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ  และเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย  เช่น  เป็นบุพการี  ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง โดยสามารถท าสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ๑๐ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

     4. ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา

     5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจทำสัญญาประกันตนเองได้

——————————————————————————————————————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 

          ตามปกติผู้ร้องขอประกันจะนำต้นฉบับเอกสารพร้อมสำเนามายื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เอกสารที่ใช้ประกอบคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว มีดังนี้  บัตรประจำตัวประชาชนบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ร้องขอประกัน   ทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของผู้ร้องขอประกัน    กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่

         (1) บัตรประจำตัวประชาชน  บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ  และทะเบียนบ้านของคู่สมรส

         (2) ใบสำคัญการสมรส

         (3) หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส

         (4) ถ้าหากผู้ขอประกันเป็นหม้ายโดยการตายของคู่สมรสหรือการหย่าต้องแสดงเอกสารใบมรณบัตรคู่สมรสหรือใบสำคัญการหย่า

         (5) กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในเอกสารสิทธิในหลักทรัพย์ ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน หรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล  กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศ หากมีหนังสือเดินทาง (Passport) ต้องนำมาแสดงด้วย

         (6) บัญชีเครือญาติหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย

——————————————————————————————————————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ข้อพิจารณาในการปล่อยตัวชั่วคราว

ข้อพิจารณาในการปล่อยตัวชั่วคราว

           ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 บัญญัติว่า “ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ ซึ่งได้แก่

           (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา

           (2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

           (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร

           (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด

           (5)  ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

           (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

           (7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน  พนักงานอัยการโจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้”

———————————————————————————————————————————————————————————————–

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ประเภทของการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว การปล่อยตัวชั่วคราว

ประเภทของการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว การปล่อยตัวชั่วคราว ( แบ่งออกเป็น 3 ประเภท )

          ประเภทที่ 1)  การขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน  คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องทำสัญญาประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

          ประเภทที่ 2)   การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน  คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยก่อนปล่อยไปผู้ประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน การขอปล่อยชั่วคราว  (การขอประกันตัว)

          ประเภทที่3 ) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว   โดยผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันต้องลงลายมือในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล และมีการวางหลักประกันไว้เพื่อที่จะสามารถบังคับเอากับหลักประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน

……………………………………………………………………………………………………………………………………….

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว

1)  ผู้ต้องหา จำเลย หรือบุคคลที่ถูกกักขังหรือจำคุกในกรณีอื่น เช่น ศาลออกหมายจับพยานที่จงใจไม่มาศาล  หรือกรณีละเมิดอำนาจศาล  หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับกุมโดยเหตุจงใจขัดขืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 300 เป็นต้น    บุคลเช่นว่านี้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวได้

2)  ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง   เช่น   บุพการี   ผู้สืบสันดาน   สามี  ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้

สอบถามเพิ่มเติม 02-1217414 , 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

การขอปล่อยชั่วคราว

การขอปล่อยชั่วคราว

การปล่อยชั่วคราว   คือ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจ าเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานศาล ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ควรที่จะให้ปล่อยชั่วคราวไป ตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า    ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

 

การขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวได้ ดังนี้

1) ชั้นฝากขัง ขอปล่อยชั่วคราวได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการนำตัวมาขออนุญาตฝากขังระหว่างที่ยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ

2) ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแล้วก็จะเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจำเลย จึงมีสิทธิขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลได้  หรือในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์เมื่อศาลประทับฟ้องแล้วจะขอปล่อยชั่วคราวก่อนวันนัด ในวันนัดหรือหลังจากวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้มาแก้คดีก็ได้

3)   ชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา    กรณีที่จำเลยถูกขังหรือจำคุกโดยผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น                    ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคจะขอปล่อยชั่วคราวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาพร้อมกัน หรือหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้แล้วแต่กรณี

สอบถามเรา รับคำแนะนำกับเรา /ฟรี 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราวของศาล

วินิจฉัยคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ศาลท่านจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108

ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) ความหนักเบาแห่งข้อหา

2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

3) พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีเป็นอย่างไร

4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันตัวหรือหลักประกันได้เพียงใด

5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

6) ไปอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาลถ้ามีกำหนดการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการโจทก์หรือผู้เสียหายแล้วแต่กรณีศาลจึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงรายงานหรือความเห็นของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องด้วยก็ได้

 

ปรึกษากฎหมายโทร 091-0473382 , 02-1217414

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

วิธีการขอปล่อยตัวชั่วคราว

คู่ความที่ถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจหรือที่ศาลในคดีอาญาทุกคดีมีสิทธิ์ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวในทุกคดีในขณะที่คดีความยังไม่เสร็จสิ้นต่อศาลได้

กรณีหากตัวความถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจก็สามารถยื่นหลักทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อทำการขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้

สำหรับตัวความใดที่พนักงานสอบสวนส่งตัวไปขออนุญาตฝากขังที่ศาลแล้ว    ตัวความรายนั้นก็สามารถนำหลักทรัพย์ที่จัดเตรียมไว้เพื่อยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างคดีความยังไม่เสร็จสิ้นได้ต่อศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องได้     ผู้เขียนแนะนำควรจัดเตรียมเอกสารที่ใช้สำหรับการขอปล่อยตัวต่อศาลไปให้ครบถ้วนก่อนเข้าไปติดต่อขอเจ้าหน้าที่       มิฉะนั้นจะทำให้ตัวความเสียเวลาในการดำเนินการดังกล่าวเพราะเหตุขาดความพร้อมในการดำเนินการ  

กฎหมายหน้ารู้