หลักเกณฑ์การพิจารณาคดีอาญา

ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  

   วรรค 3 บัญญัติว่า ” ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ” และมาตรา 40 (7)  บัญญัติว่า ” ในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง  รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ  การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร  การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความและการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว “

        ซึ่งจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้  จะทราบได้ว่า  ในคดีอาญาตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำความผิดและต้องรับโทษ ตราบนั้น  บุคคลนั้นก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาและถูกฟ้องร้อง  และย่อมที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างที่ถูกดำเนินคดี  และสำหรับคำขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาก็ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว  แล้วจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีไม่ได้  การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมาย  และต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาทราบหรือจำเลยทราบโดยเร็ว   สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ  บุคคลผู้ถูกคุมขัง  การคุมขัง  หรือการจำคุก ย่อมมีสิทธิพบหรือปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะและมีสิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควรด้วย

กฎหมายหน้ารู้

คำพิพากษาฏีกาคดีหมิ่นประมาท

คำพิพากษาฏีกาคดีหมิ่นประมาท

คำพิพากษาฎีกาที่ 380/2503  จำเลยได้ยินอาของโจทก์เล่าให้ฟังว่าโจทก์กับ อ.ซึ่งเป็นญาติรักใครกันในทางชู้สาว นอนกกกอดจูบกันและได้เสียกัน ต่อมามีนาง ส. มาถามจำเลย จำเลยก็เล่าข้อความตามที่ได้ยินมาให้นาง ส. ฟัง เช่นนี้ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์อย่างเห็นได้ชัด แม้จำเลยจะตอบไปโดยถูกถามก็ดี จำเลยควรต้องสำนึกในการกระทำ และเล็งเห็นผลการกระทำของจำเลยได้ว่าจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2561  ป.อ. มาตรา 329 เป็นบทบัญญัติยกเว้นการกระทำที่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เพื่อมิให้ผู้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตต้องตกเป็นผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพื่อให้การวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นเป็นสิ่งที่กระทำได้ในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ และเพื่อรักษาประโยชน์ของบุคคลหรือสาธารณะ ขอบเขตการวิพากษ์วิจารณ์จะกระทำได้มากน้อยเพียงใดนั้น นอกจากองค์ประกอบความผิดแล้ว ยังต้องพิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของผู้กระทำ ผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนมูลเหตุ และพฤติการณ์แวดล้อมอันเป็นที่มาแห่งการกระทำด้วยแม้ถ้อยคำและข้อความที่จำเลยที่ 2 กล่าวโจมตีโจทก์ แต่สถานะของโจทก์ที่เป็นนักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางบริหารในฐานะนายกรัฐมนตรีและเป็นผู้นำประเทศ ย่อมเป็นที่คาดหวังของสังคมทุกระดับชั้นทั้งในและต่างประเทศว่าต้องเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีพฤติกรรมที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกด้านของการกระทำทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะในมิติของกฎหมายหรือศีลธรรม ตลอดจนการดำรงตนในสังคมในทุกกรณีบุคคลสาธารณะในฐานะนักการเมืองเช่นโจทก์ ผู้มีส่วนได้เสียย่อมใช้สิทธิติชมได้โดยสุจริต และต้องยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างกว้างขวาง ตามพฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุดังวินิจฉัยเชื่อมโยงถึงขณะเกิดเหตุที่จำเลยที่ 2 กล่าวถ้อยคำในการแถลงข่าว ทั้งเป็นการแถลงต่อสื่อมวลชนโดยเปิดเผยอันแสดงถึงเจตจำนงที่ต้องการให้สาธารณชนรับรู้ จึงเข้าเกณฑ์ข้อยกเว้นว่าเป็นการกระทำไปโดยสุจริต เพื่อติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลในฐานะนักการเมืองฝ่ายค้านเช่นจำเลยที่ 2 ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของจำเลยที่ 1 ชอบที่จะกระทำได้ในนามของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 329 (3) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนถ้อยคำเปรียบเปรยหรือเสียดสีโจทก์เป็นผีปอบนั้น แม้เป็นการไม่สมควรกล่าวถึงโจทก์ แต่ก็เป็นถ้อยคำเสียดสีในสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป ถ้อยคำส่วนนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2560  จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ตามบทนิยามของ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 4 มิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบในการผลิตข่าวแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เกี่ยวข้องกับข่าวตามที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทได้

จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์มติชนออนไลน์ เป็นผู้นำเสนอข่าวสารทางระบบคอมพิวเตอร์ในนามของตนเอง คือเว็บไซต์มติชนออนไลน์ จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้ให้บริการตามบทนิยามของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และการที่เว็บไซต์มติชนออนไลน์เสนอข่าวใด ๆ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของและเป็นผู้ให้บริการ ยินยอมให้มีการนำเสนอข่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าได้มอบให้บุคคลอื่นควบคุมดูแลบริหารจัดการเว็บไซต์โดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวเลยหาได้ไม่ เพราะบทกฎหมายข้างต้นมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์จะควบคุมการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการโดยเฉพาะ

โจทก์มิได้เป็นแกนนำหรือเข้าร่วมการชุมนุมตามข่าวที่ปรากฏ ถือได้ว่าข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวโจทก์เป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ เมื่อข่าวดังกล่าวระบุว่าการชุมนุมมีการนำรถบรรทุกสิบล้อมาปิดถนน อันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้รถทุกประเภทไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งตามข่าวระบุว่าเป็นแกนนำการชุมนุมได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการยินยอมให้มีการนำข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือประชาชน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14 (1)

หนังสือพิมพ์รายวันมติชนของจำเลยที่ 1 เผยแพร่และวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ส่วนเว็บไซต์มติชนออนไลน์ก็เผยแพร่โดยระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวได้ทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าการกระทำตามฟ้องเกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2558  การนำหนังสือพิมพ์ไปแจกโดยทราบว่ามีเนื้อหาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ถือได้ว่าเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไปแล้ว จึงเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

 

กฎหมายหน้ารู้

คดีอาญา

คดีอาญา

โทษในคดีอาญา  ได้แก่ โทษปรับ  การยึดทรัพย์สิน  กักขัง  จำคุก  รวมทั้งโทษประหารชีวิต

ตัวอย่างในคดีอาญา

คดีลักทรัพย์   คดีบุกรุก  คดียักยอกทรัพย์   หมิ่นประมาท  รับของโจร  ทำร้ายร่างกาย  ประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต   หรือคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

การฟ้องคดีอาญาทำได้ 2 วิธีด้วยกัน

1.แจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนที่อยู่ในเขตพื้นที่ๆเกิดเหตุให้ดำเนินคดีเอาผิดกับคู่กรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหาย   สำหรับวิธีการนี้เมื่อตำรวจรับเรื่องแจ้งความจากผู้เสียหายแล้ว  ตำรวจมีหน้าที่ทำการสอบสวนผู้เสียหายก่อน   และหากพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอก็ให้มีหมายเรียกคู่กรณีเพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาและทำการสอบสวนคู่กรณีก่อน  เสร็จแล้วพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนส่งเรื่องให้อัยการเพื่อสั่งฟ้องคดีไปที่ศาล เพื่อให้พิจารณาและลงโทษเอาผิดกับคู่กรณีในเรื่องนั้นได้

2.การว่าจ้างทนายความฟ้องคดี   แนวทางนี้เป็นแนวทางที่กรณีหากผู้เสียหายมีความประสงค์ที่จะให้ทนายความ     ดำเนินการยื่นฟ้องคดีไปที่ศาลโดยตรง   เป็นวิธีการที่ทำให้คดีเกิดความรวดเร็วในการที่เอาผิดกับคู่กรณีได้  โดยขั้นตอนนี้ไม่ต้องผ่านกระบวนการแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ  ไม่ต้องผ่านสำนักงานอัยการเพื่อพิจารณาเรื่องราวที่เกิดขึ้น   แต่ฝ่ายผู้เสียหายสามารถนำเรื่องยื่นฟ้องตรงไปที่ศาลได้ทันทีโดยผ่านการดำเนินการของทนายความ  ซึ่งแนวทางนี้ก่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว  และส่งผลให้สามารถเอาผิดกับฝ่ายคู่กรณีตามกฎหมายได้โดยทันที  รวมทั้งอาจจะส่งผลให้ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เงินค่าเสียหายได้จากคู่กรณีฝ่ายที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้น

 

รับงานว่าความคดีแพ่ง คดีอาญา

สอบถามงานกฎหมาย  091-0473382

กฎหมายหน้ารู้