การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน

การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน

         กำหนดข้อพิพาทในคดีแรงงานและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานนั้น  ไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.

เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับคดีแรงงานได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง    

และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

จำเลยไม่มาศาลในคดีแรงงาน

จำเลยไม่มาศาลในคดีแรงงาน

          ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว(มาตรา 40 วรรคสอง) ทางแก้จำเลยต้องปฏิบัติตามมาตรา 41ฎีกา 3022/2552 เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือ ต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีต้องยกคำร้องที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวน จึงเป็นการถูกต้องแล้ว

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

หากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน

หากโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน

       นัดสืบพยานไม่ใช่วันนัดพิจารณา ศาลจะสั่งตามมาตรา  40  วรรคหนึ่ง ไม่ได้     ฎีกา 8233-8236/2547

โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณาทุกนัดเมื่อคดีตกลงกันไม่ได้ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานจำเลย

การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันสืบพยานนัดแรก คงมีผลเพียงทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะขออนุญาตศาลแรงงานถามพยานจำเลย

เพื่อทำลายน้ำหนักพยานจำเลยเท่านั้น ไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

 ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้(มาตรา 40 วรรคหนึ่ง)   

กรณีหากโจทก์แถลงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายใน 7 วัน  

นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งเดิมได้(มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

หรือโจทก์อาจฟ้องคดีเรื่องนั้นใหม่ภายใต้อายุความ (ฎีกา 2049/2524)

———————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ค่าฤชาธรรมเนียมการฟ้องในคดีศาลแรงงาน

ค่าฤชาธรรมเนียมการฟ้องในคดีศาลแรงงาน

        ฎีกา 3810/2542 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาล

ตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้   ส่วนการวางเงินโจทก์ต้องวางเงินเฉพาะส่วน

ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ (และต้องวางดอกเบี้ยตามคำสั่งนับถึงวันฟ้องด้วย มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง )

—————————————————————————————–

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

คำพิพากษาฎีกาการฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาฎีกาการฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง    โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น    เป็นการฟ้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

 

กฎหมายหน้ารู้

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

          ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อสอบสวนและมีคำสั่ง หรือจะฟ้องโดยตรงต่อศาลแรงงานก็ได้

ไม่เป็นการบังคับว่าลูกจ้างต้อง ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้

แต่ลูกจ้างต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จะใช้สิทธิทั้งสองทางพร้อมกันไม่ได้

——————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

             ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง   

โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

มีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น  เป็นการฟ้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้อง

ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้

———————————————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้