ทวงถามลูกหนี้

ทวงถามลูกหนี้

เมื่อพูดถึงลูกหนี้กับเจ้าหนี้แล้วนั้น 2 อย่างเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย   แม้นว่าสองฝ่ายได้มีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการเป็นหนี้ตามสัญญาที่แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง  เช่น  สัญญากู้ยืม  สัญญาว่าจ้าง  สัญญาเช่าซื้อ  หรือ หนังสือรับสภาพหนี้ต่างๆที่เกิดขึ้น

ท่านอาจสงสัยว่าหากลูกหนี้ผิดนัดแล้ว  ฝ่ายลูกหนี้ยังมีสิทธิ์ในการพูดคุยขอลดหย่อนผ่อนหนี้กับลูกหนี้ได้อีกหรือไม่นั้น   ในทัศนะของทนายความเห็นว่า  ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้  หากฝ่ายใดต้องการที่จะพูดคุยหรือไกล่เกลี่ยเพื่อชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นกับอีกฝ่ายนั้น   ฝ่ายลูกหนี้ก็สามารถติดต่อเข้าพบหรือหารือเพื่อเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไขที่เคยมีต่อกันมาก่อน  เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และกำหนดยอดชำระกันใหม่  โดยกำหนดข้อตกลงเงื่อนไขในการชำระหรือจ่ายเงินกันใหม่ได้ครับ  แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ต้องให้ความยินยอมด้วยนะครัย   แต่หากเจ้าหนี้ไม่ให้การยินยอมก็ต้องว่ากล่าวไปตามข้อตกลงเงื่อนไขที่อยู่ในสัญญาเดิมทั้งสิ้น

ท่านใดมีข้อสงสัยหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว  ท่านสามารถปรึกษากับทนายความได้ตลอดครับ 02-0473382 ,02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

การรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่ออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คมีไม่พอจ่าย

ฎีกาที่  3970/2528  โทรกลับจำเลยเข้าหุ้นกันค้าขายเช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนซึ่งทราบยอดเงินในบัญชีดีและทอรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่จำเลยออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายเท่ากับโจทย์สมคบการสลักหลังโอนเช็คให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินและนำเช็คมาฟ้องคดีโดยตอบไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และโจทก์ทราบความเป็นมาของเช็คพิพาทดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยย่อมไม่มีความผิด

ฎีกาที่  1523-1524/2525  จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์ทราบดีแล้วว่าขณะที่ออกเช็คนั้นจำเลยไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คได้และจำเลยอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้ต้องออกเช็คการออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้า

การออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันครบกำหนดชำระเงิน ในส่วนนี้ศาลได้มีแนวคำพิพากษาฎีกาไว้ดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 7569/2541    การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมโดยปรากฏว่าวันเสาร์จ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงินแสดงว่าขนาดเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้น  ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องและบังคับได้ตามกฎหมาย      การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้วไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตามเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน    จำเลยที่๒ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

ฎีกาที่ 6888/2550  ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค      พ. ศ.2534 นั้น    วันออกเช็คย่อมหมายถึง  วันที่ลงในเช็คส่วนวันที่เขียนเช็คหรือมอบเช็คให้แก่ผู้เสียหายหาใช่วันที่ออกเช็คไม่ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าหลังจากที่ผู้เสียหายได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและเช็คพิพาทแล้วผู้เสียหายก็มอบเงินที่กู้ยืมให้แก่จำเลยในวันเดียวกันนั้น ปรากฏว่าวันสั่งจ่ายเช็คที่ลงในเช็คพิพาทตรงกับวันครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแสดงว่าขณะที่เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือเป็นออกเช็คดังกล่าวสมบูรณ์และมีหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน    การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

 

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น มีการออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พุทธศักราช 2527 ใช้บังคับปรากฏว่า

การกู้ยืมเงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปโดยมีการจ่ายเงิน  ดอกเบี้ย  หรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินไปกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจากเพิ่งหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติโดยผู้กระทำได้ร่วมประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตน ด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่นๆมาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ฝากเงินรายก่อนๆในลักษณะต่อเนื่องกันอันเป็นลักษณะของการฉ้อโกงประชาชนเพราะจะไม่ได้รับเงินคืน

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ทางปฏิบัติในการกู้ยืมเงินที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การกล่าวถึงหลักการพื้นๆไม่ลงลึกในรายละเอียด  เพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการแนวทาง ในการทำคดีประเภทนี้ ดังนั้นจึงไม่ควรจะยึดถือเป็นหลักตายตัวไปทั้งหมด จะยึดได้กรณีเฉพาะที่มีการแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเท่านั้น    ส่วนด้านอื่นที่เป็นเทคนิคของผู้ทำคดีแต่ละคนที่จะประยุกต์ใช้หรือมีเทคนิควิธีการที่ดีอยู่แล้วก็ได้ซึ่งเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลไป     ในทางปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงินในแต่ละขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นว่าควรมีสิ่งดังต่อไปนี้

  1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องกระทำเมื่อเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี ทางหนึ่งที่จะได้ข้อเท็จจริงก็คือการตรวจสอบซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริงจากตัวความ เพิ่งมาติดต่อปรึกษาว่าจ้างให้เราเป็นทนายความให้ จะต้องซักถามรายละเอียดและข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมีอะไร อย่างไรบ้าง ต้องรวบรวมไว้ซึ่งจะต้องซักถามรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อมองลู่ทางรูปเขาของคดีแล้ว เมื่อตัดสินใจฟ้องร้องก็มักจะมีการออกหนังสือบอกกล่าวที่เรียกว่า Notice เป็นการกล่าวเตือนให้ปฏิบัติการชำระหนี้มิฉะนั้นจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ลักษณะของหนังสือบอกกล่าวนั้นควรมีลักษณะตรงไปตรงมา กล่าวถึงเหตุผลความเป็นมาของนิติกรรมสัญญาระหว่างกันการผิดนัดจำนวนหนี้สินที่ต้องชำระตลอดเป็นมาตรการที่จะให้ดำเนินการหากไม่ปฏิบัติตามการชำระหนี้คือ การฟ้องคดีนั้นเอง

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้