การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ

การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ

ในคดีอาญาซึ่งจำเลยไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาเมื่อศาลส่งหมายบังคับคดีมายังกรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดแล้ว     ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว ดำเนินการตามหมายบังคับคดีนั้น และให้นำหมวด ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับคดีโดยอนุโลม     สำหรับกรณีเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เบิกจากงบประมาณของกรมบังคับคดี

ถ้าหมายบังคับคดีของศาลมิได้กำหนดผู้นำยึดก็ดี หรือกำหนดผู้นำยึดก็ดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชักช้า หากไม่สามารถทำการยึดด้วยประการใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ผู้นำยึดทรัพย์  ระเบียบ และข้อกฎหมาย

ผู้นำยึดทรัพย์  ระเบียบ และข้อกฎหมาย

         ผู้นำยึด  คือ  ผู้ซึ่งได้ระบุไว้ในหมายบังคับคดีหรือในหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า เป็นผู้นำยึด       ผู้นำยึดอาจมอบอำนาจให้ทนายความของตน หรือ ผู้หนึ่งผู้ใดมาทำการแทนก็ได้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบพิมพ์กรมบังคับคดี

         ตามระเบียบแล้ว  ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำการบังคับคดี ต้องให้ผู้นำยึด หรือผู้รับมอบอำนาจทำคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามแบบพิมพ์กรมบังคับคดี และวางเงินค่าใช้จ่าย(๑) ไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดตามอำนาจในกฎหมาย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่าเช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ และค่าจ้างคนเฝ้ารักษาทรัพย์ด้วย

         กรณีถ้าเป็นการยึดที่ดิน ให้ผู้นำยึดส่งโฉนด หรือ หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินรายที่จะนำยึดหรือสำเนาซึ่งเจ้าพนักงานรับรอง ถ้าหากมี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบก่อน      ผู้นำยึดเป็นผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวก จัดยานพาหนะรับและส่งเจ้าพนักงานบังคับคดี ตลอดจนการขนย้าย และการเก็บรักษาทรัพย์ และออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะร้องขอ      ผู้นำยึดต้องอยู่ในสถานที่ยึดทรัพย์เพื่อชี้ทรัพย์(๒) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำการยึดและช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์ตามแต่เจ้าพนักงานบังคับจะขอร้องเพื่อให้การยึดสำเร็จไปโดยมิชักช้า

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

 ในกรณีผู้นำยึดแถลงความประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้นำส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ดังนี้

          (๑) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส. ๓ นส. ๓ก.) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสำคัญที่ดินอื่นๆ หรือสำเนาที่เจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน ๑ เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่นหนังสือสัญญาจำนอง เป็นต้น

          (๒) แจ้งภูมิลำเนาและส่งสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๑ เดือน

          (๓) แผนที่การเดินทางไปทรัพย์ที่จะยึด พร้อมสำเนา

          (๔) ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึดโดยระบุขนาดกว้างยาว

          (๕) ราคาประเมินที่ดิน ห้องชุด ที่เจ้าพนักงานรับรอง

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

อำนาจเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานการบังคับคดี

อำนาจเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานการบังคับคดี

       เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจะดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหมายบังคับคดี หรือตามคำสั่งของศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายได้แต่ภายในเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี หรือมีคำสั่ง หรือขอบอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์      กรณีถ้าจะต้องบังคับคดีนอกเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานพร้อมส่งหมายที่จะมีการบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแทน

       เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายบังคับคดีหรือคำสั่งของศาล หรือการมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการตามหมายบังคับคดี หรือ คำสั่ง หรือการมอบหมายนั้นภายในเวลาอันสมควร  

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

การอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

ท่านต้องไปแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอายัดโดยในคำแถลงต้องระบุถึงประเภททรัพย์ที่จะให้อายัดและต้องส่งสำเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องที่อายัด ซึ่งเจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมสำเนา 1ฉบับ และสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียมศาล สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของนายจ้างหรือบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด รวมทั้งเตรียมเงินทดรองค่าใช้จ่ายจำ นวน 1,500  บาท ไปด้วย

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

กฎหมายหน้ารู้

อายุความคดีเช่าซื้อ

อายุความคดีเช่าซื้อ

     1. อายุความสัญญาเช่าซื้อ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 slot thailand

     2. อายุความค่าขาดประโยชน์ ก่อนสัญญาสิ้นสุดลง มีอายุความ 6 เดือน หลังสัญญาสิ้นสุดแล้ว มีอายุความ 10 ปี

     3. อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีอายุความ 2 ปี

     4. อายุความฟ้องเรียกค่าขายรถขาดทุน มีอายุความ 10 ปี

     5. อายุความฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคารถยนต์แทน มีอายุความ 10 ปี

     6. อายุความฟ้องเรียกรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืน ตามมาตรา 1336 ไม่มีอายุความ

ติดตามคืนได้ตลอด แต่กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปแล้ว หรือตกเป็นของผู้อื่นแล้ว

ตามการครอบครองปรปักษ์ ก็ฟ้องติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไม่ได้ (ต้องนำสืบถึงเจตนาที่เราต้องการ

เป็นเจ้าของอย่างเปิดเผยด้วย) https://www.funpizza.net/

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ Tel. 02-1217414, 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

        ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของ และหากไฟแนนซ์รับรถยนต์คันเช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบถ้วนตามสัญญา ผู้เช่าซื้อไม่จำต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าขาดราคานั้น   ถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลังหาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

Tel. 02-1217414, 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับผิดเอารถเช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อ

         มาตรา ๔๕๓ การซื้อขายทรัพย์สินนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๕๓)
        มาตรา ๗๔๗ การจำนำ คือ การที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘)
เมื่อการขายทรัพย์สินเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ และการจำนำคือการนำทรัพย์สินของตนเองให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ประทาน แต่ทั้งนี้เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นยังมิใช่กรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ ตามหลักผู้เช่าซื้อจึงไม่อาจนำรถยนต์คันเช่าซื้อไปจำนำหรือขายต่อให้แก่บุคคลภายนอกได้
       การที่ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อนั้น ไฟแนนซ์สามารถเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ 2 ราย คือ
1.) ผู้เช่าซื้อ ทางอาญา เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทางแพ่ง เป็นการผิดสัญญาและสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที https://www.funpizza.net/
2.) ผู้รับซื้อหรือรับจำนำ มีความผิดฐานรับของโจร
– รถอยู่ระหว่างผ่อน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ขายรถได้ไหม
ไม่ได้ เพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เว้นแต่เป็นการขายดาวน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2550 ป.พ.พ. มาตรา 572 เช่าซื้อคือสัญญาซึ่ง “เจ้าของ” เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ซึ่งผู้มีอำนาจทำสัญญาจึงต้องเป็น “เจ้าของ” แต่โดยสภาพของสัญญาเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมจะโอนไปยังผู้เช่าซื้อในอนาคต หาได้โอนกรรมสิทธิ์ในทันทีขณะทำสัญญาไม่ “เจ้าของ” จึงหมายถึง ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขณะทำสัญญาเช่าซื้อและหมายรวมถึงผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในอนาคตโดยชอบด้วย เมื่อ ค. ได้ซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาทมาจาก ห. โดย ห. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจโอนลอยทางทะเบียนให้ ค. ไว้แล้ว เพียงจะนำไปเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดย ค. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ด้วย เท่ากับว่าจะโอนเป็นชื่อของบริษัทโจทก์เมื่อใดก็ได้ ต่อมาโจทก์ได้ให้ ห. เช่าซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาท และ ห. นำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย ดังนั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็น “เจ้าของ” รถแทรกเตอร์คันพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อได้ สัญญาเช่าซื้อจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ห. ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยไม่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แต่กลับนำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดรถแทรกเตอร์คันพิพาทไว้จำต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน   สิทธิฟ้องคดี

ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน   สิทธิฟ้องคดี

        กฎหมายมิได้ระบุไว้ในเรื่องการว่าจ้างงานว่าการจะฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสัญญาจ้างได้นั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีสัญญาที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด slot thailand

       ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีสัญญาการว่างานจ้างต่อกันก็สามารถเรียกร้องให้ชำระเงินค่าจ้างหรือหากไม่มีการชำระเงินตามที่ตกลงการว่าจ้างงานกันแล้ว ผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถนำเรื่องเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้ เพียงแค่ใช้พยานบุคคลมานำสืบ หรือภาพถ่ายขณะทำงานก็เพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว แต่ทั้งนี้แม้จะสามารถฟ้องคดีเพื่อเอาผิดคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ แต่น้ำหนักพยานอาจไม่มากพอที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างหรือการให้การของอีกฝ่ายได้ https://www.funpizza.net/

กฎหมายหน้ารู้

ผิดสัญญาการจ้าง   สิทธิการคิดค่าเสียหาย

ผิดสัญญาการจ้าง   สิทธิการคิดค่าเสียหาย

กรณีที่ผู้ว่าจ้างอาจคิดค่าเสียหายหรือเรียกร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดได้คือ

  1. มีการกำหนดความรับผิดไว้ในสัญญาว่าจ้าง
  2. เกิดความชำรุดบกพร่องอันเนื่องมาจากความผิดของผู้รับจ้าง หรือชักช้าในการที่ทำ ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกให้ผู้รับจ้างรับผิดได้ เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องหรือความล่าช้านั้นเพราะสภาพสัมภาระที่ผู้ว่าจ้างหามาหรือเพราะคำสั่งของผู้ว่าจ้างเอง แต่ทั้งนี้หากผู้รับจ้างรู้ว่าสัมภาระนั้นไม่ดีหรือคำสั่งของผู้ว่าจ้างดังกล่าวจะกระทบทำให้เกิดความชำรุดบกพร่องหรือชักช้าในการที่ทำและไม่เตือนผู้ว่าจ้างผู้รับจ้างยังต้องรับผิด
  3. กรณีเมื่อได้เริ่มทำงานแล้วแต่งานบกพร่องหรือเป็นไปในลักษณะที่ฝ่าฝืนข้อสัญญา เพราะความผิดของผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างอาจบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขความบกพร่องหรือบอกให้ปฏิบัติตามสัญญาโดยกำหนดระยะเวลาตามสมควรได้ หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ว่าจ้างอาจนำออกให้คนนอกทำการแก้ไขซ่อมแซมหรือทำต่อไปในการนั้นได้ และผู้รับจ้างต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้นได้
  4. กรณีผู้รับจ้างมีหน้าที่ในการหาสัมภาระเอง แต่หากการจัดหาสัมภาระมาไม่ดีผู้รับจ้างต้องรับผิดในการนั้น

กรณีดังกล่าวผู้เขียนเห็นว่า  การตกลงว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ รวมทั้งแรงงานที่ได้รับงานมาจากผู้ว่าจ้างให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการที่จ้าง   ดังนั้นการเข้ารับงานของตนต้องพึงใช้ความระมัดระวังในการทำงานโดยคำนึงถึงแบบและความต้องการของผู้ว่าจ้างที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด  การทำงานเรื่องใดที่มีแบบและวัสดุ  หรือขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการที่ชัดเจนเป็นลายลักอักษร  ผู้รับจ้างต้องพึงปฏิบัติตามให้เรียบร้อยให้สมกับการไว้วางใจของผู้ว่าจ้าง   สำหรับผู้ว่าจ้างเองก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนค่างานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้รับจ้างด้วย   แต่กรณีเกิดข้อพิพาทต่อกันในเรื่องการจ้างที่เกิดขึ้น  ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยการทำงาน  เกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อตกลงที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นส่วนใหญ่  หรือเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของคู่สัญญาด้วยกันเอง

ดังนั้น หากเกิดข้อพิพาทในเรื่องการจ้างต่อกันแล้ว  ก็คงต้องนำเรื่องพิพาทดังกล่าวมาพิจารณากันว่า  ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อกัน  เหตุการณ์ที่เกิดฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบในเรื่องของค่าเสียห่ย   ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้หากคู่สัญญาได้ทำสัญญาไว้เป็นลายลักอักษรก็จะใช้สัญญาเป็นตัวกำหนดในเรื่องของค่าเสียหายต่อกันได้  แต่ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้  บางท่านก็นำเรื่องดังกล่าวมาใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลโดยให้ทนายความฟ้องดำเนินคดีกันตามกฎหมาย  เพื่อให้ศาลได้มีการพิจารณาและตัดสินคดีหรือตัดสินข้อพิพาทต่อกันให้ข้อพิพาทที่มีต่อกันเป็นอันยุติไปได้

สอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติม  091-0473382

กฎหมายหน้ารู้