ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่

ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่

            ก่อนขายรถยนต์หรือจักรยานยนต์คันเช่าซื้อ ไฟแนนซ์ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกัน ทราบก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อสามารถซื้อรถยนต์คืนได้ในราคาที่ค้างชำระ

            หลังจากขายแล้ว ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบว่า ขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ราคาเท่าไหร ยังเหลือหนี้อยู่อีกเท่าไหร หรือขายได้กำไรกี่บาท ภายใน 15 วัน นับจากวันขายทอดตลาด

            หากทางผู้ให้เช่าซื้อไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าไม่แจ้งให้ทราบตามกฎหมาย ก็เรียกค่าเสียหาย ค่าขาดราคารถไม่ได้ ยกเว้นจะระบุไว้ในสัญญา

กฎหมายหน้ารู้

ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาชั่วคราว

ประเภทของการปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาชั่วคราว

            การปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

           ประเภทที่ 1) การขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องทำสัญญาประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

          ประเภทที่ 2) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยก่อนปล่อยไปผู้ประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน การขอปล่อยชั่วคราว (การขอประกันตัว)

          ประเภทที่3 ) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันต้องลงลายมือในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล และมีการวางหลักประกันไว้เพื่อที่จะสามารถบังคับเอากับหลักประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน

กฎหมายหน้ารู้

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว

1)  ผู้ต้องหา จำเลย หรือบุคคลที่ถูกกักขังหรือจำคุกในกรณีอื่น เช่น ศาลออกหมายจับพยานที่จงใจไม่มาศาล  หรือกรณีละเมิดอำนาจศาล  หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับกุมโดยเหตุจงใจขัดขืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 300 เป็นต้น    บุคลเช่นว่านี้มีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวได้

2)  ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง   เช่น   บุพการี   ผู้สืบสันดาน   สามี  ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้

สอบถามเพิ่มเติม 02-1217414 , 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

การขอปล่อยชั่วคราว

การขอปล่อยชั่วคราว

การปล่อยชั่วคราว   คือ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจ าเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานศาล ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ควรที่จะให้ปล่อยชั่วคราวไป ตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า    ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

 

การขอปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวได้ ดังนี้

1) ชั้นฝากขัง ขอปล่อยชั่วคราวได้เมื่อผู้ต้องหาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการนำตัวมาขออนุญาตฝากขังระหว่างที่ยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ

2) ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อผู้ต้องหาถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแล้วก็จะเปลี่ยนฐานะจากผู้ต้องหาเป็นจำเลย จึงมีสิทธิขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลได้  หรือในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์เมื่อศาลประทับฟ้องแล้วจะขอปล่อยชั่วคราวก่อนวันนัด ในวันนัดหรือหลังจากวันนัดที่ระบุในหมายเรียกให้มาแก้คดีก็ได้

3)   ชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา    กรณีที่จำเลยถูกขังหรือจำคุกโดยผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น                    ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคจะขอปล่อยชั่วคราวก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์หรือยื่นฎีกาพร้อมกัน หรือหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ได้แล้วแต่กรณี

สอบถามเรา รับคำแนะนำกับเรา /ฟรี 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

เหตุของการหย่า

เหตุของการหย่า

สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
การละทิ้งร้าง คือ การแยกกันอยู่ต่างหากโดยหมดรักหมดอาลัยใยดีต่ออีกฝ่าย
การละทิ้งร้างจะสิ้นสุดลงเมื่อกรณีที่ฝ่ายที่ละทิ้งร้างได้แสดงเจตจำนงว่าจะกลับมาอยู่กินกันใหม่

– สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
การทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำที่ขัดขวางต่อการที่ชายหรือหญิงจะดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างปกติสุขและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรืออนามัยของคู่สมรสอีกฝ่ายนั้นด้วย

– สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ทัณฑ์บนตามอนุมาตรานี้ เป็นทัณฑ์บนเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติเท่านั้น ซึ่งเป็นบันทึกข้อความของฝ่ายที่ให้ทัณฑ์บนไว้พร้อมลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวก็สามารถบังคับได้ เมื่อได้มีการทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือแล้วนั้นห้ามมิให้มีการยกเลิกในภายหลัง

ขอรับคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น  /ฟรี 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

การส่งคืนรถเช่าซื้อก่อนกำหนด  ควรจัดทำหลักฐานกันอย่างไร

การส่งคืนรถเช่าซื้อก่อนกำหนด  ควรจัดทำหลักฐานกันอย่างไร

อันดับแรกให้ทำการยื่นเรื่องเพื่อขอคืนรถกับทางสถาบันการเงิน แล้วขอยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ พร้อมส่งมอบรถยนต์คืน

           การคืนรถหากไม่มีค่างวดคงค้างกับไฟแนนซ์ สามารถทำหนังสือโดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับแก่ไฟแนนซ์ให้มารับรถคืนได้ หากไม่มารับรถภายในกำหนด ให้นำรถไปคืนที่สำนักงานวางทรัพย์

           หากนำไปคืนกับไฟแนนซ์เอง ทางไฟแนนซ์ให้เซ็นเอกสารใด ๆ ควรดอกจันไว้ว่า “การคืนรถสิ้นสุด ไม่มีพันธะสัญญาต่อกันอีก และไม่มีภาระรับผิดชอบค่าส่วนต่างหรือค่าเสียเวลาใด ๆ ให้กับไฟแนนซ์หลังจากการคืนรถ ณ วันนั้น ๆ”

           ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐาน ในวันคืนรถควรถ่ายภาพรถยนต์หรือจักรยานยนต์คันที่ส่งคืนไฟแนนซ์ทุกมุม และนำไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจ หรืออาจทำสำเนาภาพถ่ายเป็นเอกสารให้ทางไฟแนนซ์เซ็นรับรอง

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิบอกเลิกเช่าซื้อรถยนต์หรือจักรยานยนต์

สิทธิบอกเลิกเช่าซื้อรถยนต์หรือจักรยานยนต์

          ในทางปฏิบัติแล้วฝ่ายที่ใช้สิทธิเลิกสัญญามักจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อ มีน้อยรายที่ผู้เช่าซื้อจะเป็นฝ่ายเลิกสัญญาและเหตุที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญากับผู้เช่าซื้อก็คือเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือที่เรียกกันว่าขาดส่งงวดและแม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคหนึ่ง จะกำหนดว่าผู้เช่าซื้อต้องผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติดๆ กันก็ตาม แต่ขณะท าสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจมักจะทำสัญญายกเว้นกฎหมายดังกล่าว นั่นคือทำสัญญาในลักษณะที่มีข้อตกลงว่าแม้ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวผู้ให้เช่าซื้อก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที ซึ่งศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าข้อตกลงที่แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวนั้นสามารถใช้บังคับได้ เพราะมาตรา 574 วรรคหนึ่ง มิใช่บทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาจึงสามารถตกลงยกเว้นเป็นอย่างอื่นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151

         ซึ่งอย่างที่ผู้เขียนกล่าวมา สัญญาเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อทำมามักเป็นสัญญาสำเร็จรูปผู้เช่าซื้อแทบไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้ให้เช่าซื้อ ทำให้ผู้เช่าซื้อต้องผูกพันตามสัญญานั้น เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแม้เพียงงวดเดียว ผู้ให้เช่าซื้อก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีตามข้อสัญญานั้น

กฎหมายหน้ารู้

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส

           มาตรา ๑๔๗๓ สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ มาตรา ๑๔๗๕ ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๕๖ แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้ มาตรา ๑๔๗๖ สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้

          (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

          (๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

          (๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

          (๔) ให้กู้ยืมเงิน

          (๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

          (๖) ประนีประนอมยอมความ

          (๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

          (๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

 

กฎหมายหน้ารู้

ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

       มาตรา ๑๔๗๐ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส มาตรา ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(๑) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

(๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

(๓) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

       มาตรา ๑๔๙๐ หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้

(๑)หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ

(๒) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

(๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน

(๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน

กฎหมายหน้ารู้

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส
มาตรา ๑๔๗๓ สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา ๑๔๗๕ ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๕๖ แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
มาตรา ๑๔๗๖ สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(๔) ให้กู้ยืมเงิน
(๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(๖) ประนีประนอมยอมความ
(๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายหน้ารู้