ค่าฤชาธรรมเนียมการฟ้องในคดีศาลแรงงาน

ค่าฤชาธรรมเนียมการฟ้องในคดีศาลแรงงาน

        ฎีกา 3810/2542 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาล

ตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้   ส่วนการวางเงินโจทก์ต้องวางเงินเฉพาะส่วน

ที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ (และต้องวางดอกเบี้ยตามคำสั่งนับถึงวันฟ้องด้วย มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง )

—————————————————————————————–

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

คำพิพากษาฎีกาการฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาฎีกาการฟ้องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง    โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น    เป็นการฟ้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

 

กฎหมายหน้ารู้

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

ลูกจ้างฟ้องนายจ้างกรณีไม่จ่ายเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ

          ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อสอบสวนและมีคำสั่ง หรือจะฟ้องโดยตรงต่อศาลแรงงานก็ได้

ไม่เป็นการบังคับว่าลูกจ้างต้อง ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้

แต่ลูกจ้างต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จะใช้สิทธิทั้งสองทางพร้อมกันไม่ได้

——————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

             ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง   

โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

มีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น  เป็นการฟ้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้อง

ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้

———————————————————————————————————

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

เอกสารเกี่ยวกับหลักประกันที่ใช้ในการขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว

เอกสารเกี่ยวกับหลักประกันที่ใช้ในการขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว

          1)  กรณีใช้โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก./ น.ส.3) เป็นหลักประกันต้องมีเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย(1)  เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก./ น.ส.3) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสำคัญที่ดินอื่นๆ เป็นต้น

           2)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน 1 เดือน ( หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล ต้องนำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลมาประกอบด้วย )

           3)  แผนที่การไปที่ตั้งทรัพย์ โดยให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการออกสู่ทางสาธารณะด้วย ( แผนที่ต้องเขียนอย่างชัดเจนให้สามารถเดินทางไปได้อย่างถูกต้อง )

          4)  ภาพถ่ายปัจจุบันของหลักทรัพย์ พร้อมรายละเอียดของทรัพย์ เช่น เลขที่โฉนดที่ดิน บ้านเลขที่ หมู่ที่ หมู่บ้าน ซอย ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต สถานที่สำคัญซึ่งอยู่ใกล้เคียง  ( ภาพถ่ายต้องชัดเจนสามารถบรรยายสภาพทรัพย์ได้ ) 

            5)  ราคาประเมินที่ดินหรือราคาประเมินอาคารชุด ที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน

————————————————————————————————————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

 

กฎหมายหน้ารู้

หลักประกันที่สามารถนำมาวางเป็นประกันเพื่อขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

หลักประกันที่สามารถนำมาวางเป็นประกันเพื่อขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

     1.เงินสด

     2.หลักทรัพย์อื่น เช่น

                (1)  โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓)

                (2)  พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน สลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์กรเกษตร

                (3)  สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร

                (4)  หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน

                (5)  หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย

     3.บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน

               ต้องมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ  และเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย  เช่น  เป็นบุพการี  ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง โดยสามารถท าสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน ๑๐ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

     4. ส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา

     5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจทำสัญญาประกันตนเองได้

——————————————————————————————————————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 

          ตามปกติผู้ร้องขอประกันจะนำต้นฉบับเอกสารพร้อมสำเนามายื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เอกสารที่ใช้ประกอบคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว มีดังนี้  บัตรประจำตัวประชาชนบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ร้องขอประกัน   ทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของผู้ร้องขอประกัน    กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่

         (1) บัตรประจำตัวประชาชน  บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ  และทะเบียนบ้านของคู่สมรส

         (2) ใบสำคัญการสมรส

         (3) หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส

         (4) ถ้าหากผู้ขอประกันเป็นหม้ายโดยการตายของคู่สมรสหรือการหย่าต้องแสดงเอกสารใบมรณบัตรคู่สมรสหรือใบสำคัญการหย่า

         (5) กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในเอกสารสิทธิในหลักทรัพย์ ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน หรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล  กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศ หากมีหนังสือเดินทาง (Passport) ต้องนำมาแสดงด้วย

         (6) บัญชีเครือญาติหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย

——————————————————————————————————————————————————————————————-

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ข้อพิจารณาในการปล่อยตัวชั่วคราว

ข้อพิจารณาในการปล่อยตัวชั่วคราว

           ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 บัญญัติว่า “ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ ซึ่งได้แก่

           (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา

           (2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

           (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร

           (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด

           (5)  ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

           (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

           (7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน  พนักงานอัยการโจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้”

———————————————————————————————————————————————————————————————–

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ประเภทของการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว การปล่อยตัวชั่วคราว

ประเภทของการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว การปล่อยตัวชั่วคราว ( แบ่งออกเป็น 3 ประเภท )

          ประเภทที่ 1)  การขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน  คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องทำสัญญาประกันและไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

          ประเภทที่ 2)   การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน  คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยก่อนปล่อยไปผู้ประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกัน การขอปล่อยชั่วคราว  (การขอประกันตัว)

          ประเภทที่3 ) การปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คือ การปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว   โดยผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันต้องลงลายมือในสัญญาประกันต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล และมีการวางหลักประกันไว้เพื่อที่จะสามารถบังคับเอากับหลักประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน

……………………………………………………………………………………………………………………………………….

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา

ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา

         ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดๆกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ส่วนเงินที่ชำระราคามาแล้วให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้ และเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้ การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระ 2 งวดติดต่อกัน หากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งแต่ไม่ติด ๆ กัน แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

       เว้นแต่ถ้าสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวก็ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อ ให้เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงเช่นนี้มีผลผูกพันคู่สัญญา ดังนั้นหากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินเพียงงวดเดียวผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

       การผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและครอบครองในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลง ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีก เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่ อนึ่ง ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นงวดสุดท้ายนั้น เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจะริบบรรดาเงินที่ชำระมาแล้วแต่ก่อนและ ยึดทรัพย์กลับคืนไปได้ต่อเมื่อรอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระราคา เมื่อถึงกำหนดชำระราคาในงวดถัดไป ถ้าไม่มาผู้ให้เช่าซื้อริบเงินได้

กฎหมายหน้ารู้