การใช้ทนายความขึ้นศาล

การใช้ทนายความขึ้นศาล       

ทนายความ คือ ผู้มีอาชีพรับจ้าง เหมือนผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้างทั่วไป ซึ่งหากแปลให้ตรงตัวคือผู้รับใช้   แต่ที่ต่างกันกับอาชีพอื่นคือทนายความต้องมีใบอนุญาตให้ว่าความในเขตอำนาจศาลของประเทศไทย ซึ่งออกโดยสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นองค์กรที่กำกับ ควบคุมคุมมาตรฐาน และ มรรยาท ซึ่งหากสมาชิกคนใดก็ตามที่ประพฤติปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็อาจจะถูกเพิกถอน หรือพักใช้ใบอนุญาต ซึ่งส่งผลให้คนนั้นไม่มีสิทธิขึ้นว่าความในศาลได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นทนายความในประเทศไทยได้จึงต้องได้ใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เท่านั้น จะได้รับใบอนุญาตจากประเทศอื่นก็ไม่สามารถขึ้นว่าความในศาลไทยได้เช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าทนายความเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง ประเภทหนึ่ง ดังนั้นเมื้อทนายความคนใดก็ตามตกลงรับทำงานในเรื่องใดก็ตามจึงต้องรับผิดชอบจนเสร็จงานของแต่ชั้นศาล หากทอดทิ้งงานก็อาจจะถูกลงโทษ

ทนายความจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการแต่งทนายความให้ทำงานโดยผู้อื่นซึ่งอาจเป็น โจทก์ หรือ จำเลยในคดีใดๆและต้องลงลายมือชื่อผู้แต่งทนายความ ในแบบพิมพ์ของศาล จึงจะสามารถดำเนินคดีในฐานะโจทก์ หรือ จำเลย ได้ โดยตรงช่องผู้แต่งทนายความ จะมีข้อความระบุว่ายอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ สละสิทธิหรือใช้สิทธิ ในการอุทธรณ์ฎีกาหรือการพิจารณาคดีใหม่..สำหรับคดีแพ่งและอาญาหรือล้มละลาย ส่วนคดีอาญา อาจพิมพ์คำว่า “ว่าต่างและแก้ต่าง อุทธรณ์ฎีกา” ก็สามารถระบุได้

ส่วนอัตราค่าตอบแทนวิชาชีพหรือการจ้างทนายความให้ทำงานแทนนั้นแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคนจ้าง กับ ทนายความ ไม่มีกำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นมาตรฐานชัดเจน แน่นอนกำกับไว้ ดังนั้นการจ้างทนายความจึงเป็นดุลพินิจของผู้จ้างที่จะเลือกจ้างได้ตามความประสงค์และตามอัธยาศัย

การใช้หรือจ้างทนายความไปศาลเพื่อดำเนินการในภารกิจแทนตัวความจึงเป็นการสะดวก ลดภาระงานสำหรับผู้มีคดีความที่ศาล และการหาทนายความทุกวันนี้ ก็ง่ายมาก เพราะทนายความมีอยู่ทั่วทุกจังหวัด ทุกอำเภอหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าทนายความมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทุกตำบลทุกหมู่บ้าน นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีคดีความทั่วไป

กฎหมายหน้ารู้

บอกกล่าวก่อนฟ้องคดี

”  บอกกล่าวก่อนฟ้องคดี “

หนังสือบอกกล่าวก่อนฟ้อง คือ เอกสาร ที่เจ้าหนี้ หรือ ผู้ที่จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมาย ใช้นำส่งไปยังลูกหนี้ หรือ คู่กรณี

เอกสารนี้เรียกว่า “หนังสือบอกกล่าวทวงถาม”     โดยในเนื้อหาต้องมีการกล่าวถึง นิติสัมพันธ์ต่อกันว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร และ แจ้งเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ์หน้าที่ๆพึงมีต่อกัน และสุดท้ายผู้บอกกล่าว ต้องแจ้งไปว่า มีความประสงค์อย่างใด ต้องการอะไร ให้ชัดเจน

รายละเอียดที่ปรากฎในหนังสือควรแจ้งให้คู่กรณีทราบข้อเรียกร้อง และ คู่กรณีมีหน้าที่ จะต้องกระทำการ หรือ ละเว้นกระทำการอะไรบ้าง  และ แจ้งให้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควร   เช่น ให้คู่กรณี ชำระเงิน , โอนทรัพย์สิน หรือ ปฏิบัติตามสัญญา  เป็นต้น    หากคู่กรณีไม่ ปฏิบัติตาม หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ผู้บอกกล่าว ก็จะใช้สิทธิ์ ฟ้องร้องดำเนินคดี ทางกฎหมายต่อไป   โดยทางคู่กรณี จะต้องไปขึ้นศาล เสียเงิน เสียเวลา  เสียค่าทนายความ  และ มีค่าใช้จ่าย ต่างๆ นาๆ นำมาซึ่งความเดือดร้อน หลายประการ

การยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังคู่กรณี นั้้น ก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่อาจทำให้เกิดการเจรจาในเบื้องต้น  และ เปิดทางให้มีโอกาสในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  ซึ่งอาจจะจบลงได้ ก่อนนำคดี ไปสู่ ศาลคดีความ โดยส่วนใหญ่นั้น กฎหมาย ไม่ได้กำหนดว่า ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม     แต่มีคดีบางประเภท ที่กฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี    เช่น

-คดีการฟ้องบังคับจำนอง

-คดีการฟ้องผู้ค้ำประกัน

-คดีการใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญา ก่อนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นต้น

ในคดีต่าง ๆ เหล่านี้ หากไม่มีการ ยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก็จะนำคดีมาฟ้องร้อง ต่อศาล ไม่ได้

กรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ ที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม เช่น กรณีขับรถยนต์ชนผู้เสียหาย(คดีละเมิด) ตัวผู้เสียหายก็สามารถยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย ไม่ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ประโยชน์ของการยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

มีหลายประการ เช่น   ทำให้เกิดการเจรจาและสามารถจบเรื่องกันได้โดยไม่ต้องขึ้นสู่ศาลแสดงให้ศาลเห็นถึงเจตนาบริสุทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ในด้านการพยายามไกล่เกลี่ยหาทางออกและให้โอกาสคู่กรณีอย่างเต็มที่แล้วและสามารถใช้ หนังสือบอกกล่าวทวงถาม อ้างอิงเป็นหลักฐาน ในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้ ถ้ามีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์ ก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี

การยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถามมีข้อควร พิจารนาเพิ่มเติม ดังนี้

แม้ตามหลักกฎหมายจะไม่ได้บังคับไว้ แต่ถ้าพิจารนาจากรูปคดีแล้ว มีแนวโน้มว่าเจรจาตกลงกันได้ ก่อนขึ้นสู่ศาล ก็ควรยื่น หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง     อีกกรณีที่แม้กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่เพื่อป้องกัน ข้อโต้แย้ง จากคู่กรณีในภายหลัง โดยให้ คู่กรณีปฏิบัติตามหน้าที่ก่อน และให้โอกาสตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา อย่างเหมาะสม โดยแจ้งไปในหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม นั้นผู้ฟ้องคดี สามารถทำเองได้    แต่ในทางปฏิบัติ ทนายความจะทำได้ถูกต้อง มีเนื้อหาข้อความ รัดกุมดีกว่า และ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้คู่กรณี เกิดความยำเกรง มากกว่า

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าว  สามารถสอบถามปัญหาดังกล่าวกับเราได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 02-1217414 ,091-0473382 สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์   https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

กฎหมายหน้ารู้

ขอลดหย่อนผ่อนหนี้ชั้นบังคับคดี

#ขอลดหย่อนผ่อนหนี้ชั้นบังคับคดี

มาตรการการยึดทรัพย์บังคับคดีกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในชั้นบังคับคดี  ถือว่าเป็นขั้นตอนปลายทางแล้วที่เป็นทางออกสุดท้ายที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับเงินชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ทำการยึดหรืออายัดเพื่อนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินมาแล้ว

ดังนั้น หากลูกหนี้คนใดที่ถูกเจ้าหนี้ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวมีความประสงค์ที่จะผ่อนชำระหนี้ต่อไปนั้น  เป็นเรื่องที่ฝ่ายเจ้าหนี้จะต้องให้การยินยอมในเรื่องดังกล่าวนี้ก่อนเสมอ    ส่วนในทัศนะของทนายความเห็นว่า   การขอลดหย่อนผ่อนหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาทุกขั้นตอน  ไม่ว่าคดีความดังกล่าวอยู่ในชั้นพิจารณาใดก็ตาม  เพราะหากลูกหนี้กับเจ้าหนี้สามารถพูดคุยกันได้  เรื่องทุกๆอย่างที่มีข้อพิพาทต่อกันก็ถือเป็นอันยุติได้โดยทันที

แต่ปัญหาในลักษณะดังกล่าวนี้  ต้องขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายเจ้าหนี้ยอมรับเงื่อนไขกับที่ลูกหนี้ได้เสนอไปแล้วหรือไม่  ปกติในชั้นบังคับคดีเจ้าหนี้จะให้โอกาสลูกหนี้เพียงแค่การผลัดจ่ายหนี้ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆเพียงเท่านั้น  อาจจะขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนเหมือนในชั้นพิจารณาของศาล  ปกติเจ้าหนี้จะไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้   เพราะหากรับเงื่อนไขนี้ได้ก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องนำทรัพย์สินของลูกหนี้มายึดขายทอดตลาด

ปกติหากเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้แล้วในชั้นบังคับคดี   เมื่อเจ้าหนี้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้เป็นแบบคราวเดียว  ได้เงินชำระหนี้เป็นก้อนเดียว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าที่จะให้มีการผ่อนชำระเป็นคราวๆไป

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

การไกล่เกลี่ยในชั้นศาล

การไกล่เกลี่ยในชั้นศาล

คำจำกัดความ “การไกล่เกลี่ยในชั้นศาล”

เป็นวิธีระงับข้อพิพาทรูปแบบหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution – ADR) โดยมีบุคคลที่สามซึ่งเป็นกลางในการทำหน้าที่ช่วยเหลือเสนอแนวทางออกร่วมกันที่คู่พิพาทจะยอมรับและพึงพอใจ    หากทั้งสองฝ่ายเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอจะเข้าสู่การตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาล ซึ่งผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม ไม่ใช่กรณีที่ผู้ตัดสินชี้ขาดในข้อพิพาท

ประเภทของการไกล่เกลี่ยมี 2 ประเภท

1.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาล : เป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนมีการฟ้องร้องคดีต่อศาล ทำหลักฐานเป็นหนังสือเรียกว่า สัญญา ถ้าฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายฟ้องร้องคดีให้ปฏิบัติตามได้

2.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล : เป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ศาลจะให้ผู้ประนีประนอมดำเนินการ หากคู่ความตกลงกันก็จะมีการถอนฟ้อง หรือทำสัญญาประนีประนอมยอม ซึ่งศาลจะทำคำพิพากษาตามตกลงกัน หรือหากตกลงกันได้บางส่วนก็จะสืบพยานในประเด็นที่ตกลงกับไม่ได้เท่านั้น ถ้าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามที่ประนีประนอมยอมความกันไว้ อีกฝ่ายสามารถบังคับคดีได้ทันที ไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

ผู้ประนีประนอมอาจจะเป็น ผู้พิพากษา ข้าราชการศาล บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยให้คู่พิพาทได้ประนีประนอมกัน

           เจตนารมณ์ของกฎหมาย การเกิดนิติสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดโดยนิติกรรมหรือนิติเหตุย่อมทำให้เกิดข้อพิพาทกันได้เสมอ เมื่อมีข้อพิพาทก็ต้องมีวิธีการยุติข้อพิพาท ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้นั้น จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล แน่นอนว่าการใช้สิทธิทางศาลนั้นต้องมีการตัดสินให้เกิดผลแพ้และชนะ ซึ่งอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นเสียไป

กฎหมายเล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงมีวิธีการยุติข้อพิพาทอีกวิธี คือ การประนีประนอมยอมความ ซึ่งทำให้ข้อพิพาทเดิมระงับไปและผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยการประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายพึงพอใจยุติข้อพิพาทร่วมกัน ไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายแพ้ และไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ เป็นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันต่อไปได้ เป็นวิธีที่แก้ไขปัญหา ฟื้นฟูความสัมพันธ์ เยียวยาความเสียหาย

         ระเบียบและข้อบังคับในเรื่องการไกล่เกลี่ย

ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรี และพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒

ท่านใดสงสัยในเรื่องการไกล่เกลี่ยคดีความที่มีข้อพิพาทต่อกันทั้งทางแพ่งและอาญา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414  , 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

สินทรัพย์บังคับคดีตามคำพิพากษา

สินทรัพย์บังคับคดีตามคำพิพากษา

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในชั้นบังคับคดี ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

ปกติหากลูกหนี้ถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน  นับแต่ทราบผลคำพิพากษาของศาลแล้ว   หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการขอให้ศาลออกหมายยึดทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ได้   และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาบังคับชำระหนี้ได้

ในกรณีที่ล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  เจ้าหนี้ท่านใดที่ยังไม่ได้รับเงินชำระหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้แล้ว  ท่านสามารถเริ่มต้นจากการสืบหาทรัพย์สินที่สามารถยึด  หรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ได้โดยทันที   แต่หากบางท่านไม่สะดวกหรือไม่มีความพร้อมหรือไม่ชำนาญในการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ท่านก็สามารถทำการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายที่ท่านรู้จักเพื่อทำการสืบหาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของลูกหนี้เพื่อนำมายึดทรัพย์  หรือนำมาอายัดบังคับชำระหนี้ให้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้จนเป็นที่เรียบร้อยได้

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

ทวงถามลูกหนี้

ทวงถามลูกหนี้

เมื่อพูดถึงลูกหนี้กับเจ้าหนี้แล้วนั้น 2 อย่างเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย   แม้นว่าสองฝ่ายได้มีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการเป็นหนี้ตามสัญญาที่แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง  เช่น  สัญญากู้ยืม  สัญญาว่าจ้าง  สัญญาเช่าซื้อ  หรือ หนังสือรับสภาพหนี้ต่างๆที่เกิดขึ้น

ท่านอาจสงสัยว่าหากลูกหนี้ผิดนัดแล้ว  ฝ่ายลูกหนี้ยังมีสิทธิ์ในการพูดคุยขอลดหย่อนผ่อนหนี้กับลูกหนี้ได้อีกหรือไม่นั้น   ในทัศนะของทนายความเห็นว่า  ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้  หากฝ่ายใดต้องการที่จะพูดคุยหรือไกล่เกลี่ยเพื่อชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นกับอีกฝ่ายนั้น   ฝ่ายลูกหนี้ก็สามารถติดต่อเข้าพบหรือหารือเพื่อเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไขที่เคยมีต่อกันมาก่อน  เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และกำหนดยอดชำระกันใหม่  โดยกำหนดข้อตกลงเงื่อนไขในการชำระหรือจ่ายเงินกันใหม่ได้ครับ  แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ต้องให้ความยินยอมด้วยนะครัย   แต่หากเจ้าหนี้ไม่ให้การยินยอมก็ต้องว่ากล่าวไปตามข้อตกลงเงื่อนไขที่อยู่ในสัญญาเดิมทั้งสิ้น

ท่านใดมีข้อสงสัยหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว  ท่านสามารถปรึกษากับทนายความได้ตลอดครับ 02-0473382 ,02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

คดีอาญา

คดีอาญา

โทษในคดีอาญา  ได้แก่ โทษปรับ  การยึดทรัพย์สิน  กักขัง  จำคุก  รวมทั้งโทษประหารชีวิต

ตัวอย่างในคดีอาญา

คดีลักทรัพย์   คดีบุกรุก  คดียักยอกทรัพย์   หมิ่นประมาท  รับของโจร  ทำร้ายร่างกาย  ประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต   หรือคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

การฟ้องคดีอาญาทำได้ 2 วิธีด้วยกัน

1.แจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนที่อยู่ในเขตพื้นที่ๆเกิดเหตุให้ดำเนินคดีเอาผิดกับคู่กรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหาย   สำหรับวิธีการนี้เมื่อตำรวจรับเรื่องแจ้งความจากผู้เสียหายแล้ว  ตำรวจมีหน้าที่ทำการสอบสวนผู้เสียหายก่อน   และหากพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอก็ให้มีหมายเรียกคู่กรณีเพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาและทำการสอบสวนคู่กรณีก่อน  เสร็จแล้วพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนส่งเรื่องให้อัยการเพื่อสั่งฟ้องคดีไปที่ศาล เพื่อให้พิจารณาและลงโทษเอาผิดกับคู่กรณีในเรื่องนั้นได้

2.การว่าจ้างทนายความฟ้องคดี   แนวทางนี้เป็นแนวทางที่กรณีหากผู้เสียหายมีความประสงค์ที่จะให้ทนายความ     ดำเนินการยื่นฟ้องคดีไปที่ศาลโดยตรง   เป็นวิธีการที่ทำให้คดีเกิดความรวดเร็วในการที่เอาผิดกับคู่กรณีได้  โดยขั้นตอนนี้ไม่ต้องผ่านกระบวนการแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ  ไม่ต้องผ่านสำนักงานอัยการเพื่อพิจารณาเรื่องราวที่เกิดขึ้น   แต่ฝ่ายผู้เสียหายสามารถนำเรื่องยื่นฟ้องตรงไปที่ศาลได้ทันทีโดยผ่านการดำเนินการของทนายความ  ซึ่งแนวทางนี้ก่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว  และส่งผลให้สามารถเอาผิดกับฝ่ายคู่กรณีตามกฎหมายได้โดยทันที  รวมทั้งอาจจะส่งผลให้ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เงินค่าเสียหายได้จากคู่กรณีฝ่ายที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้น

 

รับงานว่าความคดีแพ่ง คดีอาญา

สอบถามงานกฎหมาย  091-0473382

กฎหมายหน้ารู้