รู้เรื่องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

รู้เรื่องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

คดีที่ต้องบังคับตาม.พ.ร.บ.วิ ทุจริตฯ

           ศาลอาญาคดีทุจริตกลางจัดตั้งขึ้นโดยการยกฐานะแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งฯ มาตรา 5 โดยศาลอาญาคดีทุจริตกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาที่ค้างพิจารณาอยู่ต่อไป ประกอบกับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งฯมาตรา 19 และพ.ร.บ.วิ. มาตรา 52 บัญญัติถึงบรรดาคดีทุจริตฯ ที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พ.ร.บ.จัดตั้งฯ ใช้บังคับว่าให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระดังกล่าวใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดดังนั้นการพิจารณาพิพากษาคดีทุจริตฯ ซึ่งโอนมาจากแผนกทุจริตฯ จึงต้องใช้กฎหมายข้อบังคับและระเบียบที่ใช้อยู่ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้แยกเป็นกรณีต่างๆดังนี้
          1. คดีที่ยื่นฟ้องก่อนวันที่ 19 เมษายน 2554 ใช้ระบบกล่าวหาตาม ป.วิ.อ.
          2. คดีคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติว่ามีความผิดทางอาญาและอัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้องตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2554  ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2556 ใช้ระบบไต่สวนตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเท่าที่กระทำได้ส่วนคดีที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2556 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 ใช้ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาฯ ข้อ 23
          3. คดีทุจริตฯ ที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ใช้ระบบไต่สวนตาม พ.ร.บ.วิ ทุจริตฯและข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

รู้ไว้คดีฉ้อโกง

รู้ไว้คดีฉ้อโกง

        ในสังคมปัจจุบันที่มีความซับซ้อนและมีผู้คนมากมายหลายอาชีพในสังคม การหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินย่อมอาจเกิดขึ้นได้และทุกคนอาจมีสิทธิอาจเป็นได้ทั้งผู้ล่าและเหยื่อก็ได้ สำหรับวันนี้ทนายขอกล่าวถึงความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งคดีเกิดขึ้นสู่ศาลมากมาย ฉะนั้นการกระทำแบบใดที่ถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้
         1. ต้องมีการกระทำไม่ว่าด้วยคำพูดกลอุบายไม่ว่าจะทำเพียงคนเดียวหรือเป็นแก็งค์ อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้ทราบหรืออาจจะเป็นการแสดงออกโดยการนิ่งก็ได้เพราะบางกรณีถือว่ามีหน้าที่ต้องบอกให้ทราบหรือไม่ว่าจะกระทำผ่านโทรศัพท์หรือโซเชียลเน็ตเวิร์คหรือวิธีอื่นใดก็ตาม
        2. จากการหลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
        3. เป็นการกระทำด้วยเจตนาทุจริต คือเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
        ที่กล่าวมานี้ การจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้นั้นต้องได้ความชัดแจ้ง เพราะการพิจารณาใดๆว่าเป็นความผิดในคดีอาญาจึงต้องมีการพิจารณาอย่างเคร่งครัดครับ
ท่านใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดี สามารถโทรมาปรึกษาได้ครับที่ ☎☎02-1217414 ,091-0473382
หรือกดลิงค์ : https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com

กฎหมายหน้ารู้

เลิกเล่นแชร์-นายวงแชร์ต้องคืนเงิน

เลิกเล่นแชร์-นายวงแชร์ต้องคืนเงิน

ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้

เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

เล่นแชร์แบบนี้เข้าข่ายฉ้อโกง

เล่นแชร์แบบนี้เข้าข่ายฉ้อโกง

การเล่นแชร์ออนไลน์แบบแชร์ทั่วไปแต่อาศัยสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 และประมวลกฎหมายอาญาฐานฉ้อโกง โดยมีการตั้งกลุ่มเชิญเพื่อนจากเฟสบุ๊คมาตั้งกลุ่มในไลน์ ซึ่งมีสมาชิกจำนวนมากจึงตั้งเป็นหลายวง มีกำหนดส่งเงินเป็นงวด งวดเท่ากันตามจำนวนมือที่เล่นและมีการเก็บค่าดูแลวงแชร์ เมื่อสมาชิกส่งเงินงวดให้ตามกำหนดพร้อมทั้งประมูลหรือเปียแชร์ โดยเสนอดอกเบี้ยที่สูงที่จะจ่ายในงวดต่อไป ผู้ได้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินกองกลางไป แต่ท้าวแชร์ไม่ส่งเงินให้กับสมาชิกที่ประมูลได้ตามจำนวนของวงเงินที่กำหนดไว้ที่จะจ่ายในงวดต่อๆไป หรือท้าวแชร์หลอกลวงโดยไม่มีการประมูลจริง ท้าวแชร์แค่อ้างว่ามีการประมูลผลตอบแทนขึ้นเพื่อท้าวแชร์จะได้เงินจากสมาชิก ส่งผลให้สมาชิกที่ร่วมเล่นแชร์ดังกล่าวนั้นเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวนมาก หากบุคคลมีพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

รู้เรื่องการไกล่เกลี่ยคดีความ

รู้เรื่องการไกล่เกลี่ยคดีความ

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีความที่เกิดขึ้น ถือเป็นทางออกของความขัดแย้งที่ดี สำหรับคดีความต่างๆ ตัวแทนไกล่เกลี่ยจึงต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์เป็นอย่างดีสำหรับการใช้โอกาสนี้เป็นเวทีสำหรับการแก้ปัญหาให้กับตัวความ ไม่เสียเปรียบได้ประโยชน์ตรงความต้องการของคู่ขัดแย้งได้

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

เหตุสั่งถอนผู้จัดการมรดก

👩‍⚖️📜 กฎหมายระบุเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ต่อเมื่อผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอื่นที่สมควร การที่ทายาทร้องขอให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกเพราะว่ารายการทรัพย์สินของเจ้ามรดกตามคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นของทายาท(ผู้คัดค้าน) ไม่ได้เป็นของเจ้ามรดก ซึ่งเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุตามกฎหมายที่จะอ้างเพื่อขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ ส่วนทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่ หรือเป็นของผู้ใดก็ต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหากในคดีอื่น

กฎหมายหน้ารู้

อายุความฟ้องศาลคดีทรัพย์มรดก

อายุความฟ้องศาลคดีทรัพย์มรดก

กรณีที่เจ้ามรดกตายนั้นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาททันที แต่อย่างไรก็ตาม กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในกองมรดกยังไม่ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทโดยเด็ดขาดจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทกันเสร็จสิ้น เพราะถ้าตราบใดที่ยังมีความเป็นมรดกอยู่ทายาทก็อาจเสียสิทธิได้ ถ้าเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกขึ้น เงื่อนไขที่สำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกนั้น คือ”อายุความฟ้องคดีมรดก” เพราะหากมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกภายในกำหนดอายุความแล้ว ก็ย่อมเสียสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกเนื่องจากขาดอายุความฟ้องคดี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

ผู้จัดการมรดก?

ผู้จัดการมรดก?

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย รวมทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร หุ้น กองทุน ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินที่มีผู้อื่นยืมไป หนี้ ภาระติดพันต่างๆ ทั้งการจำนองหรือค้ำประกัน เป็นต้น

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรจะต้องรู้ไว้คือ หลังจากที่ผู้ตาย หรือที่กฎหมายเรียกว่า “เจ้ามรดก” ได้ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ถึงแม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมก็ตาม แต่ก็อาจมีปัญหาในการแบ่งมรดก ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ กฎหมายจึงให้ตั้งผู้ที่จะมาจัดการมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเรียกว่า “ผู้จัดการมรดก” และถึงแม้เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมโดยจะตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไว้หรือไม่นั้น ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีความจำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกเช่นกัน

 

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต https://www.highlandstheatre.com/

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา https://www.funpizza.net/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

 

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

องค์ประกอบเดียว ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่าเป็นผู้ออกเช็คตาม ข้อที่ 1 ย่อมมีความผิดแม้จะมีเหตุเหล่านี้มาประกอบก็ตาม

  1. ผู้ออกเช็คจะไม่มีหนี้สินกับผู้ทรงโดยตรง

ฎีกาที่  1273 2/2557 3 เมื่อจำเลยที่  2  เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เงินในเช็คพิพาททั้งสองฉบับชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมทั้งยังให้ตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่  2  ว่าเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามจำเลยที่ 1 แก่ธนาคาร   ดังนี้แม้จำเลยที่  2 จะไม่ได้เป็นผู้สั่ง ซื้อสินค้าหรือมีหนี้สินใดกับโจทก์ร่วมโดยตรง    เมื่อจำเลยที่ 2 ลงมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้ง  2  ฉบับ   จำเลยที่  2  ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในฐานะผู้สั่งจ่าย

2.  บัญชีเงินฝากปิด

ฎีกาที่  1017/2567  บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ใน มาตรา  487  และ  488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ โทรออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

ฎีกาที่  249/2527  จำเลยรับกระบือจากโจทก์  29  และออกเช็คให้โจทก์  2  ฉบับคณะออกเช็คบัญชีของจำเลยผิดแล้วดังนั้นเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่ากระบือที่โจทก์ขายขาดให้จำเลยไม่เป็นการออกเช็คเพื่อประกันการชำระราคากระบือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้