บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

ปกติหากลูกหนี้ถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน  นับแต่ทราบผลคำพิพากษาของศาลแล้ว   หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการขอให้ศาลออกหมายยึดทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ได้   และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาบังคับชำระหนี้ได้

ในกรณีที่ล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  เจ้าหนี้ท่านใดที่ยังไม่ได้รับเงินชำระหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้แล้ว  ท่านสามารถเริ่มต้นจากการสืบหาทรัพย์สินที่สามารถยึด  หรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ได้โดยทันที   แต่หากบางท่านไม่สะดวกหรือไม่มีความพร้อมหรือไม่ชำนาญในการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ท่านก็สามารถทำการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายที่ท่านรู้จักเพื่อทำการสืบหาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของลูกหนี้เพื่อนำมายึดทรัพย์  หรือนำมาอายัดบังคับชำระหนี้ให้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้จนเป็นที่เรียบร้อยได้

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

ข้อยกเว้นความรับผิดในข้อหา ” หมิ่นประมาท “

ตามที่ทราบกันมาว่า  หากผู้ใดพูดใส่ความผู้อื่นเพื่อให้เกิดความเสียหายโดยมีเจตนาที่จะทำให้บุคคลอื่นเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง  บุคคลนั้นถือว่าได้กระทำความผิดในข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทแล้ว   ซึ่งในเรื่องดังกล่าวมีข้อยกเว้นตามในของข้อกฎหมายว่า  ผู้ใดที่ได้กระทำดังกล่าวไม่ผิดตามข้อกล่าวหาได้   จะต้องเข้าหลักเกณฑ์  ” ข้อยกเว้น ” ดังต่อไปนี้ https://www.highlandstheatre.com/

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(1)  เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียที่เกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม  ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ

(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุมผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท https://www.funpizza.net/

ดังนั้น ด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น บางครั้งคนที่ได้กล่าวข้อความดังกล่าวในเรื่องของการหมิ่นประมาท  ก็มิได้เป็นความผิดตามกฎหมายเสมอไป  ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวต้องคำนึงถึงข้อยกเว้นของกฎหมายในเรื่องนี้ด้วย   ซึ่งหากการพูดคุยดังกล่าวเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่  หรือเป็นการกระทำการเพื่อเป็นการป้องกันตนเองตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นโดยสุจริตแล้ว   ถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามกฎหมายในเรื่องนี้อย่างแน่นอน

กฎหมายหน้ารู้

การหมิ่นประมาท

เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทนั้นเป็นการมุ่งคุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดจังแม้การใส่ความบางอย่างเป็นความจริงหรืออาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จริงก็อาจจะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ได้   หากผู้พูดหรือผู้แสดงข้อความดังกล่าวมีเจตนาที่จะทำให้คู่ความอีกฝ่ายเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและมีเจตนาที่จะทำให้คนอื่นถูกดูหมิ่นดูแคลนหรือเกลียดชังจากข้อความที่ตนเองกล่าวถึงนั้น

ข้อกฎหมายในเรื่องนี้

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง  ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี  หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร  ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ  แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง  บันทึกภาพ หรือบันทึกตัวอักษร  กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น  ผู้กระทำต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ถึงอย่างไรก็ดีหากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องการหมิ่นประมาทนั้น   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องของการหมิ่นประมาทเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อชื่อเสียง  เกียรติยศและศักดิ์ศรีของผู้ที่ถูกกล่าวหา  รวมถึงอาจจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นในการทำมาค้าขายของคู่ความที่เกี่ยวข้องได้   ซึ่งผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าวนี้สมควรได้รับคำแนะนำจากทนายความในเรื่องนี้ก่อน ซึ่งเป็นช่องทางที่จะทำให้ท่านสามารถทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดการคลี่คลายได้อย่างดี

กฎหมายหน้ารู้

ความแตกต่างระหว่างการฝากเงินกับการฝากทรัพย์อย่างอื่น

ความแตกต่างระหว่างการฝากเงินและฝากทรัพย์อย่างอื่นมีดังต่อไปนี้

1. การฝากเงิน  ผู้รับฝากมีหน้าที่คืนจำนวนเงินที่ฝากให้แก่ผู้ฝาก  ไม่ใช่เงินเดิมที่ฝาก  แต่หากเป็นการฝากทรัพย์อย่างอื่น  ผู้รับฝากมีหน้าที่คืนทรัพย์สินที่ฝากให้แก่ผู้ฝากไม่ใช่ทรัพย์สินอื่นๆ

2. การฝากเงิน ผู้รับฝากเงินเป็นเจ้าของเงินที่ผู้ฝากเอามาฝาก  เพราะในเรื่องฝากเงินนั้นกรรมสิทธิ์ในเงินที่ฝากโอนมาเป็นของผู้รับฝาก  จึงมีสิทธิ์นำเงินซึ่งตนและฝากไว้นั้นไปใช้ได้    ส่วนการฝากทรัพย์อย่างอื่น  ผู้รับฝากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ฝาก  จึงไม่มีอำนาจนำทรัพย์สินซึ่งตนรับฝากไว้นั้นไปใช้สอยเพื่อประโยชน์ส่วนตัวได้

3. ผู้รับฝากเงิน ต้องรับผิดชอบชดใช้ถ้าเงินนั้นสูญหายไป  แม้โดยเหตุสุดวิสัยก็ตาม   ส่วนการฝากทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น  ผู้รับฝากไม่ต้องรับผิดชอบถ้าตัวทรัพย์สินซึ่งฝากไว้นั้นสูญหายหรือบุบสลายไปโดยเหตุสุดวิสัยและไม่ใช่ความผิดของผู้รับฝาก

4. การฝากเงิน  มีกำหนดเวลาส่งคืน  ผู้ฝากจะเรียกให้ส่งเงินคืนก่อนกำหนดเวลาไม่ได้  และผู้รับฝากเงินก็ต้องส่งคืนก่อนกำหนดก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน   ส่วนการฝากทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น  การฝากทรัพย์สินเงินที่มีกำหนดเวลาส่งคืน  ผู้ฝากจะเรียกคืนทรัพย์สินของเขาคืนก่อนกำหนดได้  หรือผู้รับฝากก็มีสิทธิ์ส่งทรัพย์สินซึ่งรับรองไว้คืนก่อนกำหนดได้  ถ้ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจเข้าร่วมได้

กฎหมายหน้ารู้

เงินหายจากบัญชี การรับฝากเงินธนาคาร

ธนาคารถือเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงิน  มีหน้าที่ในการรับฝากเงิน  ดูแลเงินของลูกค้า  รวมทั้งมีหน้าที่บริหารจัดการเงินและนำไปลงทุนหรือบริหารเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากเงินฝากของลูกค้า    หากกรณีเงินของลูกค้าหายออกไปจากบัญชี   ธนาคารถือเป็นผู้เสียหาย  และธนาคารต้องรับผิดชอบในการคืนเงินตามสัญญาฝากเงินให้แก่ลูกค้าตามที่เงินของลูกค้าได้หายออกไปจากบัญชี    ดังนั้นสำหรับหน้าที่และบทบาทของธนาคารเกี่ยวกับเรื่องนี้ ธนาคารถือเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินที่ต้องหาวิธีการในการป้องกันเพื่อมีให้ทรัพย์สินของลูกค้าหรือตัวเงินที่นำฝากไว้ไม่ให้เกิดการสูญหาย  รวมทั้งมีหน้าที่ในการป้องกันการโจรกรรมต่างๆที่มี  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาทรัพย์ที่เป็นตัวเงินให้แก่ลูกค้าให้จงได้

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้

มาตรา 657  ได้บัญญัติไว้เอาไว้ว่า  อันว่าฝากทรัพย์นั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า  ผู้ฝาก  ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้รับฝาก  และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้

มาตรา 659 วรรคท้าย  ถ้าผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขาย  หรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด  ก็จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังหรือใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

ฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2711/2529  ผู้รับฝาก  มีหน้าที่จะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากแก่ผู้ฝาก  ผู้รับฝากจะนำทรัพย์ออกใช้สอยหรือมอบให้ผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ฝากหาได้ไม่

ดังนั้น หากบุคคลท่านใดที่เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเงินสูญหายในบัญชีในเรื่องดังกล่าวนี้  ธนาคารจึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามหน้าที่ที่มีต่อลูกค้าของตน   และหากเกิดความเสียหายกับธนาคารในเรื่องดังกล่าว    ธนาคารก็สามารถใช้สิทธิ์ในการดำเนินคดีกับผู้ที่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายในเรื่องนี้ได้ต่อไปได้เช่นเดียวกัน

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับฝากเงิน

ฝ่ายที่รับฝากเงิน  ตามกฎหมายให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่า  ผู้รับฝากเงินไม่จำเป็นต้องส่งคืนเป็นเงินทองกลับมาอันเดียวกันกับที่ฝากไว้  แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนตามที่ฝากไว้ก็ได้

กรณีหากผู้รับฝากเงินจะเอาเงินซึ่งทำที่ตนเองรับฟังไว้ออกไปใช้ก็ได้   แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นก็ได้   แม้ว่าเงินที่ฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม  ผู้รับฝากก็ต้องคืนเงินเป็นจำนวนเงินดังกล่าวนั้นได้ (มาตรา 672 )

กฎหมายหน้ารู้

มิจฉาชีพ ( บนโลกออนไลน์ )

มิจฉาชีพ ( บนโลกออนไลน์ )
* หลอกลวงว่าให้กู้เงิน ( ให้โอนค่าทำสัญญา )
* เงินนอกระบบทางออนไลน์
* รับสมัครงานผ่านออนไลน์
* ลงทุนพนันออนไลน์
* ลงทุนระยะสั้นระยะยาวผ่านออนไลน์
* แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ( อ้างส่งพัสดุผิดกฎหมาย )

เดี๋ยวนี้มีมิจฉาชีพแขวงตัวในการทำธุรกิจเหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมากครับ แนะนำให้ท่านใช้ความระมัดระวังและพินิจพิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
#ข้อแนะนำทนายความก่อนตัดสินใจ
แนะนำให้ท่านรับฟัง และพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน หากเห็นว่าเรื่องราวดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล น่าจะไม่ถูกต้อง น่าจะขัดกับความถูกต้อง เมื่อไหร่ที่ท่านมีความรู้สึกในลักษณะแบบนี้ ทนายแนะนำให้ท่านอย่าตัดสินใจโอนเงินอย่างเด็ดขาด เพราะมิฉะนั้นท่านอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ครับ / อย่าลืมฝากเตือนเพื่อนๆญาติพี่น้องของเราด้วยนะครับ
หรือหากมีข้อสงสัยประการใดเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาที่สายด่วนทนายความ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
#โทรศัพท์ 091-0473382 , 02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดอาญายอมความกันได้

ความผิดอาญายอมความกันได้👩‍⚖️👨‍⚖️👨‍⚖️https://www.highlandstheatre.com/

👩‍🏫 ความผิดอันยอมความได้ หรือความผิดต่อส่วนตัว หมายถึงคดีอาญาประเภทซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเอกชนคนหนึ่งคนใดเป็นส่วนตัว มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือสังคมเป็นและความผิดใดจะเป็นความผิด อาญาอันยอมความได้นั้น กฎหมายจะต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานยักยอก ฉ้อโกง หมิ่นประมาท ทำให้เสียทรัพย์ อนาจาร ข่มขืนกระทำชำเรา ออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน เป็นต้น mahjong slot

👨‍🏫 ความผิดอาญาอันยอมความได้นี้เจ้าพนักงานของรัฐจะดำเนินคดีได้ก็ต่อเมื่อผู้ เสียหายร้องทุกข์ (แจ้งความ) ต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมายเสียก่อน และต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด สำหรับคดีความผิดอันยอมความได้นี้ หากผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาต่อไป ก็สามารถถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความได้ ซึ่งก็จะเป็นผลให้คดีดังกล่าวระงับไป https://www.sushitokyo.net/

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/  https://www.funpizza.net/

กฎหมายหน้ารู้

การประกันตัวในชั้นศาล

การประกันตัวในชั้นศาล

การขอประกันตัวในชั้นศาลมี 2 ช่วง

👈ช่วงแรก เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว

👈ช่วงที่สอง คือ ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์ ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลยซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล ดังนี้ หากผู้ประกันประสงค์จะขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณา แล้วแต่กรณีต่อศาล

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414 ,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

เข้าพบทนายเมื่อมีหมายเรียก

เข้าพบทนายเมื่อมีหมายเรียก

  ในเรื่องนี้ทนายมีความเห็นท่านควรเข้าพบพนักงานสอบสวนในทันทีเมื่อมีหมายเรียก แต่การเข้าพบทุกครั้ง ท่านควรต้องปรึกษาทนายความก่อนว่าจะมีช่องทางการต่อสู้อย่างไร และจะให้การอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีมากที่สุด
        ดังนั้นเมื่อได้รับหมายเรียกของพนักงานสอบสวนก็ไม่ต้องตกใจหรือร้อนใจแต่ควรคิดตรึกตรองว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ และควรให้ทนายความเข้าช่วยเหลือตั้งแต่ชั้นสอบสวนจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบกันในเชิงคดีและแก้ไขได้ยากลำบากในภายหลัง

#สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1217414,091-0473382
https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้