ค่าจ้างทำคดี

ค่าจ้างทำคดี

ก่อนที่จะกล่าวถึงค่าจ้างในการทำคดีของทนายความสิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับแรกคือทนายความมีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรบ้างดังต่อไปนี้
          1.ทนายความคือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความแก้ต่างคู่ความในคดีโดยเป็นทนายความเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการยุติธรรมโดยส่วนใหญ่มักเป็นทนายความอิสระซึ่งหากมีประชาชนหรือหน่วยงานหรือองค์กรหรือบริษัทใดๆไม่ได้รับความยุติธรรม ทนายความจึงมีหน้าที่ว่าความแก้ต่างในคดีนั้นตามกฎหมาย
          2.ทนายความมีหน้าที่คล้ายคลึงกับพนักงานอัยการ ความแตกต่างคือ พนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งจากรัฐ ส่วนทนายความเป็นอาชีพอิสระที่ได้รับค่าจ้างว่าความจากลูกความไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมหรือนิติบุคคล
          3.ทนายความมีหน้าที่ให้คำแนะนำกับลูกความถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโดยทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ค้นหาข้อมูลและออกนอกพื้นที่เพื่อตรวจสอบและเก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับคดีซึ่งบางครั้งการทำงานก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับพนักงานสอบสวนเช่นกัน
          4.ทนายความมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์และทวงสิทธิตามกฎหมายให้แก่ลูกความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาอีกทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินการต่างๆแทนตัวความให้ได้รับประโยชน์สูงสุดรวมถึงความพึงพอใจของลูกความ

            ดังนั้นจากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การทำงานของทนายความมีความหลากหลายและต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์รวมตลอดถึงไหวพริบปฎิภาณในการแก้ปัญหาให้กับลูกความซึ่งงานทนายความจึงเป็นงานที่มีเกียรติและมีความจำเป็นที่จะต้องเรียกค่าวิชาชีพในราคาที่จะทำให้ทนายความสามารถอยู่ได้เพราะงานทั้งหมดทั้งมวลทนายความมีต้นทุนที่จะต้องใช้ในการช่วยเหลือลูกความและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้น   

           เมื่อพิจารณาขั้นตอนการทำงานและบทบาทหน้าที่ของทนายความแล้ว ค่าวิชาชีพทนายความจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ทนายความสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมตัวขึ้นศาล

การเตรียมตัวขึ้นศาล

     สำหรับผู้ที่มีคดีความเกี่ยวข้องกับการขึ้นโรงขึ้นศาลการเตรียมตัวขึ้นศาลถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าต้องจัดเตรียมอะไรบ้างนอกเหนือจากการแต่งตัวให้ดูสุภาพและปฎิบัติตัวอย่างไรเมื่ออยู่ในศาล

          สำหรับท่านที่อยู่ในสถานะโจทก์และต้องเบิกความต่อสู้คดีในศาลก่อนถึงกำหนดนัดขึ้นศาลควรติดต่อไปยังทนายความของท่านเพื่อประชุมหารือเรื่องที่ต้องเบิกความซึ่งทนายความจะจัดทำบันทึกถ้อยคำของพยานซึ่งเป็นโจทก์และซักซ้อมการเบิกความในกรณีที่ทนายความฝ่ายจำเลยจะซักค้านโดยทนายความของท่านจะชี้ให้ท่านเห็นถึงประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดกันเอาไว้แล้วในชั้นชี้สองสถานและประเด็นปลีกย่อยที่จำเป็นละเลยไม่ได้เมื่อได้ปฎิบัติตามแนวทางของทนายแล้ว ท่านจะรู้สึกมั่นใจและไม่ทำให้ท่านกังวลใจจึงถือว่าการเตรียมตัวก่อนขึ้นศาลจึงถือเป็นสิ่งที่ดีที่จะนำพาท่านไปสู่การชนะคดี ที่สำคัญคือต้องรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการสืบพยานก่อนซึ่งในคดีแพ่งนั้นพยานเอกสารมีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเบิกความของพยานบุคคล เช่นการฟ้องเรื่องผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย พยานเอกสารควรจะต้องใช้ต้นฉบับหากต้นฉบับสูญหายควรจะต้องมีสำเนาและต้องไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่ท่านจัดเก็บเอกสารไว้และเมื่อมีบักทึกประจำวันแล้ว ศาลจะอนุญาตให้รับฟังสำเนาพยานเอกสารนั้นได้

          สำหรับท่านที่มีคดีความอยู่ในฐานะพยานไม่ว่าท่านจะเป็นพยานนำหรือพยานหมายท่านต้องรู้ล่วงหน้าว่าท่านเป็นพยานของฝ่ายใดและเกี่ยวข้องกับคดีที่มีการฟ้องร้องกันอย่างไรและทนายความจะถามท่านในประเด็นใดซึ่งข้อเท็จจริงต่างๆบางครั้งอาจหลงลืมไปแล้วแต่เมื่อท่านจำเป็นต้องไปให้การจึงควรเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งเรื่องการลางานและเรื่องการเดินทางไปศาลรวมตลอดถึงการทบทวนความจำเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆในคดีโดยซักซ้อมกับทนายความให้เกิดความเข้าใจและเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการเป็นพยานในคดีนั้นๆ

          สำหรับท่านที่มีคดีความและตกอยู่ในฐานะจำเลย ก่อนอื่นต้องมีการประชุมซักซ้อมการเบิกความกับทนายความและรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการสืบพยานก่อนหรืออีกแนวทางหนึ่งในคดีแพ่งคือการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนกำหนดนัดสืบพยานมีความจำเป็นที่ท่านต้องมีทนายความผู้มีประสบการณ์มาคอยช่วยเหลือเพราะคดีแพ่งมักจะมีข้อพิพาทในเรื่องของทรัพย์สินเงินทองเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติในคดีจึงจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันว่าทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยซึ่งต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันทำให้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดแพ้หรือชนะคดี ทั้งนี้เพื่อก่อสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาเป็นมิตรต่อกันได้ดีกว่าการต่อสู้เพื่อเอาการแพ้ชนะคดีจนถึงที่สุด

กฎหมายหน้ารู้

อายุความในการฟ้องคดี

อายุความในการฟ้องคดี

               ระยะเวลาในการฟ้องคดีหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีในชั้นศาลซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้อายุความตามกฎหมายแต่ละเรื่อง  ในคดีแพ่งกฎหมายกำหนดอายุความในการฟ้องคดีเอาไว้แตกต่างกันเช่น ผิดสัญญาเช่าซื้ออายุความเรียกค่าเสียหายในการครอบครองและใช้รถในระหว่างผิดสัญญามีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาตามระยะเวลาที่สัญญากำหนดไว้ให้ชำระค่างวด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 164 หรืออายุความในสัญญาจ้างทำของกรณีที่ผู้รับจ้างฟ้องผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างมีอายุความ 2 ปีเป็นต้น แต่ในคดีแพ่งไม่ว่ากฎหมายจะกำหนดระยะเวลามากน้อยต่างกันเพียงใด เรื่องนี้ไม่ถือเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงสามารถฟ้องคดีได้แม้คดีขาดอายุความแล้ว หากไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นกล่าวอ้าง ศาลพิจารณาพย่านหลักฐานแล้วจึงพิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามฟ้องไปโดยปริยาย

              ในคดีอาญานั้น ในเรื่องอายุความถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน จึงไม่อาจมีใครที่จะสามารถนำคดีที่ขาดอายุความแล้วมาฟ้องเพื่อเอาผิดบุคคลอื่นได้ ซึ่งอายุความในคดีอาญามีทั้งคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวและความผิดอาญาแผ่นดิน ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานฉ้อโกงหรือความผิดฐานยักยอกรวมถึงความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดที่กฎหมายอนุญาตให้ยอมความได้แต่มีอายุความสั้นเพียง 3 เดือนดังนั้นผู้เสียหายจะต้องเร่งฟ้องคดีให้ทันภายใน 3 เดือนนับแต่วันมีการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดโดยอาจใช้วิธีแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือหากไม่อาจรอชั้นตอนของการสอบสวนที่เนิ่นช้าได้ก็อาจต้องใช้บริการทนายความเพื่อฟ้องคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนภายในอายุความต่อไป

             ส่วนความผิดอาญาแผ่นดินเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วมีผู้กล่าวโทษหรือมีผู้ร้องทุกข์กรณีนี้ การเข้าพบพนักงานสอบสวนควรจะต้องมีทนายความในการช่วยเหลือในการดำเนินการในชั้นสอบปากคำรวมถึงขั้นตอนอื่นๆในการสอบสวนและการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลเมื่อพิจารณาขั้นตอนข้างต้นแล้วจึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาและมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ให้คำปรึกษาและดำเนินการฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิต่อไป

กฎหมายหน้ารู้

ยึดทรัพย์ลูกหนี้

ยึดทรัพย์ลูกหนี้

การยึด ป.วิ.พ. 296 (3)

คำจำกัดความ “การยึด” หมายถึง ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ครบกำหนดระยะเวลาคำบังคับจำเลย(ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ไม่ยอมปฏิบัติตาม (ไม่ยอมชำระหนี้) โจทก์ขอให้บังคับคดี และศาลออกหมายบังคับคดี   หากปรากฎว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษา มีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ดำเนินการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกมาขายทอดตลาด 

การยึดทรัพย์สิน  หมายความว่า  การนำทรัพย์สินมาเก็บรักษาไว้หรือฝากไว้ ณ สถานที่ใดหรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร หรือมอบให้จำเลยเป็นผู้รักษานั้นโดยได้รับความยินยอมของโจทก์

-ทรัพย์ที่ยึด ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่อย่างไรก็ดี เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถดำเนินการยึดเองได้ โดยที่โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่ได้นำยึดก็ได้ ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา 5493/2563 

ทรัพย์ที่สามารถยึดได้ อาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ แม้กระทั้งสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิในเครื่องหมายทางการค้า ลิขสิทธิ์  เป็นต้น และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนนาจยึดทรัพย์สินของคู่สมรส ทรัพย์สินของบุคคลอื่นเอามาบังคับชำระหนี้ได้ (ป.วิ.อ.มาตรา 297) เว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติว่าทรัพย์นั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี 

 

ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (not liable to execution) ป.วิ.อ.มาตรา 301 ได้แก่

(1)เครื่องนุ่มห่มหลับนอน เครื่องใช้ครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว รวมกันไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท 

(2) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพ,วิชาชีพ รวมกันไม่มาณไม่เกิน 100,000 บาท

(3) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้่ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะ

(4) ทรัพย์สินที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น สมุดบัญชี จดหมายต่างๆ

(8) ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่น ที่ดิน ส.ป.ก. ตามคำพิพากษาฎีกา 1340/2546

 

            ห้ามมิให้ยึดเกินกว่าที่จะพอชำระหนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องยึดทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ ถ้าทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพแบ่งยึดได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแบ่งยึดได้บางส่วนเท่าที่พอจะชำระหนี้ได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจจะคัดค้านคำสั่งหรือการดำเนินของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ซึ่งต้องยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือมีการดำเนินการดังกล่าว 

 

 ผลของการยึดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ที่ยึดจากลูกหนี้ตามคำพิพากษามาขายทอดตลาดและนำเงินได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีผลทางกฎหมาย 

ตัวอย่างผลเกี่ยวกับดอกผลหรือเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์ เช่นดอกผลธรรมดาที่ไม่ใช่เงิน แตเป็นสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างเช่นเดียวกับทรัพย์ที่ถูกยึด ตัวอย่างยึดสุกรของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในครอก ย่อมครอบถึงลูกสุกรด้วย  เครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์ เช่นเครื่องซ่อมแซมรถยนต์เป็นอุปกรณ์ของรถ

กรณียึดอสังหาริมทรัพย์ ย่อมมีผลเป็นการยึดครอบไปถึง ดอกผลธรรมดาที่ลูกหนี้มีสิทธิเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นดอกผลที่ผู้อื่นมีสิทธิเก็บเกี่ยวในอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ครอบไปถึงดอกผลธรรมดานั้นด้วย หากจะให้มีผลเป็นการยึดดอกผลธรรมดาในอสังหาริมทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์นั้นทราบขณะทำการยึดว่าได้ยึดดอกผลแล้ว จึงจะมีผลในการยึดนั้นครอบไปถึงดอกผลธรรมดา ตัวอย่างการยึดห้องแถวย่อมครอบไปถึงค่าเช่าด้วย คำพิพากษาฎีกา 187/2490

กฎหมายหน้ารู้

การฟ้องคดี

การฟ้องคดี

การตัดสินใจฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลใดนั้น  เป็นเรื่องที่สมควรได้พิจารณาอย่างถ้วนถี่ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในการฟ้องคดี  ทำไมทนายความถึงได้กล่าวไว้ในลักษณะแบบนี้    เนื่องจากการเป็นความกันจะทำให้คู่ความสองฝ่ายสิ้นเปลืองเงินและเสียเวลาในการต่อสู้คดี     บางเรื่องมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเราสามารถใช้มาตรการขั้นต้นและเจรจาไกล่เกลี่ยได้ก่อน   การเข้าพบและพูดคุยกันก็ถือเป็นวิธีการขั้นต้นที่สามารถใช้เป็นวิธีการในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทได้โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล

ในบางกรณีที่คู่ความได้ใช้ความพยายามขั้นต้นแล้วหลายครั้งเพื่อจะให้ปัญหาข้อพิพาทระงับเสร็จสิ้นไป  แต่หากการกระทำดังกล่าวไม่ได้ทำให้ข้อพิพาทที่มีอยู่คลี่คลายลงไปได้      ในกรณีดังกล่าวหากเป็นกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นมาก  หากไม่ฟ้องคดีต่อศาลแล้วจะเกิดความเสียหายมาก   กรณีนี้ทนายมีความเห็นสมควรให้ใช้มาตรการในการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมจากข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้

ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

กฎหมายหน้ารู้

การใช้ทนายความขึ้นศาล

การใช้ทนายความขึ้นศาล       

ทนายความ คือ ผู้มีอาชีพรับจ้าง เหมือนผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้างทั่วไป ซึ่งหากแปลให้ตรงตัวคือผู้รับใช้   แต่ที่ต่างกันกับอาชีพอื่นคือทนายความต้องมีใบอนุญาตให้ว่าความในเขตอำนาจศาลของประเทศไทย ซึ่งออกโดยสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นองค์กรที่กำกับ ควบคุมคุมมาตรฐาน และ มรรยาท ซึ่งหากสมาชิกคนใดก็ตามที่ประพฤติปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็อาจจะถูกเพิกถอน หรือพักใช้ใบอนุญาต ซึ่งส่งผลให้คนนั้นไม่มีสิทธิขึ้นว่าความในศาลได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นทนายความในประเทศไทยได้จึงต้องได้ใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เท่านั้น จะได้รับใบอนุญาตจากประเทศอื่นก็ไม่สามารถขึ้นว่าความในศาลไทยได้เช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าทนายความเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง ประเภทหนึ่ง ดังนั้นเมื้อทนายความคนใดก็ตามตกลงรับทำงานในเรื่องใดก็ตามจึงต้องรับผิดชอบจนเสร็จงานของแต่ชั้นศาล หากทอดทิ้งงานก็อาจจะถูกลงโทษ

ทนายความจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการแต่งทนายความให้ทำงานโดยผู้อื่นซึ่งอาจเป็น โจทก์ หรือ จำเลยในคดีใดๆและต้องลงลายมือชื่อผู้แต่งทนายความ ในแบบพิมพ์ของศาล จึงจะสามารถดำเนินคดีในฐานะโจทก์ หรือ จำเลย ได้ โดยตรงช่องผู้แต่งทนายความ จะมีข้อความระบุว่ายอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ สละสิทธิหรือใช้สิทธิ ในการอุทธรณ์ฎีกาหรือการพิจารณาคดีใหม่..สำหรับคดีแพ่งและอาญาหรือล้มละลาย ส่วนคดีอาญา อาจพิมพ์คำว่า “ว่าต่างและแก้ต่าง อุทธรณ์ฎีกา” ก็สามารถระบุได้

ส่วนอัตราค่าตอบแทนวิชาชีพหรือการจ้างทนายความให้ทำงานแทนนั้นแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคนจ้าง กับ ทนายความ ไม่มีกำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นมาตรฐานชัดเจน แน่นอนกำกับไว้ ดังนั้นการจ้างทนายความจึงเป็นดุลพินิจของผู้จ้างที่จะเลือกจ้างได้ตามความประสงค์และตามอัธยาศัย

การใช้หรือจ้างทนายความไปศาลเพื่อดำเนินการในภารกิจแทนตัวความจึงเป็นการสะดวก ลดภาระงานสำหรับผู้มีคดีความที่ศาล และการหาทนายความทุกวันนี้ ก็ง่ายมาก เพราะทนายความมีอยู่ทั่วทุกจังหวัด ทุกอำเภอหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าทนายความมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทุกตำบลทุกหมู่บ้าน นับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีคดีความทั่วไป

กฎหมายหน้ารู้

บอกกล่าวก่อนฟ้องคดี

”  บอกกล่าวก่อนฟ้องคดี “

หนังสือบอกกล่าวก่อนฟ้อง คือ เอกสาร ที่เจ้าหนี้ หรือ ผู้ที่จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมาย ใช้นำส่งไปยังลูกหนี้ หรือ คู่กรณี https://www.funpizza.net/

เอกสารนี้เรียกว่า “หนังสือบอกกล่าวทวงถาม”     โดยในเนื้อหาต้องมีการกล่าวถึง นิติสัมพันธ์ต่อกันว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร และ แจ้งเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ์หน้าที่ๆพึงมีต่อกัน และสุดท้ายผู้บอกกล่าว ต้องแจ้งไปว่า มีความประสงค์อย่างใด ต้องการอะไร ให้ชัดเจน

รายละเอียดที่ปรากฎในหนังสือควรแจ้งให้คู่กรณีทราบข้อเรียกร้อง และ คู่กรณีมีหน้าที่ จะต้องกระทำการ หรือ ละเว้นกระทำการอะไรบ้าง  และ แจ้งให้ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควร   เช่น ให้คู่กรณี ชำระเงิน , โอนทรัพย์สิน หรือ ปฏิบัติตามสัญญา  เป็นต้น    หากคู่กรณีไม่ ปฏิบัติตาม หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ผู้บอกกล่าว ก็จะใช้สิทธิ์ ฟ้องร้องดำเนินคดี ทางกฎหมายต่อไป   โดยทางคู่กรณี จะต้องไปขึ้นศาล เสียเงิน เสียเวลา  เสียค่าทนายความ  และ มีค่าใช้จ่าย ต่างๆ นาๆ นำมาซึ่งความเดือดร้อน หลายประการ https://www.highlandstheatre.com/

การยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังคู่กรณี นั้้น ก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่อาจทำให้เกิดการเจรจาในเบื้องต้น  และ เปิดทางให้มีโอกาสในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  ซึ่งอาจจะจบลงได้ ก่อนนำคดี ไปสู่ ศาลคดีความ โดยส่วนใหญ่นั้น กฎหมาย ไม่ได้กำหนดว่า ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม     แต่มีคดีบางประเภท ที่กฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี    เช่น

-คดีการฟ้องบังคับจำนอง

-คดีการฟ้องผู้ค้ำประกัน

-คดีการใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญา ก่อนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นต้น

ในคดีต่าง ๆ เหล่านี้ หากไม่มีการ ยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก็จะนำคดีมาฟ้องร้อง ต่อศาล ไม่ได้

กรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิ์ ที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม เช่น กรณีขับรถยนต์ชนผู้เสียหาย(คดีละเมิด) ตัวผู้เสียหายก็สามารถยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย ไม่ต้องยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

ประโยชน์ของการยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

มีหลายประการ เช่น   ทำให้เกิดการเจรจาและสามารถจบเรื่องกันได้โดยไม่ต้องขึ้นสู่ศาลแสดงให้ศาลเห็นถึงเจตนาบริสุทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ในด้านการพยายามไกล่เกลี่ยหาทางออกและให้โอกาสคู่กรณีอย่างเต็มที่แล้วและสามารถใช้ หนังสือบอกกล่าวทวงถาม อ้างอิงเป็นหลักฐาน ในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้ ถ้ามีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์ ก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี

การยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถามมีข้อควร พิจารนาเพิ่มเติม ดังนี้

แม้ตามหลักกฎหมายจะไม่ได้บังคับไว้ แต่ถ้าพิจารนาจากรูปคดีแล้ว มีแนวโน้มว่าเจรจาตกลงกันได้ ก่อนขึ้นสู่ศาล ก็ควรยื่น หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง     อีกกรณีที่แม้กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่เพื่อป้องกัน ข้อโต้แย้ง จากคู่กรณีในภายหลัง โดยให้ คู่กรณีปฏิบัติตามหน้าที่ก่อน และให้โอกาสตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา อย่างเหมาะสม โดยแจ้งไปในหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ก่อนดำเนินการฟ้องร้อง

หนังสือบอกกล่าวทวงถาม นั้นผู้ฟ้องคดี สามารถทำเองได้    แต่ในทางปฏิบัติ ทนายความจะทำได้ถูกต้อง มีเนื้อหาข้อความ รัดกุมดีกว่า และ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้คู่กรณี เกิดความยำเกรง มากกว่า

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าว  สามารถสอบถามปัญหาดังกล่าวกับเราได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 02-1217414 ,091-0473382 สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์   https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

กฎหมายหน้ารู้

ขอลดหย่อนผ่อนหนี้ชั้นบังคับคดี

#ขอลดหย่อนผ่อนหนี้ชั้นบังคับคดี

มาตรการการยึดทรัพย์บังคับคดีกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในชั้นบังคับคดี  ถือว่าเป็นขั้นตอนปลายทางแล้วที่เป็นทางออกสุดท้ายที่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับเงินชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ทำการยึดหรืออายัดเพื่อนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินมาแล้ว

ดังนั้น หากลูกหนี้คนใดที่ถูกเจ้าหนี้ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวมีความประสงค์ที่จะผ่อนชำระหนี้ต่อไปนั้น  เป็นเรื่องที่ฝ่ายเจ้าหนี้จะต้องให้การยินยอมในเรื่องดังกล่าวนี้ก่อนเสมอ    ส่วนในทัศนะของทนายความเห็นว่า   การขอลดหย่อนผ่อนหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาทุกขั้นตอน  ไม่ว่าคดีความดังกล่าวอยู่ในชั้นพิจารณาใดก็ตาม  เพราะหากลูกหนี้กับเจ้าหนี้สามารถพูดคุยกันได้  เรื่องทุกๆอย่างที่มีข้อพิพาทต่อกันก็ถือเป็นอันยุติได้โดยทันที

แต่ปัญหาในลักษณะดังกล่าวนี้  ต้องขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายเจ้าหนี้ยอมรับเงื่อนไขกับที่ลูกหนี้ได้เสนอไปแล้วหรือไม่  ปกติในชั้นบังคับคดีเจ้าหนี้จะให้โอกาสลูกหนี้เพียงแค่การผลัดจ่ายหนี้ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆเพียงเท่านั้น  อาจจะขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนเหมือนในชั้นพิจารณาของศาล  ปกติเจ้าหนี้จะไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้   เพราะหากรับเงื่อนไขนี้ได้ก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องนำทรัพย์สินของลูกหนี้มายึดขายทอดตลาด

ปกติหากเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้แล้วในชั้นบังคับคดี   เมื่อเจ้าหนี้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเจ้าหนี้ก็จะได้รับชำระหนี้เป็นแบบคราวเดียว  ได้เงินชำระหนี้เป็นก้อนเดียว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าที่จะให้มีการผ่อนชำระเป็นคราวๆไป

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

📍พิกัด ถนนบางนา-ตราด (ใกล้ห้างเมกะบางนา)

เปิดบริการ [จันทร์-ศุกร์] เวลา 09.00-17.00 น.

กฎหมายหน้ารู้

สินทรัพย์บังคับคดีตามคำพิพากษา

สินทรัพย์บังคับคดีตามคำพิพากษา

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในชั้นบังคับคดี ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

บังคับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี

ปกติหากลูกหนี้ถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลา 30 วัน  นับแต่ทราบผลคำพิพากษาของศาลแล้ว   หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  ฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการขอให้ศาลออกหมายยึดทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ได้   และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาบังคับชำระหนี้ได้

ในกรณีที่ล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว  เจ้าหนี้ท่านใดที่ยังไม่ได้รับเงินชำระหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้แล้ว  ท่านสามารถเริ่มต้นจากการสืบหาทรัพย์สินที่สามารถยึด  หรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ได้โดยทันที   แต่หากบางท่านไม่สะดวกหรือไม่มีความพร้อมหรือไม่ชำนาญในการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้  ท่านก็สามารถทำการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายที่ท่านรู้จักเพื่อทำการสืบหาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของลูกหนี้เพื่อนำมายึดทรัพย์  หรือนำมาอายัดบังคับชำระหนี้ให้แก่ฝ่ายเจ้าหนี้จนเป็นที่เรียบร้อยได้

สำหรับทรัพย์สินที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่

1.บ้าน   ที่ดิน   คอนโดมิเนียม

2.รถยนต์ รถจักรยานยนต์

3.ทรัพย์สินภายในบ้าน

4.ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

5.เงินเก็บหรือเงินฝากในบัญชีธนาคารต่างๆ

6.เงินเดือนหรือโบนัสที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกหนี้

7.สิทธิประโยชน์หรือเงินปันผลต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือนิติบุคคลต่างๆ

หากท่านใดมีข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม  สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลดังกล่าวจากทนายความของเราได้ครับ  02-1217414 , 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้