ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส

       มาตรา ๑๔๗๐ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส มาตรา ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(๑) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

(๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

(๓) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

       มาตรา ๑๔๙๐ หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้

(๑)หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ

(๒) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

(๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน

(๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน

กฎหมายหน้ารู้

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส

การจัดการทรัพย์สินคู่สมรส
มาตรา ๑๔๗๓ สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
มาตรา ๑๔๗๕ ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๕๖ แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
มาตรา ๑๔๗๖ สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(๔) ให้กู้ยืมเงิน
(๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(๖) ประนีประนอมยอมความ
(๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายหน้ารู้

ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่งต่อศาล

            ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น การถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลในคดีแพ่งจะมีความสำคัญต่อเรื่องของยอดเงินและความรับผิดชอบหรือค่าเสียหายที่จะต้องรับผิดชอบต่อคู่ความอีกฝ่ายว่าฝ่ายที่ถูกฟ้องจะต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายโจทก์ในคดีแพ่งมากน้อยแค่ไหนเพียงใด
ส่วนกรณีหากท่านใดถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ก็มีผลว่าคดีดังกล่าวจะต้องรับโทษทางอาญา มากน้อยแค่ไหนเพียงใด เช่น โทษจำคุก โทษปรับ กักขัง
เพราะฉะนั้นหากท่านใดมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคดีความดังกล่าวข้างต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านเกิดความเสียเปรียบ หรือเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อรูปคดี รวมทั้งเพื่อการเตรียมพร้อมหรือการเตรียมตัวก่อนขึ้นศาล ทนายแนะนำว่า ท่านที่มีปัญหาดังกล่าวสมควรติดต่อและเข้าพบทนายความเพื่อขอรับคำปรึกษา หรือขอรับคำแนะนำ เพื่อรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้
           ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าว ถือว่าเป็นขั้นตอนขั้นต้นในการแก้ไขปัญหาคดีความที่เกิดขึ้นต่อกันได้ หรือเรียกว่าเป็นบันไดขั้นที่ 1

กฎหมายหน้ารู้

ตั้งเรื่องฟ้องได้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

“ตั้งเรื่องฟ้องได้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”

       ก่อนการยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลในคดีแพ่ง ทนายความควรตระเตรียมรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน รอบคอบ ให้มากที่สุด ดังนี้

          – ต้องตรวจสอบ สถานะของคู่ความ (ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย)

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องตรวจสอบว่ามีความสามารถในการใช้สิทธิทางศาลหรือไม่ กล่าวคือ ต้องมีสภาพบุคคล และมีรายละเอียดทางประวัติ เช่น  ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ วันเดือนปีเกิด เชื้อชาติ สัญชาติ ครอบครัว อาชีพ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และ เป็นผู้เยาว์ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไม่ ฯลฯ กรณีนิติบุคคล  ก็ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ในเรื่องหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เพื่อดูอำนาจของกรรมการ หรือ ผู้จัดการ ว่ามีอำนาจจัดการแทนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น หรือไม่ เพราะจะมีผลเกี่ยวโยงไปถึงเรื่อง อำนาจฟ้อง และ เขตอำนาจศาล

         – ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในคดี โดยสอบจาก โจทก์(ลูกความ) และ พยานบุคคล พยานเอกสาร ที่โจทก์ อ้างถึง พิจารณาเรื่องราว ต่าง ๆ

ที่ทำให้เกิดการโต้แย้งสิทธิ์ และ โจทก์ มีความเดือดร้อนอย่างไร มีความเสียหายประการใดบ้าง

         – ตรวจสอบว่า มีประเด็นข้อพิพาทกี่ประเด็น  และ ประเด็นต่างๆ เหล่านั้น มีหลักกฎหมาย เรื่องใดสนับสนุน และ สามรถนำมา

ปรับใช้กับ ข้อเท็จจริง ในคดีได้

       – ตรวจสอบเรื่อง เขตอำนาจศาล ว่าคำฟ้องนั้นๆ ควรยื่นฟ้องต่อศาลใด เช่น ยื่นฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา , ยื่นฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิด

แต่ถ้าเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิประโยชน์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ก็ให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้น ตั้งอยู่

       – ตรวจสอบ หลักกฎหมาย ว่า โจทก์ต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนฟ้องหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ให้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์ จึงจะมาฟ้องคดีได้ เช่น การฟ้องบังคับจำนอง มีกฎหมายกำหนดว่า ผู้รับจำนอง ต้องมีจดหมายบอกกล่าว

ไปยังลูกหนี้ ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวนั้น  ผู้รับจำนอง จึงจะมาฟ้องคดีได้

     – ตรวจสอบ อายุความ ในเรื่องที่จะฟ้องให้ชัดเจน เช่น การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ฐานละเมิด นั้นมีอายุความ 1 ปี

นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ

ก็สามารถใช้อายุความโดยทั่วไปได้ คือ 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องได้

     – การคำนวณ ทุนทรัพย์  การดำเนินคดีในศาลนั้น ฝ่ายโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องคดี  คดีที่มีทุนทรัพย์สูง

ค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดีก็จะสูงตามไปด้วย แต่หากคิดคำนวณ ตั้งทุนทรัพย์ ต่ำๆ เพื่อหวังลดค่าใช้จ่าย ก็อาจมีผลเสีย บางประการ เช่น

หากโจทก์ แพ้คดีในศาลชั้นต้น แล้วทุนทรัพย์ ต่ำเกินไป ก็อาจทำให้โจทก์เสียสิทธิ การขอ อุทธรณ์ ฎีกา    ดังนั้น ควรคิดคำนวณทุนทรัพย์ ให้ดีๆ

     – การแจ้งความประสงค์ ของโจทก์ว่า จะขอให้ศาลช่วย เรื่องใด อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็น บทสรุป โดยทำเป็น  “คำขอท้ายฟ้อง”

(ใช้แบบพิมพ์ของศาล) หากไม่มี คำขอท้ายฟ้อง ศาลก็จะไม่สามารถบังคับตัดสินคดีให้ได้ เพราะมีหลักกฎหมาย ห้ามมิให้ศาล พิพากษาเกินคำขอ

***หากทำได้ครบถ้วนตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การตั้งเรื่องฟ้อง ก็จะหนักแน่น รัดกุม ทำให้มีโอกาสได้รับชัยชนะ สูง***

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมเรื่องก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล

การเตรียมเรื่องก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล

            เมื่อลูกความมีความประสงค์ที่จะฟ้องคดีและให้ทนายความว่าต่างแก้ต่างให้ลูกความและทนายความจะต้องจัดเตรียมเรื่องอย่างไรและมีความมุ่งหมายอย่างไรในคดีแพ่งมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

            1.ทนายความต้องประชุมกับลูกความเพื่อสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุอื่นๆที่จะทำให้ทนายความทราบและวินิจฉัยเบี้องต้นในข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินคดีว่าจะให้เป็นไปในทิศทางใด

            2.เมื่อทนายความทราบถึงข้อเท็จจริงและเหตุผลแล้วขั้นตอนต่อไป คือการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งที่มีอยู่กับตัวลูกความเองและพยานหลักฐานอื่นที่ทนายความจะต้องไปเสาะแสวงหาจากหน่วยงานราชการอื่นหรืองค์กรอื่นหรือบุคคลอื่นและสถานที่อื่นบางคดีอาจต้องลงพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อถ่ายรูปและเก็บข้อมูลรวมถึงทำแผนที่เพื่อจัดเตรียมนำเสนอต่อศาลในลำดับถัดไป

            3.เมื่อพยานหลักฐานพร้อมแล้ว ทนายความจะต้องนัดหมายลูกความเพื่อรายงานให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานและความคืบหน้าในการดำเนินคดีพร้อมทั้งอธิบายถึงทางได้ทางเสียที่ลูกความจะได้รับในการดำเนินคดีทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระและการตกลงใจพร้อมกับลงลายมือชื่อในอกสารต่างๆที่ทนายความได้จัดทำมา

การเตรียมคดีในคดีอาญากล่าวคือ เมื่อลูกความตัดสินใจที่จะฟ้องร้องคดีอาญาต่อบุคคลอื่นเมื่อทนายความประชุมสอบข้อเท็จจริงแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับแรกคือ การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)โดยลูกความต้องไม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดหรือเป็นฝ่ายก่อให้เกิดการกระทำผิดนั้นขึ้นมาเอง ประการต่อมาคืออายุความฟ้องร้องผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 และประการต่อมาคือให้พิจารณาถึงเขตอำนาจศาลตามกฎหมายซึ่งในคดีอาญานั้นสถานที่เกิดเหตุถือว่าเป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งที่ศาลจะรับคดีเอาไว้พิจารณาหรือไม่ เมื่อเงื่อนไขตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว ทนายความจึงดำเนินการฟ้องคดีอาญาให้กับท่านได้ต่อไป

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

1.สอบถามให้ชัดเจนว่าถูกเรียกไปพบในสถานะใด    ในกรณีที่ถูกหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนตัวความควรรู้เบื้องต้นว่าท่านไปพบพนักงานสอบสวนในฐานะพยาน  หรือ  ผู้ถูกกล่าวหา    หากมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วเราตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาเรามีสิทธิทางกฎหมายที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้    หากไปในฐานะพยานเรามีหน้าที่ต้องให้การตามความเป็นจริงหากฝ่าฝืนอาจถูกแจ้งข้อกล่าวในเรื่องการให้การเท็จด้วยได้

2.การให้การต่อพนักงานสอบสวนพร้อมเหตุผล  และ  พยานหลักฐานที่มีอยู่ให้พนักงานทราบ   แม้ว่าเราจะตกเป็นผู้ต้องหาแต่เรามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้    แต่การปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผลทำให้มีโอกาสที่จะถูกฟ้องคดีได้ง่ายยิ่งขึ้น      ดังนั้นเราต้องมีพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ เป็นต้น

3.สิทธิที่จะให้บุคคลที่ไว้วางใจหรือทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิข้อนี้ไว้      ทั้งนี้เพื่อให้ทนายความช่วยเหลือและรักษาประโยชน์ของผู้ต้องหา ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิที่จะกันบุคคลตามกฎหมายออกไปได้   ลักษณะนี้ถือว่าการเข้าพบตำรวจท่านเปรียบเสมือนมีตัวช่วยคอยชี้แนะ  แนะนำ  ให้คำปรึกษาถึงผลดีผลเสียในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องในคดีได้

4.สอบถามเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว การพบพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาและรับทราบข้อกล่าวหาจะมีการพิมพ์ลายนิ้วมือและบางคดีอาจต้องมีการควบคุมตัวในขั้นตอนนี้จึงควรมีทนายความมาช่วยเหลือในเรื่องของการประกันตัวและการจัดเตรียมหลักทรัพย์ในการประกันตัวซึ่งในข้อนี้มีความสำคัญมากเพราะหากไม่ได้รับการประกันตัวหรือปล่อยชั่วคราวนั้น จะทำให้การเตรียมพยานหลักฐานเพื่อชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนจะไม่สะดวกและเป็นไปได้ยาก แต่หากได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนเรื่องการใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวแล้วควรรับปรึกษาทนายความของท่านเพื่อหาช่องทางในการต่อสู้คดีและหากในวันนัดตามหมายเรียกเรายังไม่พร้อมควรแจ้งไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อขอเลื่อนกำหนดการไปก่อนจนกว่าทนายความของท่านจะได้จัดเตรียมแนวทางในการต่อสู้คดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 

ดังนั้นจากบทความข้างต้นที่ได้กล่าวเอาไว้แล้ว ทนายความของท่านจึงมีบทบาทสำคัญตามกฎหมายที่จะช่วยเหลือท่านได้และเป็นที่ไว้วางใจในการจัดเตรียมแนวทางต่อสู้คดีครับ

 

 

กฎหมายหน้ารู้

คำให้การในชั้นศาลสำคัญอย่างไร

คำให้การในชั้นศาลสำคัญอย่างไร

    คำให้การในชั้นศาลในคดีแพ่งและคดีอาญามีความแตกต่างและจำเป็นต่อการพิจารณาคดีอย่างไร คดีแพ่งสามัญนั้นคำให้การต้องทำเป็นหนังสือเสมอเว้นแต่ในคดีมโนสาเร่จำเลยจะให้การด้วยวาจาก็ได้โดยคำให้การมีหลักการที่ควรรู้ 4 ประการคือ

1.ปฎิเสธคำกล่าวหาของโจทก์เสียทั้งหมดเรียกว่าคำให้การปฎิเสธ

2.ให้การรับว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องนั้นเป็นความจริงแต่โจทก์กล่าวไม่หมดแต่ยังมีข้อเท็จจริงอื่นอีกและจำเลยขอเสนอข้อเท็จจริงนั้น ซึ่งเมื่อเอาข้อเท็จจริงมาเสนอใหม่นี้ประกอบกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องของโจทก์ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เรียกว่าคำให้การกึ่งรับกึ่งสู้

3.คำให้การที่รับข้อเท็จจริงของโจทก์ตามฟ้องและหยิบยกข้อเท็จจริงใหม่พร้อมด้วยข้อต่อสู้ของจำเลยโดยมีลักษณะเป็นทั้งคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามกฎหมายด้วย

4.คำให้การในคดีแพ่งจะต้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยรับหรือปฎิเสธอย่างชัดแจ้งพร้อมด้วยมูลเหตุแห่งการนั้นทั้งนี้เพื่อศาลและคู่ความสามารถกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าคู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์มากน้อยต่อกันอย่างไร ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177

คำให้การในคดีอาญามีข้อพิจารณาต่อไปนี้

  1. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 คือการปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดีโดยรายละเอียดข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจะนำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป

2.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 คือการรับสารภาพทุกข้อกล่าวหาโดยขอให้ศาลลงโทษสถานเบา

แต่ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาลูกความผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกฟ้องคดีจึงควรมีทนายความช่วยในการดูแลและหาช่องทางในการต่อสู้คดีให้แก่ลูกความถือว่าดีที่สุด

 

กฎหมายหน้ารู้

ความสำคัญของการจัดทำรายละเอียดข้อเท็จจริงในคดี

ความสำคัญของการจัดทำรายละเอียดข้อเท็จจริงในคดี

          ในการค้นหา ข้อเท็จจริง และรวบรวม พยานหลักฐาน จากเรื่องราวต่าง ๆ ในคดีนั้นก็เพื่อจะนำไปใช้ในการปรับเข้ากับ ข้อกฎหมาย โดยในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง นั้น ต้องสอบก่อน ตั้งรูปคดี และต้องให้ชัดเจนว่า โจทก์จะฟ้องเรียกร้องอะไร เช่น ฟ้องลูกหนี้เรียกเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่า เงินต้นค้างชำระเท่าไหร่ ดอกเบี้ยค้างเท่าไหร่ คิดอัตราอย่างไร เป็นต้น ในคดีแพ่งทั่วไป จะมีแหล่งหา ข้อเท็จจริง เบื้องต้น คือ จากตัวโจทก์ จากพยานบุคคล จากพยานเอกสาร จากพยานวัตถุ ฯลฯ หากมีเรื่องสถานที่ เข้ามาเกี่ยวข้องในข้อเท็จจริง ก็ควรเดินทางไปดู ณ สถานที่จริงด้วย ข้อเท็จจริงที่หาได้จะนำมาประกอบเพื่อตั้งรูปฟ้องคดี ถ้าสอบ ข้อเท็จจริง ผิดพลาด หรือ ยังไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การวางหลัก ข้อกฎหมาย เพื่อปรับใช้กับ ข้อเท็จจริงนั้น คลาดเคลื่อนไม่ชัดเจน มีช่องโหว่ จนเสียเปรียบให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ ดังนั้น ข้อเท็จจริง จึงต้องถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน รัดกุม และ เป็นประโยชน์สูงสุดในการ ตั้งรูปคดี เพื่อฟ้องต่อศาล ทนายความ ต้องทำการซักถาม ประวัติส่วนตัว ของ โจทก์ และ พยาน ให้ละเอียดมากที่สุด และ เรื่องราวเนื้อหาในคดี ก็ต้องสอบถามข้อเท็จจริง ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ แบบเชิงลึก ตามลำดับเหตุการณ์ หากขณะสอบข้อเท็จจริง โจทก์ หรือ พยาน ได้อ้างถึง เอกสาร หรือ วัตถุ ใดๆ ทนายความควรรีบขอดู ทันที เพื่อให้ เกิดความชัดเจน มิใช่การกล่าวอ้าง ลอย ๆ ในฐานะ ทนายความ ก็ควรรับฟัง เรื่องราวข้อเท็จจริง นั้นทั้งหมด แต่ควรควรพิจารณา แยกแยะ ถึงความสมเหตุผลด้วย และไม่ควรเชื่อทั้งหมด ตรวจดูด้วยว่า มีเรื่องราวที่ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เช่น  ขัดแย้งกับพยานเอกสาร

 

กฎหมายหน้ารู้

ฟ้องคดีแล้วได้อะไร

ฟ้องคดีแล้วได้อะไร

ในปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยคิดว่า เรื่องหนี้สินนั้นเป็นเรื่องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้หรือสถาบันการเงินแต่แท้จริงแล้วเรื่องหนี้นั้นมีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมด้วยการผิดนัดชำระหนี้หรือค้างชำระหนี้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะหนี้เสีย(เอ็นพีแอล)หากเจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันไม่ได้หรือลูกหนี้ไม่ยอมติดต่อ ผ่านไประยะเวลาหนึ่งเจ้าหนี้จะฟ้องดำเนินคดีกับลูกหนี้เพื่อให้กรอบกฎหมายดูแลให้ลูกหนี้คืนเงินและถ้าคดีสิ้นสุดมีคำพิพากษาและยังไม่มีการชำระหนี้กันเจ้าหนี้มีสิทธิตามกฎหมายดังต่อไปนี้
         1.มอบหมายให้ทนายความสืบทรัพย์เพื่อทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้าง เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เงินเดือน สลากออมทรัพย์ เงินเก็บในธนาคารหรือทรัพย์สินอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
         2.เมื่อทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการมอบหมายให้ทนายความดำเนินการสู่ขั้นตอนของการบังคับคดี ได้แก่ การอายัดเงินเดือน ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด และอื่นๆ
         3.เมื่อเข้าสู่กระบวนการบังตับคดีแล้วหากมีการขายทรัพย์ได้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธินำเงินที่ได้จากการบังคับคดีมาหักกับจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ต้องชำระพร้อมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ค่าขึ้นศาล ค่าทนายความ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆอันเกี่ยวข้องกับการบังคับคดี
ดังนั้น จากหัวข้อที่ว่า ฟ้องคดีแล้วได้อะไร จากบทความข้างต้นนั้นเห็นได้ว่า เจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนก็ได้หรือลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินทำให้ไม่ได้รับชำระหนี้เลยก็อาจเป็นได้หรืออาจได้รับชำระหนี้บางส่วนแต่อย่างไรเสียเมื่อมีการฟ้องคดีและมีการตั้งเรื่องเพื่อบังคับคดีแล้วย่อมเป็นสิ่งดี ดีกว่าไม่ดำเนินการอะไรเลยจนคดีขาดอายุความแต่เมื่อได้ตั้งเรื่องในการบังคับคดีแล้ว เจ้าหนี้ก็มีสิทธิในการบังคับคดีเอากับลูกหนี้โดยกฎหมายให้กรอบเอาไว้เป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดและเมื่อใดที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินขึ้นมาเจ้าหนี้ก็สามารถบังคับหนี้ได้ตามระยะเวลานั้น
         เมื่อพิจารณาขั้นตอนข้างต้นแล้วจึงมีความจำเป็นต้องปรึกษาและมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ให้คำปรึกษาและดำเนินการฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิต่อไป

กฎหมายหน้ารู้

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบพนักงานสอบสวน

             1.สอบถามให้ชัดเจนว่าถูกเรียกไปพบในสถานะใดในกรณีที่ถูกหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนควรรู้เบื้องต้นว่าไปในฐานะพยานหรือผู้ถูกกล่าวหาหากมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วเราตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาเรามีสิทธิทางกฎหมายที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้หากไปในฐานะพยานเรามีหน้าที่ต้องให้การตามความเป็นจริงหากฝ่าฝืนอาจถูกแจ้งข้อกล่าวในเรื่องการให้การเท็จด้วย

            2.การให้การต่อพนักงานสอบสวนพร้อมเหตุผลและพยานหลักฐาน แม้ว่าเราจะตกเป็นผู้ต้องหาแต่เรามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้แต่การปฎิเสธโดยไม่มีเหตุผลทำให้มีโอกาสที่จะถูกฟ้องคดีได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นเราต้องมีพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสารหรือพยานวัตถุ เป็นต้น

            3.สิทธิที่จะให้บุคคลที่ไว้วางใจหรือทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิข้อนี้ไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ทนายความช่วยเหลือและรักษาประโยชน์ของผู้ต้องหา ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิที่จะกันบุคคลตามกฎหมายออกไปได้

            4.สอบถามเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว การพบพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาเมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาและรับทราบข้อกล่าวหาจะมีการพิมพ์ลายนิ้วมือและบางคดีอาจต้องมีการควบคุมตัวในขั้นตอนนี้จึงควรมีทนายความมาช่วยเหลือในเรื่องของการประกันตัวและการจัดเตรียมหลักทรัพย์ในการประกันตัวซึ่งในข้อนี้มีความสำคัญมากเพราะหากไม่ได้รับการประกันตัวหรือปล่อยชั่วคราวนั้น จะทำให้การเตรียมพยานหลักฐานเพื่อชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนจะไม่สะดวกและเป็นไปได้ยาก แต่หากได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนเรื่องการใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวแล้วควรรับปรึกษาทนายความของท่านเพื่อหาช่องทางในการต่อสู้คดีและหากในวันนัดตามหมายเรียกเรายังไม่พร้อมควรแจ้งไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อขอเลื่อนกำหนดการไปก่อนจนกว่าทนายความของท่านจะได้จัดเตรียมแนวทางในการต่อสู้คดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว

            ดังนั้นจากบทความข้างต้นที่ได้กล่าวเอาไว้แล้ว ทนายความของท่านจึงมีบทบาทสำคัญตามกฎหมายที่จะช่วยเหลือท่านได้และเป็นที่ไว้วางใจในการจัดเตรียมแนวทางต่อสู้คดีครับ

                       

 

กฎหมายหน้ารู้