4 ข้อสำคัญ ทำให้สัญญาไร้ผล

4 ข้อสำคัญ ทำให้สัญญาไร้ผล

สัญญาที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลทำให้สัญญาที่เราได้ทำกันไว้ไม่สามารถนำใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า “สัญญาเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มต้น”
สัญญาที่ไม่สามารถใช้บังคับได้นั้น มีดังต่อไปนี้
📍ประการที่ 1 สัญญานั้นมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
📍ประการที่ 2 สัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยที่สามารถนำมาใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
📍ประการที่ 3 สัญญานั้นทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
📍ประการที่ 4 กฎหมายได้กำหนดว่าการกระทำนั้นๆเป็นโมฆะ หรือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้

กฎหมายหน้ารู้

ลงนามสัญญา ตัวแทนองค์กร

ตัวแทนองค์กรหรือหน่วยงานนิติบุคคลใดบ้างที่สามารถเข้าเป็นผู้แทนในการทำสัญญาแทนนิติบุคคลนั้นได้

ลำดับที่ 1 บริษัทจำกัด มีผู้แทนในการทำสัญญาได้ก็คือกรรมการของบริษัท

ลำดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้แทนในการทำสัญญาได้ก็คือหุ้นส่วนผู้จัดการ

ลำดับที่ 3 สมาคมหรือมูลนิธิ มีผู้แทนทำสัญญาได้คือคณะกรรมการสมาคมหรือมูลนิธินั้น

ลำดับที่ 4 วัด มีผู้มีอำนาจในการทำสัญญาแทนได้ก็คือเจ้าอาวาส

ลำดับที่ 5 กระทรวง มีผู้แทนทำสัญญาได้ก็คือปลัดกระทรวง

ลำดับที่ 6 กรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนในการทำนิติกรรมสัญญาได้

ลำดับที่ 7 จังหวัด มีผู้แทนในการทำนิติกรรมสัญญาได้คือผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับที่ 8 ได้แก่พรรคการเมือง มีผู้แทนที่สามารถทำนิติกรรมได้คือหัวหน้าพรรคการเมือง

กฎหมายหน้ารู้

ผิดสัญญาการจ้าง   สิทธิการคิดค่าเสียหาย

ผิดสัญญาการจ้าง   สิทธิการคิดค่าเสียหาย

กรณีที่ผู้ว่าจ้างอาจคิดค่าเสียหายหรือเรียกร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดได้คือ

  1. มีการกำหนดความรับผิดไว้ในสัญญาว่าจ้าง
  2. เกิดความชำรุดบกพร่องอันเนื่องมาจากความผิดของผู้รับจ้าง หรือชักช้าในการที่ทำ ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกให้ผู้รับจ้างรับผิดได้ เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องหรือความล่าช้านั้นเพราะสภาพสัมภาระที่ผู้ว่าจ้างหามาหรือเพราะคำสั่งของผู้ว่าจ้างเอง แต่ทั้งนี้หากผู้รับจ้างรู้ว่าสัมภาระนั้นไม่ดีหรือคำสั่งของผู้ว่าจ้างดังกล่าวจะกระทบทำให้เกิดความชำรุดบกพร่องหรือชักช้าในการที่ทำและไม่เตือนผู้ว่าจ้างผู้รับจ้างยังต้องรับผิด
  3. กรณีเมื่อได้เริ่มทำงานแล้วแต่งานบกพร่องหรือเป็นไปในลักษณะที่ฝ่าฝืนข้อสัญญา เพราะความผิดของผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างอาจบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขความบกพร่องหรือบอกให้ปฏิบัติตามสัญญาโดยกำหนดระยะเวลาตามสมควรได้ หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ว่าจ้างอาจนำออกให้คนนอกทำการแก้ไขซ่อมแซมหรือทำต่อไปในการนั้นได้ และผู้รับจ้างต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้นได้
  4. กรณีผู้รับจ้างมีหน้าที่ในการหาสัมภาระเอง แต่หากการจัดหาสัมภาระมาไม่ดีผู้รับจ้างต้องรับผิดในการนั้น

กรณีดังกล่าวผู้เขียนเห็นว่า  การตกลงว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ รวมทั้งแรงงานที่ได้รับงานมาจากผู้ว่าจ้างให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการที่จ้าง   ดังนั้นการเข้ารับงานของตนต้องพึงใช้ความระมัดระวังในการทำงานโดยคำนึงถึงแบบและความต้องการของผู้ว่าจ้างที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด  การทำงานเรื่องใดที่มีแบบและวัสดุ  หรือขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการที่ชัดเจนเป็นลายลักอักษร  ผู้รับจ้างต้องพึงปฏิบัติตามให้เรียบร้อยให้สมกับการไว้วางใจของผู้ว่าจ้าง   สำหรับผู้ว่าจ้างเองก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินค่าตอบแทนค่างานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้รับจ้างด้วย   แต่กรณีเกิดข้อพิพาทต่อกันในเรื่องการจ้างที่เกิดขึ้น  ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยการทำงาน  เกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและข้อตกลงที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นส่วนใหญ่  หรือเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของคู่สัญญาด้วยกันเอง

ดังนั้น หากเกิดข้อพิพาทในเรื่องการจ้างต่อกันแล้ว  ก็คงต้องนำเรื่องพิพาทดังกล่าวมาพิจารณากันว่า  ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อกัน  เหตุการณ์ที่เกิดฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบในเรื่องของค่าเสียห่ย   ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้หากคู่สัญญาได้ทำสัญญาไว้เป็นลายลักอักษรก็จะใช้สัญญาเป็นตัวกำหนดในเรื่องของค่าเสียหายต่อกันได้  แต่ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้  บางท่านก็นำเรื่องดังกล่าวมาใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลโดยให้ทนายความฟ้องดำเนินคดีกันตามกฎหมาย  เพื่อให้ศาลได้มีการพิจารณาและตัดสินคดีหรือตัดสินข้อพิพาทต่อกันให้ข้อพิพาทที่มีต่อกันเป็นอันยุติไปได้

สอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติม  091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง

สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง

เมื่อมีข้อกำหนดของสัญญาจ้างระบุไว้ถึงเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในสัญญาจ้างต่อกันกันแล้ว  ปรกติก็จะให้บังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติไปตามสัญญา   แต่ในบางกรณีผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาการว่าจ้างได้ในกรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่แรก มาตรา 593 เมื่อผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการหรือกระทำการอันเป็นการชักช้าฝ่าฝืนต่อข้อสัญญา ผู้ว่าจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาได้

กรณีที่สอง มาตรา 596 กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าไม่ทันกำหนดระยะเวลา หรือกรณีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานไว้ แต่ล่วงเลยระยะเวลาอันสมควร ผู้ว่าจ้างอาจลดสินจ้าง หรือสามารถบอกเลิกสัญญาได้ถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่เวลา

กรณีที่สาม มาตรา 605 ถ้าการนั้นยังทำไม่เสร็จ ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้ต่อเมื่อได้เสียค่าสินใหม่ทดแทนแก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกจ้างนั้น

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

#ไม่มีสัญญาจ้างเหมางาน #สิทธิฟ้องคดี

กฎหมายมิได้ระบุไว้ในเรื่องการว่าจ้างงานว่าการจะฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสัญญาจ้างได้นั้น     จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีสัญญาที่ทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด      ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีสัญญาการว่างานจ้างต่อกันก็สามารถเรียกร้องให้ชำระเงินค่าจ้างหรือหากไม่มีการชำระเงินตามที่ตกลงการว่าจ้างงานกันแล้ว    ผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถนำเรื่องเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้     เพียงแค่ใช้พยานบุคคลมานำสืบ หรือภาพถ่ายขณะทำงานก็เพียงพอต่อการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้แล้ว        แต่ทั้งนี้แม้จะสามารถฟ้องคดีเพื่อเอาผิดคู่สัญญาอีกฝ่ายได้ แต่น้ำหนักพยานอาจไม่มากพอที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างหรือการให้การของอีกฝ่ายได้

สอบถามกฎหมาย หรือ ปรึกษาทนายความโดยตรงได้ทุกวัน

091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้

การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

 กลฉ้อฉล หมายถึง การหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้แสดงเจตนาหลงเชื่อและเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

       ก. กลฉ้อฉลถึงขนาด หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งใช้กลอุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยแสดงข้อความไม่ตรงต่อความเป็นจริง จนคู่กรณีฝ่ายที่ถูกหลอกลวงหลงเชื่อและได้แสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมนั้น  ซึ่งหากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้ว นิติกรรมนั้นก็คงมิได้ทำขึ้น ตัวอย่างเช่น นางแดง หลอกลวงนางดำว่าแหวนที่นางแดงนำมาขายนั้นป็นแหวนเพชรแท้ นางดำหลงเชื่อ จึงแสดงเจตนาซื้อแหวนดังกล่าวจากนางแดง ความจริงปรากฏว่า แหวนดังกล่าวเป็นแหวนเพชรเทียม หากนางดำรู้ ก็คงไม่ทำสัญญาซื้อเพชรจากนางแดงอย่างแน่นอน เช่นนี้การหลอกลวงของนางแดงทำให้นางดำหลงเชื่อ และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมไป นิติกรรมระหว่างนางแดงกับนางดำจึงตกเป็นโมฆียะแต่ถ้าข้อเท็จจริงข้างต้นเปลี่ยนไปว่า นางดำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเพชร ได้ตรวจสอบดูแล้วรู้ว่าเป็นเพชรเทียม แต่ก็ยังแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมซื้อแหวนเพชรดังกล่าวจากนางแดงแสดงว่ากลฉ้อฉลนั้นไม่ถึงขนาด นิติกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ

      ข. กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ  หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายแรกมีเจตนาที่จะทำนิติกรรมนั้นอยู่แล้ว และคู่กรณีฝ่ายหลังใช้กลอุบายเพื่อเอาเปรียบคู่กรณีฝ่ายแรก คู่กรณีฝ่ายแรกที่ถูกเอาเปรียบ จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีฝ่ายหลังที่เอาเปรียบได้ แต่จะบอกล้างไม่ได้ นิติกรรมนั้นยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ตัวอย่างเช่น นายสมจริงต้องการขายสุนัขพันธุ์ดีให้นายสมหมาย ซึ่งตามปกติราคาในท้องตลาดสุนัขพันธุ์ดีในลักษณะเช่นนี้มีราคาเพียง 20,000 บาท  แต่นายสมจริงได้หลอกลวงนายสมหมายว่า สุนัขพันธุ์ดีตัวนี้ได้เคยนำออกแข่งและชนะเลิศการแข่งขันหลายครั้ง นายสมจริงจึงเรียกร้องราคาเพิ่มขึ้นอีก 5,000 บาท เช่นนี้ถือว่านายสมจริงใช้กลฉ้อฉลเพื่อเอาเปรียบนายสมหมายให้ซื้อสุนัขพันธุ์ดีแพงไป 5,000 บาท นายสมหมายจึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำนวน 5,000 บาท คืนจากนายสมจริงได้

      ค. กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องแจ้งความจริง ได้

จงใจนิ่งเฉย จนทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งสำคัญผิด และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้น  ตัวอย่างเช่น นายประหม่า เป็นคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมีหนี้สินล้นพ้นตัว  ได้มาขอกู้เงินจากนายประหยัดเป็นจำนวนมากโดยปกปิดซึ่งความจริงของการเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว นายประหยัดรู้ว่านายประหม่าเป็นคนใช้ฟุ่มเฟือยจริงแต่เข้าใจว่าเป็นคนมีฐานะดี จึงให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวไป เช่นนี้ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ซึ่งมีผลให้สัญญากู้นั้นตกเป็นโมฆียะ

ผลของการแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลมีดังนี้

     ก. กรณีกลฉ้อฉลถึงขนาด นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆียะ แต่ถ้ากลฉ้อฉลถึงขนาดกระทำโดยบุคคลภายนอก นิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มิใช่ฝ่ายที่ถูกกลฉ้อฉลได้รู้หรือควรรู้ว่ามีกลฉ้อฉลเช่นนั้น         

     ข. กรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ นิติกรรมยังคงมีผลสมบูรณ์ เพียงแต่ให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่คู่กรณีฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบเท่านั้น

 

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

กฎหมายหน้ารู้

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

         วัตถุประสงค์ของนิติกรรม หมายถึง  ประโยชน์สุดท้ายที่คู่กรณีของนิติกรรมประสงค์จะได้จากนิติกรรมนั้น หรือหมายถึงจุดมุ่งหมายหรือประโยชน์ที่มุ่งหวังจากการทำนิติกรรมนั้น กล่าวคือเป้าหมายในการทำนิติกรรมของคู่กรณี  ดังนั้น นิติกรรมทุกชนิดจะต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเสมอ  หากไม่มีวัตถุประสงค์ย่อมไม่เป็นนิติกรรม

         ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ของนิติกรรมว่า “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้นเป็นโมฆะ” บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ วัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้แก่

        1.วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เช่น การว่าจ้างให้ฆ่าคน การให้กู้ยืมเงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การซื้อขายยาเสพติดที่กฎหมายห้ามโดยเด็ดขาด เช่น  ยาม้า  เฮโรอีน  กัญชา

       2.วัตถุประสงค์ที่เป็นการพ้นวิสัย คือ นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่มีทางเป็นไปได้ และไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติได้ เช่น สัญญาจ้างให้แปรตะกั่วให้เป็นทองคำ สัญญาเช่าเรือโดยไม่รู้ว่าเรือนั้น อัปปางไปแล้ว สัญญาชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนชีพ  เป็นต้น

      3.วัตถุประสงค์ที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คือ นิติกรรมที่ขัดต่อจริยธรรมโดยพิจารณาจากความรู้สึกของคนทั่วไป เช่น สัญญาฮั้วการประมูลหลอกลวงราชการ  สัญญาจ้างให้หญิงหย่าจากสามีเพื่อมาสมรสกับผู้ว่าจ้าง สัญญาจ้างหญิงให้มารับจ้างเป็นโสเภณี เป็นต้น

แบบของนิติกรรม

       แบบของนิติกรรม  หมายถึง  พิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้และบังคับให้ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมต้องปฏิบัติตามเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม หากไม่ปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ   โดยทั่วไปนิติกรรมไม่ต้องทำตามแบบก็มีผลใช้บังคับได้เพียงแต่แสดงเจตนาเท่านั้น  แต่มีนิติกรรมบางอย่างที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบ  เพราะเป็นนิติกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อรัฐหรือประชาชนโดยส่วนรวมได้ นิติกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบนี้  ผู้ทำนิติกรรมจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยจึงจะมีผลใช้บังคับได้  มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา  152 ว่า  “ การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้  การนั้นเป็นโมฆะ”

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ประเภทของนิติกรรม

ประเภทของนิติกรรม

นิติกรรมแบ่งออกเป็น  5 ประเภท คือ

  1. นิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย

         นิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาและกระทำไปโดยบุคคลเพียงฝ่ายเดียว  การกระทำนั้นก็มีผลเป็นนิติกรรมได้  เช่น  การทำพินัยกรรม  การบอกเลิกสัญญา  การปลดหนี้  การตั้งมูลนิธิ  เป็นต้น

         นิติกรรมหลายฝ่าย เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาและการกระทำโดยบุคคลตั้งแต่ 2  ฝ่ายขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะเกิดเป็นนิติกรรมได้  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญาเช่าทรัพย์  สัญญาค้ำประกัน  สัญญาจำนอง  สัญญากู้ยืมเงิน การหมั้น การสมรส เป็นต้น

  1. นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบและนิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ

นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบ เป็นนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดแบบหรือวิธีการในการทำ

นิติกรรมนั้นเป็นพิเศษ  มิฉะนั้นจะไม่เกิดผลทางกฎหมายและตกเป็นโมฆะ  เช่น  สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์  สัญญาจำนอง  การทำพินัยกรรม การสมรส เป็นต้น 

นิติกรรมที่ไม่ต้องทำตามแบบ  เป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาเท่านั้นและจะมีผลใช้บังคับทันทีที่มีการทำนิติกรรมกัน  เช่น  สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ สัญญาจ้างแรงงาน  เป็นต้น

  1. นิติกรรมมีค่าตอบแทนและนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน

นิติกรรมมีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายทำขึ้นแล้วก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน  ผลประโยชน์ที่เป็นค่าตอบแทนนั้นอาจเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน

อื่นใด หรือการชำระหนี้ก็ได้  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญาเช่าทรัพย์  สัญญาเช่าซื้อ  สัญญาจ้างแรงงาน  สัญญาจ้างทำของ  สัญญาให้ที่มีค่าภาระผูกพัน  เป็นต้น

          นิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน เป็นนิติกรรมที่ให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือนิติกรรมที่ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ไม่ได้ก่อหนี้หรือหน้าที่ให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา สัญญายืมใช้คงรูป เป็นต้น                       

  1. นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลาและนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา

          นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา  เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลหรือสิ้นผลไปเมื่อเป็นไป ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนด เช่น  ตกลงจะขายรถยนต์ต่อเมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศ  ดังนั้น  เมื่อผู้ขายจะเดินทางไปต่างประเทศเมื่อใด  ถือว่าเงื่อนไขที่ตกลงซื้อขายรถกันมีผลสำเร็จแล้ว  ผู้ขายต้องขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ตกลงไว้  เป็นต้น

          นิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้วจะมีผลใช้บังคับทันทีที่

ตกลงทำนิติกรรมกัน  โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากำหนดไว้ในนิติกรรมนั้น  เช่น  คู่สัญญาตกลงซื้อรถยนต์กันโดยไม่มีกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใดๆ ไว้  สัญญาซื้อขายนั้นมีผลผูกพันผู้ขายและผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขายรถกัน เป็นต้น

  1. นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ และนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว

          นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำยังมีชีวิตอยู่ เป็นนิติกรรมที่ผู้ทำแสดงเจตนาประสงค์ให้เกิดผลระหว่างที่ผู้ทำนิติกรรมยังมีชีวิตอยู่  เช่น  สัญญาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ทำสัญญานั้นมีชีวิตอยู่  และมีผลใช้บังคับในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น

         นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทำมีชีวิตอยู่ แต่จะมีผลบังคับเมื่อผู้ทำตายไปแล้ว  เช่น  การทำพินัยกรรม  การทำสัญญาประกันชีวิต  เป็นต้น

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา

                (1) ผู้เยาว์ (Minor)

                (2) บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind)

                (3) คนไร้ความสามารถ (Incompetent)

                (4) คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent)

                (5) ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย

                (6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน

        ผู้ทำนิติกรรมแทน

                ผู้อนุบาล (guardian) เป็นบุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ

                ผู้พิทักษ์ (custodian) หมายถึง บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ

       การควบคุมการทำนิติกรรม

            วัตถุประสงค์ของการทำนิติกรรม : หากกระทำนิติกรรมที่ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวถือเป็น โมฆะ ได้แก่

                – นิติกรรมต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย

                – นิติกรรมที่พ้นวิสัย

                – นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

นิติกรรมและสัญญา

นิติกรรมและสัญญา

          นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะเกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น

          นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง การทำคำเสนอ การบอกเลิกสัญญา เป็นต้น

          นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น

          นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นให้มีสภาพเป็นบุคคล เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เพื่อให้นิติบุคคลสามารถใช้สิทธิหน้าที่ ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ จึงต้องแสดงออกถึงสิทธิและหน้าที่ผ่าน ผู้แทนนิติบุคคล

       1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ได้แก่

           1. บริษัทจำกัด (ผู้ก่อการอย่างน้อย 3 คน)

           2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ผู้ก่อการอย่าง 3 คน)

           3. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

           4. สมาคม

           5. มูลนิธิด้แก่ นิติ

      2. นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง/ทบวง กรม จังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต./อบจ./กทม/เทศบาล/พัทยา) องค์การของรัฐบาล องค์การมหาชน ฯลฯ

           ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้น คือ บุคคล บางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ต้องรับความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องแสดงออก

           ปกติแล้ว บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แต่ยังมีบุคคลบางประเภทที่เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายจึงต้องเข้าดูแลคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้ได้รับความเสียหายในการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำนิติกรรมของผู้นั้น

บทความโดย : ทนายสุริยา  สนธิวงศ์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้