ผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล(ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๑๑)
ป.พ.พ. มาตรา ๑ ๗๓๓ วรรคสาม บัญญัติว่า
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และมาตรา๑๗๑๑ บัญญัติว่า
ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมระบุว่าให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกก็ให้ศาลตั้งตามนั้น แต่ก็มิได้ห้ามมิให้ศาลใช้ตุลพินิจตั้งทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกเข้าร่วมเป็นผู้จัดการมรดกด้วย
เมื่อคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดก ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดกและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๘ การให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองจัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ้ายหนึ่งจัดการมรดกเพียงฝ่ายเดียว (ฎีกา ๗๐๓๓/๒๕๕๗)

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดในมูลหนี้สำหรับทายาทผู้รับมรดก

กฎหมายได้กำหนดให้ทายาทว่า
      ทายาทไม่จำต้องรับผิดชอบในบรรดาหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินมรดกที่ตัวเองได้รับตกทอดให้แก่ตนเอง
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา
      ( เรื่องของหนี้ที่เกิดจากเหตุละเมิด)
      บ.ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำไว้ก่อน บ.ถึงแก่ความตาย
หนี้ดังกล่าวในส่วนของ บ.จึงเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 2 – 5 จำเลยที่ 2 – 5
ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสอง
แต่จำเลยที่ 2 – 5 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดไว้แก่ตน
( ฎีกา 521 /2562 )

กฎหมายหน้ารู้