ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม   ปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้กู้

ปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้กู้

ฎีกา 384/2525

จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา และเป็นฉบับเดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่  จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป้นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย  คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยนำสืบได้

กรณีต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์

กรณีต่อสู้ว่าหนี้ไม่สมบูรณ์นี้  เป็นกรณีหนึ่งที่ยอมให้มีการสืบพยานบุคคลได้  สำหรับเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ในการกู้ยืมเงินก็อาจจะมีหลายเหตุ  เช่น  ไม่ได้รับเงินกู้ไม่มีเจตนาผูกพันกันตามสัญญากู้   ได้รับเงินไม่เต็มจำนวนตามที่สัญญาที่นำมาฟ้อง เป็นต้น

 

ฎีกาที่ 13825/2553

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว  จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์  จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจะส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน  เท่ากับจำเลยได้ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์  เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม    ป.พ.พ. มาตรา 650  จำเลยจึงไม่ต้อง ห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคล  ว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม  ป.วิ.พ.มาตรา 94

ที่จำเลยให้การแนะนำสืบพยานบุคคลว่า  สัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น  ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง  หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่  และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศ   ก็ไม่ใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

การให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้รับเงินที่กู้  จะต้องอ้างเหตุไว้ให้ชัดเจนด้วย  มิฉะนั้น  ก็ไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ ( ฎีกา 246/2485)

 

ฎีกาที่ 274/2530

คำให้การจำเลยที่ปฏิเสธเพียงว่า บ. ไม่ได้กู้เงินโจทก์  หนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย  โดยไม่ได้อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าเหตุใด  บ. จึงไม่ได้กู้เงินจดและหนังสือสัญญากู้ยืมเงินท้ายฟ้องไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์อย่างไร  จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง  จำเลยไม่มีสิทธิ์สืบพยานตามข้อต่อสู้

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

 

 

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป

ปลอมเพราะเหตุมีการแก้ไขจำนวนเงินที่ลงไป

กรณีนี้เป็นเรื่องที่กอรกจำนวนเงินที่กู้ลงไว้เรียบร้อย  ต่อมามีการแก้ไขจำนวนเงินให้ผิดไปจากเดิม       ก็ถือว่าสัญญากู้ปลอม  แต่ผลของการปลอมมีผลเพียงทำให้ไม่สามารถเรียกร้องเงินส่วนที่เกินไปเท่านั้น  ส่วนจำนวนเงินที่กู้ถูกต้องยังคงบังคับได้ไม่ถือว่าสัญญากู้อันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เสียไป  เนื่องจากตอนแรกถูกต้อง  มีการปลอมทีหลัง ข้อเท็จจริงผิดกับกรณีไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้แล้วมาลงจำนวนเงินภายหลังไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามข้อตกลง จึงถือว่าเอกสารกู้เสียไปทั้งฉบับ ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิได้

ฎีกาที่1860/2523

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 2,000 บาท จำเลยให้การว่า ความจริงจำเลยกู้เพียง 1,000 บาท  ได้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์ซึ่งได้ลงจำนวนเงินไว้แล้ว แต่ไม่กรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ได้มีการแก้จาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท  โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม ดังนี้  แม้เอกสารกู้ได้ถูกแก้ละเป็นเอกสารปลอม  แต่ก่อนมีการแก้เอกสารนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์  ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000 บาท ตามสัญญาที่ทำไว้เดิมก่อนมีการแก้ได้

ฎีกาที่ 743/2506

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามหนังสือสัญญากู้ 9,500 บาท จำเลยให้การว่า กู้จริงเพียง 500 บาท จำเลยลงนามในสัญญากู้ที่มิได้กรอกจำนวนเงินมอบให้โจทก์ไว้  โจทก์กับพวกสมคบกันปลอมขึ้น  ลงจำนวนเงินผิดไปจากที่กู้กันจริง ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หรือถ้าจะให้จำเลยรับผิดก็เพียงในจำนวนเงิน 500 บาท  เท่าที่จำเลยเอาไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้เงินเท่าที่จำเลยรับไป 500 บาท  ทั้งโจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปตามจำนวนที่ฟ้อง คดีนี้จำเลยให้การยอมรับรับว่าได้กู้ไปจริงเพียง 500 บาท  ซึ่งโจทก์ฟ้องจำนวนกู้ถึง 9,500 บาท  แต่ไม่สืบสม  ไม่มีทางรับฟัง คงพิพากษาเป็นจริงเท่าที่จำเลยรับโดยคำพิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 ( ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม

ตัวอย่างเหตุแห่งการอ้างว่าสัญญากู้ปลอม

เหตุแห่งการปฏิเสธว่าสัญญากู้ปลอมนั้น  จะถือว่ามีเหตุผลชัดแจ้งตามหลักเรื่องคำให้การหรือไม่อันจะมีผลทำให้นำสืบได้หรือไม่คงจะต้องศึกษาจากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาดังต่อไปนี้

 ก.ปลอมเพราะเหตุผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินในช่องที่ว่างไว้ไม่ตรงกับความเป็นจริง

ฎีกาที่ 2692/2522

จำเลยกู้เงินไป 8,000 บาท  โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้  โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นในสัญญากู้ต่อมาโจทก์จึงกรอกข้อความในสัญญากู้และเขียนจำนวนเงินที่กู้เป็น 80,000 บาท  แล้วฟ้องเรียกเงินจากโจทก์ด้วยสัญญากู้ดังกล่าว  จึงเป็นเอกสารปลอม  โจทก์ไม่อาจแสดงสิทธิจากเอกสารปลอมได้   ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย  ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม  จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 1532/2526

จำเลยกู้เงินโจทก์ 30,000 บาท โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในช่องผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน  โดยไม่ได้กรอกข้อความเมื่อข้อความและจำนวนเงิน 40,000 บาท  ที่กรอกในหนังสือสัญญากู้ถูกเขียนขึ้นภายหลัง  ไม่ตรงต่อความเป็นจริง  และโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม  ย่อมเป็นเอกสารปลอม  โจทก์ไม่อาจแสวงหาสิทธิจากเอกสารปลอมได้  ถือได้ว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 4693/2528

จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท ได้เขียนสัญญากู้เงิน  โดยยังไม่ได้เขียนจำนวนเงินที่กู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ได้เขียนจำนวนเงินกู้ 15,000 บาท  ลงในสัญญากู้โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม  ดังนี้การที่โจทก์เขียนข้อความในสัญญากู้ว่าได้มีการกู้เงินจำนวนเงินถึง 15,000 บาท  เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง  โดยจำเลยมิได้รู้เห็นและยินยอม  ด้วยสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่  แม้ขณะโจทก์เขียนจำนวน 15,000 บาท ในสัญญากู้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 12,960 บาท  ศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยอาศัยสัญญาคู่นั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2515)

ตามข้อเท็จจริงทั้ง 3 ฎีกานี้  เป็นเรื่องสัญญากู้ปลอมเพราะเหตุมีการกรอกจำนวนเงินที่กู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง  ผลของการวินิจฉัยจากเอกสารปลอมไปในรูปที่ว่าสัญญากู้นั้นปลอมเสียหมดทั้งฉบับ   โจทก์ไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิจากเอกสารปลอมได้  ใช้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แต่กรณีจะเป็นเช่นนั้นได้  จะต้องเป็นการกรอกจำนวนเงินลงในช่องว่างที่เว้นไว้  กล่าวคือสัญญากู้ไม่มีการระบุจำนวนเงินไว้  มีการมากรอกขึ้นภายหลัง  โดยไม่ตรงกับความเป็นจริง   แต่ถ้ากรณีเป็นเรื่องกรอกจำนวนเงินลงไว้ถูกต้องในตอนแรกแล้วมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปในภายหลัง  ผลทางกฎหมายจะออกไปในอีกทางหนึ่งดังจะได้ศึกษาต่อไป

มีปัญหาน่าคิดต่อไปอีกว่า เมื่อกรณีตกลงกู้เงินกันจำนวนหนึ่ง  แต่ไม่ได้ลงจำนวนเงินไว้ต่อมาผู้ให้กู้กรอบจำนวนเงินลงไปไม่ตรงกับที่ตกลงคู่กัน  ผู้กู้ก็รับแล้วว่ากู้จริงเท่าใด  จึงน่าจะบังคับกันตามจำนวนที่กู้จริงผู้เขียนก็มีความเห็นว่าเมื่อฟังว่าสัญญากู้ปลอมทั้งฉบับแล้วไม่อาจอ้างอิงแสวงหาสิทธิจากสัญญากู้อีกต่อไปการกู้รายนี้จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีเมื่อไม่ผ่านขั้นการเสนอคดีโดยมีหลักฐานการกู้เป็นเป็นหนังสือแล้วจะก้าวล่วงไปพิจารณาถึงขั้นว่ามีการรับกันแล้วคงไม่ได้

       ฎีกาที่ 3063/2531

จำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์เป็นจำนวนเงิน 18,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยทั้งสองลงนามในช่องผู้กู้ก่อนต่อมาก่อนฟ้องคดีโจทก์ให้สามีโจทก์กรอกข้อความในสัญญากู้ว่าจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์เป็นเงิน 46,000 บาท ซึ่งผิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ  เท่ากับโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653  แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา  ทั้งจำเลยที่ 2 รับว่ากู้เงินโจทก์จำนวน 18,000 บาท ก็ตาม โจทก์หาอาจฟ้องร้องบังคับคดีตามเอกสารปลอมดังกล่าวได้ไม่

 

สอบถามกฎหมายกับผู้เชี่ยวชาญคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

สัญญากู้ปลอม

 

กรณีต่อสู้ว่าสัญญากู้ปลอม

การต่อสู้และสัญญากู้ปลอมนั้น  เป็นผลให้โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า สัญญากู้ที่นำมาฟ้องนั้นสมบูรณ์ถูกต้อง ไม่ปลอม  แล้วจำเลยสืบแก้  ซึ่งสามารถสืบพยานบุคคลได้  ตามข้อยกเว้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 94 วรรคสอง  แต่อย่างใดก็ตาม  การที่จำเลยจะมีสิทธิสืบแก้ได้นั้น  จำเลยจะต้องอ้างเหตุแห่งการปลอมนั้นไว้ด้วยว่า  ปลอมเพราะเหตุใด  ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ฎีกา 2243/2521

โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้   จำเลยให้การต่อสู้ว่า  สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมโดยไม่อ้างเหตุตั้งประเด็นไว้ว่าปลอมอย่างไร  ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177   จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น

กรณีตามฎีกาที่ 2243/2521 นี้ถือว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่า  สัญญากู้ปลอมเกิดเป็นประเด็นที่พลาด  โจทก์มีภาระการพิสูจน์ตามประเด็น  แต่จำเลยไม่มีสิทธิสืบแก้เพราะไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้   ก็ไม่มีข้ออ้างที่จะนำสืบหรือไม่มีเหตุผลที่อ้างนั่นเอง

ฎีกาที่ 1372/2526

โจทก์ฟ้องว่า  จำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท จำเลยให้การว่า กู้ไปเพียง 4,000 บาท  โดยโจทก์ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ  การที่จำเลยนำสืบ ตัวจำเลยและพยานบุคคลอีก 2 คน  ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปเพียง 4,000 บาท  โจทก์ได้ให้จำเลยลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้  โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ  เป็นการนำสืบให้เห็นว่ามีการกรอกข้อความที่ผิดความจริง  ว่าจำเลยกู้เงินไป 28,750 บาท  ลงในสัญญากู้ฉบับที่โจทก์นำมาฟ้อง  ซึ่งหากฟังได้สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม  การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบหักล้างเอกสาร  จำเลยมีสิทธินำไปสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสอง

สอบถามกฎหมายคดีเงินกู้   ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)

กฎหมายหน้ารู้

การยอมรับทรัพย์สินอื่นแทนเงินกู้

การชำระหนี้เงินกู้ด้วยทรัพย์สินอื่น ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้นไซร้
ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำาระเช่นนั้น
ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมนะ (ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๖ )
การยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมจึงเป็นสิทธิของผู้ให้กู้ยืมฝ่ายเดียวที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ สัญญากู้ยืมเงิน ที่มีข้อความว่า
“คู่สัญญาตกลงกันว่าผู้กู้จะชำาระหนี้อย่างอื่นแทนการชำาระเงินไม่ได้เป็นอันขาด” มิได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด

กฎหมายหน้ารู้

ทวงถามลูกหนี้

ทวงถามลูกหนี้

เมื่อพูดถึงลูกหนี้กับเจ้าหนี้แล้วนั้น 2 อย่างเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย   แม้นว่าสองฝ่ายได้มีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการเป็นหนี้ตามสัญญาที่แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง  เช่น  สัญญากู้ยืม  สัญญาว่าจ้าง  สัญญาเช่าซื้อ  หรือ หนังสือรับสภาพหนี้ต่างๆที่เกิดขึ้น

ท่านอาจสงสัยว่าหากลูกหนี้ผิดนัดแล้ว  ฝ่ายลูกหนี้ยังมีสิทธิ์ในการพูดคุยขอลดหย่อนผ่อนหนี้กับลูกหนี้ได้อีกหรือไม่นั้น   ในทัศนะของทนายความเห็นว่า  ในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้  หากฝ่ายใดต้องการที่จะพูดคุยหรือไกล่เกลี่ยเพื่อชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นกับอีกฝ่ายนั้น   ฝ่ายลูกหนี้ก็สามารถติดต่อเข้าพบหรือหารือเพื่อเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเงื่อนไขที่เคยมีต่อกันมาก่อน  เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และกำหนดยอดชำระกันใหม่  โดยกำหนดข้อตกลงเงื่อนไขในการชำระหรือจ่ายเงินกันใหม่ได้ครับ  แต่ทั้งนี้เจ้าหนี้ต้องให้ความยินยอมด้วยนะครัย   แต่หากเจ้าหนี้ไม่ให้การยินยอมก็ต้องว่ากล่าวไปตามข้อตกลงเงื่อนไขที่อยู่ในสัญญาเดิมทั้งสิ้น

ท่านใดมีข้อสงสัยหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว  ท่านสามารถปรึกษากับทนายความได้ตลอดครับ 02-0473382 ,02-1217414

กฎหมายหน้ารู้

การรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่ออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คมีไม่พอจ่าย

ฎีกาที่  3970/2528  โทรกลับจำเลยเข้าหุ้นกันค้าขายเช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนซึ่งทราบยอดเงินในบัญชีดีและทอรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่จำเลยออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายเท่ากับโจทย์สมคบการสลักหลังโอนเช็คให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินและนำเช็คมาฟ้องคดีโดยตอบไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และโจทก์ทราบความเป็นมาของเช็คพิพาทดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยย่อมไม่มีความผิด

ฎีกาที่  1523-1524/2525  จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์ทราบดีแล้วว่าขณะที่ออกเช็คนั้นจำเลยไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คได้และจำเลยอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้ต้องออกเช็คการออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้า

การออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันครบกำหนดชำระเงิน ในส่วนนี้ศาลได้มีแนวคำพิพากษาฎีกาไว้ดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 7569/2541    การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมโดยปรากฏว่าวันเสาร์จ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงินแสดงว่าขนาดเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้น  ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องและบังคับได้ตามกฎหมาย      การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้วไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตามเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน    จำเลยที่๒ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

ฎีกาที่ 6888/2550  ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค      พ. ศ.2534 นั้น    วันออกเช็คย่อมหมายถึง  วันที่ลงในเช็คส่วนวันที่เขียนเช็คหรือมอบเช็คให้แก่ผู้เสียหายหาใช่วันที่ออกเช็คไม่ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าหลังจากที่ผู้เสียหายได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและเช็คพิพาทแล้วผู้เสียหายก็มอบเงินที่กู้ยืมให้แก่จำเลยในวันเดียวกันนั้น ปรากฏว่าวันสั่งจ่ายเช็คที่ลงในเช็คพิพาทตรงกับวันครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแสดงว่าขณะที่เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือเป็นออกเช็คดังกล่าวสมบูรณ์และมีหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน    การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

 

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น มีการออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พุทธศักราช 2527 ใช้บังคับปรากฏว่า

การกู้ยืมเงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปโดยมีการจ่ายเงิน  ดอกเบี้ย  หรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินไปกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจากเพิ่งหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติโดยผู้กระทำได้ร่วมประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตน ด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่นๆมาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ฝากเงินรายก่อนๆในลักษณะต่อเนื่องกันอันเป็นลักษณะของการฉ้อโกงประชาชนเพราะจะไม่ได้รับเงินคืน

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ทางปฏิบัติในการกู้ยืมเงินที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การกล่าวถึงหลักการพื้นๆไม่ลงลึกในรายละเอียด  เพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการแนวทาง ในการทำคดีประเภทนี้ ดังนั้นจึงไม่ควรจะยึดถือเป็นหลักตายตัวไปทั้งหมด จะยึดได้กรณีเฉพาะที่มีการแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเท่านั้น    ส่วนด้านอื่นที่เป็นเทคนิคของผู้ทำคดีแต่ละคนที่จะประยุกต์ใช้หรือมีเทคนิควิธีการที่ดีอยู่แล้วก็ได้ซึ่งเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลไป     ในทางปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงินในแต่ละขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นว่าควรมีสิ่งดังต่อไปนี้

  1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องกระทำเมื่อเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี ทางหนึ่งที่จะได้ข้อเท็จจริงก็คือการตรวจสอบซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริงจากตัวความ เพิ่งมาติดต่อปรึกษาว่าจ้างให้เราเป็นทนายความให้ จะต้องซักถามรายละเอียดและข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมีอะไร อย่างไรบ้าง ต้องรวบรวมไว้ซึ่งจะต้องซักถามรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อมองลู่ทางรูปเขาของคดีแล้ว เมื่อตัดสินใจฟ้องร้องก็มักจะมีการออกหนังสือบอกกล่าวที่เรียกว่า Notice เป็นการกล่าวเตือนให้ปฏิบัติการชำระหนี้มิฉะนั้นจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ลักษณะของหนังสือบอกกล่าวนั้นควรมีลักษณะตรงไปตรงมา กล่าวถึงเหตุผลความเป็นมาของนิติกรรมสัญญาระหว่างกันการผิดนัดจำนวนหนี้สินที่ต้องชำระตลอดเป็นมาตรการที่จะให้ดำเนินการหากไม่ปฏิบัติตามการชำระหนี้คือ การฟ้องคดีนั้นเอง

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้