หลักการกระทำละเมิด

หลักการกระทำละเมิด 

มาตรา ๔๒๐ บัญญัติว่า “  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี  แก่ร่างกายก็ดี    อนามัยก็ดี   เสรีภาพก็ดี  ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า  ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  ”

กฎหมายหน้ารู้

ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจะต้องทำอย่างไร

ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจะต้องทำอย่างไร

ผู้ขอปล่อยตัวชั่วคราวมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้โดยคำสั่งของศาลชั้นต้นให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา

คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สุด    แต่ไม่ตัดสิทธิ์ที่จะขอยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวใหม่ได้

กฎหมายหน้ารู้

หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว

หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว

1) โฉนดที่ดิน  นส.3ก.หรือ น.ส.3

2) เงินสดพันธบัตรรัฐบาลสลากออมสิน

3) สมุดเงินฝากประจำที่ฝากไว้กับธนาคารต่างๆเช่นธนาคารกรุงเทพธนาคารกสิกรธนาคารออมสินธนาคารไทยพาณิชย์เป็นต้น

4) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย

5) เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย

6) หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย หรือเรียกว่ากรมธรรม์ประกันอิสรภาพ

กฎหมายหน้ารู้

ผลของดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตรา

ผลของดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตรา

การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราโดยมีการเรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนิติกรรมการกู้ยืมตกเป็น “ โมฆะ ” ดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปนั้นจะมีการคืนหรือไม่ หรือสามารถนำไปหักยอดหนี้ได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ชำระทราบหรือไม่ว่าตนชำระตามอำเภอใจโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ    หากมีการชำระตามอำเภอใจตาม มาตรา47  ก็เรียกคืนไม่ได้หรือนำไปหักยอดหนี้ไม่ได้  กรณีจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

หลักฐานในการกู้ยืมเงิน

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 วรรคแรกได้วางบทบัญญัติไว้ว่า “  ในการกู้ยืมเงิน กว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น      ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ”

        ซึ่งจากบทบัญญัติตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนี้   ก็จะตั้งข้อสังเกตได้ดังนี้

  1. การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีนั้น ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2000 บาทขึ้นไป    ดังนั้นการกู้ยืมเงินกันเพียง 2,000 บาทพอดี  หรือต่ำกว่าจึงไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีแต่อย่างใด
  2. หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม แต่เป็นหลักฐานที่กฎหมายบังคับให้มี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ เพราะถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องของแบบนิติกรรมแล้วก็คงจะบัญญัติให้เป็นโมฆะไม่ใช่บัญญัติแต่เพียงว่าให้มีผลฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้เท่านั้น     ไม่เหมือนกับกรณีให้ทำเป็นหนังสือ กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นแบบ

3.หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องมีในขณะกู้ยืมเงินกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือในภายหลัง   แต่ก่อนฟ้องคดีก็เป็นอันใช้ได้แล้ว

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

กรณีไม่ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

ฎีกาที่  530/2522

ผู้ขอรับชำระหนี้

การขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืม ผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้ยืมเงินนั้นจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้น    เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม ข้อความในแชตก็ไม่มีคำว่าเป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืม เช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม   เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มาแสดงหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้

กฎหมายหน้ารู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

สอบถามเพิ่มเติม

091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

การลงลายมือชื่อ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การลงลายมือชื่อ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กรณีที่มีการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติ   กรณีนี้ก็ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ และมีหลักฐานจากการกู้ยืมแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556

การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินสดและใส่รหัสส่วนตัว เปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง การทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์และกดเงินยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิปไปแล้ว การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7, 8 และ 9   จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจในการฟ้องคดีได้

กฎหมายหน้ารู้

ผลของดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตรา

การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราโดยมีการเรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนิติกรรมการกู้ยืมตกเป็น “ โมฆะ ” ดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปนั้นจะมีการคืนหรือไม่ หรือสามารถนำไปหักยอดหนี้ได้หรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ชำระทราบหรือไม่ว่าตนชำระตามอำเภอใจโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ    หากมีการชำระตามอำเภอใจตาม มาตรา47  ก็เรียกคืนไม่ได้หรือนำไปหักยอดหนี้ไม่ได้  กรณีจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฉบับเดิมคือ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา    พ.ศ..2475 มีเรื่องกฎหมายต่างๆมากมายที่ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยไว้   แม้กฎหมายฉบับดังกล่าวจะได้มีการยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา มาตรา2560 แล้ว  แต่หลักการสาระสำคัญโดยเฉพาะฐานความผิดของกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่นั้นใกล้เคียงกัน  ดังนั้นแนวบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของศาลฎีกาตามกฎหมายเก่าจึงสามารถนำมาใช้เทียนในประเด็นต่างๆได้จึงเห็นสมควรปรึกษาข้อกฎหมายต่างๆ

กรณีมีอำนาจตามกฎหมายในการเรียกดอกเบี้ยทบต้น หากมีอำนาจตามกฎหมายในการเรียกดอกเบี้ยทบต้นก็สามารถทำได้และว่าการเรียกดอกเบี้ยทบต้นเมื่อรวมแล้วเกินอัตราตามกฎหมายก็ไม่ต้องห้าม

ฎีกาที่ 658 – 659/2511

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้เมื่อ รวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้ดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ15 ต่อปีก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  มาตรา 2475, มาตรา 3

ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนโดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดจึงใช้ได้ “ ไม่เป็นโมฆะ ”

สอบถามเพิ่มเติม 091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้