สำคัญก่อนขึ้นศาล

สำคัญก่อนขึ้นศาล

ด้วยสภาพเศรษฐกิจสังคม และครอบครัวในปัจจุบัน ปัญหาคดีความถือก็ยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่มีคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไทย
ปัญหาการเริ่มต้นคดีความที่ผิดพลาด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีความ บางท่านไปศาลตามกำหนดนัดหมายส่งผลให้ศาลตัดสินแพ้คดีได้ง่ายๆ บางท่านในคดีอาญาศาลอาจจะสั่งจำคุกจนกลับบ้านไม่ได้เลยทีเดียว
ดังนั้นเรื่องนี้ทนายเห็นว่าการเตรียมตัวขึ้นศาลก่อนวันนัดหมายจึงมีความสำคัญมากกว่าวันพิจารณาคดีด้วยซ้ำไป ความสำคัญของการเตรียมคดีจึงอยู่ที่ว่า ท่านได้เข้าพบ ประชุม และหาช่องทางออก หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีความกับที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความที่ท่านไว้วางใจก่อนวันนัดหมายหรือไม่ เพราะที่ปรึกษาคือสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงที่จะคอยดูแลเป็นที่ปรึกษา และวางแผนในการแก้ปัญหาให้ท่านได้เป็นอย่างดี
เมื่อท่านรู้แนวทางหรือช่องทางในการดำเนินคดี ก่อนล่วงหน้า ท่านก็จะรู้ว่าสิ่งที่ท่านจะต้องเตรียมตัวก่อนวันนัดหมายของศาลนั้นควรจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้คดีความของท่านเกิดความราบรื่น ไม่เสียหาย ตรงความต้องการของท่านได้
ท้ายนี้ ทนายขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน เพื่อจะก้าวผ่านพ้นวิกฤต เศรษฐกิจในช่วงนี้ครับ
ท่านใด สงสัย หรือต้องการสอบถามข้อกฎหมายใดๆ สามารถ ทักทายเข้ามาคุยกับทนายได้ทุกวัน
#ติดต่อ 02-1217414 , 091-0473382
หรือกดลิงค์ : https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

การแจ้งความเท็จ

 

การแจ้งความเท็จ

การกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จมักจะเกี่ยวเนื่องกับกรณีการไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานหรือพนักงานสอบสวน ซึ่งผู้แจ้งอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไป

             มาตรา  137 บัญญัติว่าผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ https://www.funpizza.net/

             มาตรา  172  บัญญัติว่าผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

             มาตรา  173  บัญญัติว่าผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่าได้มีการกระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน  6,000  บาท https://www.highlandstheatre.com/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

1)เตรียมหลักประกันตัวให้ครบถ้วนทำการศึกษาว่าเรานั้นจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้หลักประกันแต่ละแบบแต่ละท้องที่ศาลอาจจะใช้ได้แตกต่างกันออกไป

2) หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้เช่นทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงานเพื่อให้รู้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้นำทรัพย์นั้นมาทำการประกันได้นั่นเอง

3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจะต้องลงชื่อในสัญญาประกันและทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับประกันและวันเวลานัดให้ท่านเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต https://www.highlandstheatre.com/

4) เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อนโปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลงเมื่อศาลรับฟ้อง

5) หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาล ให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบเพื่อจะมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่สำนักงานอัยการแต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะ รับประกันไม่เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหา https://www.funpizza.net/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

 

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

ความรับผิดของผู้ออกเช็ค

องค์ประกอบเดียว ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่าเป็นผู้ออกเช็คตาม ข้อที่ 1 ย่อมมีความผิดแม้จะมีเหตุเหล่านี้มาประกอบก็ตาม

  1. ผู้ออกเช็คจะไม่มีหนี้สินกับผู้ทรงโดยตรง

ฎีกาที่  1273 2/2557 3 เมื่อจำเลยที่  2  เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เงินในเช็คพิพาททั้งสองฉบับชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมทั้งยังให้ตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่  2  ว่าเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คในนามจำเลยที่ 1 แก่ธนาคาร   ดังนี้แม้จำเลยที่  2 จะไม่ได้เป็นผู้สั่ง ซื้อสินค้าหรือมีหนี้สินใดกับโจทก์ร่วมโดยตรง    เมื่อจำเลยที่ 2 ลงมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้ง  2  ฉบับ   จำเลยที่  2  ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในฐานะผู้สั่งจ่าย

2.  บัญชีเงินฝากปิด

ฎีกาที่  1017/2567  บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ใน มาตรา  487  และ  488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ โทรออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497

ฎีกาที่  249/2527  จำเลยรับกระบือจากโจทก์  29  และออกเช็คให้โจทก์  2  ฉบับคณะออกเช็คบัญชีของจำเลยผิดแล้วดังนั้นเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่ากระบือที่โจทก์ขายขาดให้จำเลยไม่เป็นการออกเช็คเพื่อประกันการชำระราคากระบือเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

การรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า   ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับถ้าปรากฏว่าผู้นั้น

1) ไม่เคยรับโทษ จำคุกมาก่อน

2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ

3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่า 5 ปีแล้วมากระทำความผิดอีกด้วยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุประวัติ  ความประพฤติ  สติปัญญา  การศึกษาอบรม  สุขภาพ  สภาวะแห่งกิจนิสัย  อาชีพ   และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น  หรือสภาพความผิดหรือการรู้สึกความผิด และการพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น  หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว   ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่เรากำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด  แต่ต้องไม่เกิน5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาโดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อควบคุมความความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

การรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่ออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีของผู้ออกเช็คมีไม่พอจ่าย

ฎีกาที่  3970/2528  โทรกลับจำเลยเข้าหุ้นกันค้าขายเช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนซึ่งทราบยอดเงินในบัญชีดีและทอรับเช็คไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าขณะที่จำเลยออกเช็คให้นั้นเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายเท่ากับโจทย์สมคบการสลักหลังโอนเช็คให้โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินและนำเช็คมาฟ้องคดีโดยตอบไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และโจทก์ทราบความเป็นมาของเช็คพิพาทดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยย่อมไม่มีความผิด

ฎีกาที่  1523-1524/2525  จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์โดยโจทก์ทราบดีแล้วว่าขณะที่ออกเช็คนั้นจำเลยไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คได้และจำเลยอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้ต้องออกเช็คการออกเช็คของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.  2497

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็ค ของผู้อื่นและลงลายมือชื่อผู้อื่น

ออกเช็ค ของผู้อื่นและลงลายมือชื่อผู้อื่น

ในส่วนกรณีนี้ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเอาไว้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 1983/2514

จำเลยใช้เช็คของส.และลงชื่อส.เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นและมอบให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ทำให้ผู้เสียหายลงผิดว่าจำเลยเป็น ส.ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย  แต่ผู้เสียหายไปรับเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน  เช่นนี้ถือเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้า

การออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันครบกำหนดชำระเงิน ในส่วนนี้ศาลได้มีแนวคำพิพากษาฎีกาไว้ดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 7569/2541    การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมโดยปรากฏว่าวันเสาร์จ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงินแสดงว่าขนาดเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้น  ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องและบังคับได้ตามกฎหมาย      การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้วไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตามเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน    จำเลยที่๒ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

ฎีกาที่ 6888/2550  ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค      พ. ศ.2534 นั้น    วันออกเช็คย่อมหมายถึง  วันที่ลงในเช็คส่วนวันที่เขียนเช็คหรือมอบเช็คให้แก่ผู้เสียหายหาใช่วันที่ออกเช็คไม่ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าหลังจากที่ผู้เสียหายได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและเช็คพิพาทแล้วผู้เสียหายก็มอบเงินที่กู้ยืมให้แก่จำเลยในวันเดียวกันนั้น ปรากฏว่าวันสั่งจ่ายเช็คที่ลงในเช็คพิพาทตรงกับวันครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแสดงว่าขณะที่เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือเป็นออกเช็คดังกล่าวสมบูรณ์และมีหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน    การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

 

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเช็ค

          ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเช็ค

กรณีที่มีการออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยที่มีการเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยให้แก่ผู้เสียหาย กรณีนี้ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราหากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็ไม่ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหาย ตามกฎหมาย

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้