📑 หลักการ 9 ข้อ ที่ผู้ค้ำประกันต้องรู้

กฎหมายหน้ารู้

💰ยืมเงินไม่มีสัญญาฟ้องศาลได้หรือไม่ ?

กฎหมายหน้ารู้

💵 ปล่อยกู้ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

กฎหมายหน้ารู้

2 ขั้นตอนสำคัญ ก่อนเซ็นต์สัญญากู้ยืม

กฎหมายหน้ารู้

มารู้จัก “บัญชีม้า” กัน

💥มารู้จัก “บัญชีม้า” กัน
             บัญชีม้า คือ บัญชีที่ถูกเปิดเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่น นำไปใช้ทำเรื่องผิดกฎหมาย หรือเอาไว้ใช้สำหรับ
ถ่ายเท หรือใช้ในการฟอกเงิน โดยบัญชีม้าคนที่ถือครองบัญชีมักจะไม่ใช้เจ้าของตัวจริง แต่จะเป็นของมิจฉาชีพนำไปใช้
ซึ่งส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะใช้วิธีการจ้างวานคนทั่ว ๆ ไปให้ทำการเปิดบัญชีธนาคาร โดยให้เงินค่าจ้างแล้วแต่ตกลงกัน
ซึ่งส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักมองหาเหยื่อที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือคนสูงอายุ เพราะใช้เงินเป็นตัวหลอกล่อให้ตกหลุมพราง
หรืออีกวิธีก็คือการสวมรอยเป็นเจ้าของบัญชี โดยการขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์
และหมายเลขบัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก แล้วนำไปเปิดบัญชีออนไลน์ กว่าจะเจ้าของข้อมูลจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
           เครื่องมือประกอบการก่อเหตุที่สำคัญของเหล่ามิจฉาชีพ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้เป็นทริคเอาตัวรอดจากการ
ตกเป็นเหยื่อได้ พร้อมเปิดโทษหนักทั้งปรับและจำคุก ใครที่คิดจะอาสารับงานนี้ คงต้องระวังให้มากๆ เรื่องนี้ต้องเตือนดังๆ
ด้วยความหวังดี
           อย่างไรก็ตาม ตามปกติแล้วคนธรรมดาส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มีการเปิดบัญชีม้าดังกล่าวกัน แต่ผู้ที่ใช้ส่วนใหญ่
คือกลุ่ม “มิจฉาชีพ” เพื่อใช้ปกปิดตัวตนที่แท้จริงสำหรับก่อเหตุหรือกระทำความผิด ด้วยเหตุนี้ กลลวงมิจฉาชีพแทบ
จะทุกรูปแบบจึงมักมีการใช้บัญชีม้าประกอบด้วยเสมอ

กฎหมายหน้ารู้

ความรับผิดเจ้าของบัญชีม้าในคดีอาญา

ความรับผิดเจ้าของบัญชีม้าในคดีอาญา

           ตามพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ระบุว่า

เจ้าของบัญชีม้า หรือเบอร์ม้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมถึงผู้ที่เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก

บัตรอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 – 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 – 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายหน้ารู้

4 เรื่องต้องทำ เมื่อตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์

📌 4 เรื่องต้องทำ เมื่อตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์
      ประการที่ 1 ให้ท่านโทรแจ้งระงับบัญชีธนาคารโดยทันที โดยธนาคารจะระงับได้ไม่เกิน 7 วันและจะส่งต่อข้อมูลให้ธนาคารอื่นทราบเพื่อระงับบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้อง
     ประการที่ 2 ควรเก็บหลักฐานการโอนเงิน เพราะหากโอนเงินแล้วผู้เสียหายควรจะจัดเก็บหลักฐานเช่นเลขบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี รวมทั้งสาขาที่โอนหรือการโอนเงินรูปแบบอื่นๆที่มีหลักฐาน ท่านควรเก็บรักษาหลักฐานนี้เอาไว้
    ประการที่ 3 ควรเก็บหลักฐานการติดต่อ สำหรับหลักฐานการติดต่อดังกล่าวในเรื่องนี้ผู้เสียหายควรเก็บข้อมูลอีเมลและข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ใดๆหรือการติดต่อสื่อสารทุกช่องทางกับผู้กระทำความผิด
    ประการที่ 4 ผู้เสียหายควรแจ้งความภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับบัญชีดังกล่าวภายใน 7 วัน โดยแจ้งความได้ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือสถานีตำรวจทั่วประเทศ
   ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงในการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมิจฉาชีพทางออนไลน์นี้ แนะนำให้ท่านไม่กดลิงค์ โหลดข้อมูล หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวเข้าไปในระบบออนไลน์ หรือพูดคุยทางโทรศัพท์กับบุคคลที่ท่านไม่รู้จัก สิ่งต่างๆสามารถช่วยลดผลกระทบจากความเสียหายดังกล่าวนี้ได้

กฎหมายหน้ารู้

6 อาชญากรรมออนไลน์ ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อ

6 อาชญากรรมออนไลน์   ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อ

  1. แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ( Vishing Phishing ) มักพยายามสร้างสถานการณ์ให้ผู้เสียหายตกใจกลัว หรือสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยรัฐต่างๆโดยแอบอ้างว่าผู้เสียหายมีส่วนรู้เห็นหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำสิ่งผิดกฎหมาย หากมั่นใจว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้สอบถามข้อมูลกับคู่สายอย่างละเอียด และขอวางสายก่อนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกที

 

  1. หลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่ ( Ponzi Scheme ) มาในรูปแบบของแอพลิเคชันหรือเว็บไซต์ ที่หลอกชักชวนให้ร่วมลงทุนในหลากหลายธุรกิจ โดยอ้างว่าจะได้รับผลกำไรตอบแทนที่สูงในระยะเวลาสั้นๆ ควรศึกษาหาความรู้ก่อนลงทัน คิดก่อนตัดสินใจ เมื่อถูกชักชวนให้ลงทุน ตื่นตัวและติดตามข่าวสารใหม่ ที่เกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่หรือการหลอกลงทุนอยู่เสมอ

 

  1. หลอกรักออนไลน์ ( Romance Scam ) มิจฉาชีพมักสร้างโปรไฟล์ที่ดูดีน่าเชื่อถือ และมีฐานะ โดยเข้ามาทักทายและพูดคุยและตีสนิทให้ผู้เสียหายหลงรักและเชื่อใจจนขาดสติ หลงโอนเงินหรือทรัพย์สินให้โดยง่ายก่อนโอนเงินให้บุคคลที่คุ้นเคย หรือรู้จักจากช่องทางออนไลน์ ควรตรวจข้อมูล และประวัติให้แน่ใจก่อน

 

  1. หลอกขายสินค้า ( Sales Scam ) หลอกให้ผู้เสียหายเชื่อใจ โอนเงินมัดจำให้ หลังผู้เสียหายชำระเงินแล้วไม่มีการจัดส่งสินค้า สินค้าไม่ตรงปก ไม่ได้มาตรฐานหรือสินค้าปลอม แล้วทำการบล็อกหรือลบช่องทางการติดต่อควรเลือกชำระสินค้าแบบปลายทาง หรือนัดรับสินค้าแบบเจอกัน และสามารถนำรายชื่อผู้ขายไปตรวจสอบประวัติการโกงเบื้องต้นได้ที่

 

  1. หลอกผ่านอีเมล ( Email Scam ) มาในรูปแบบข้อความหรืออีเมลแสดงความยินดี หรือเชิญชวนทำงาน โดยกดลิงก์ผ่านเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมาเพื่อให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลส่วนตัวควรตรวจสอบที่มาของเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่

 

  1. หลอกขายทัวร์ ( Tourist Scam ) การขายทัวร์ทิพย์ ส่วนมากสร้างเพจกลุ่มท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ ให้เกิดความเชื่อถือด้วยภาพที่ไปเที่ยวในต่างประเทศ หรือใช้หน้าม้ามารีวิวจัดโปรแกรมท่องเที่ยวในราคาไม่แพงเก็บเงินล่วงหน้าแล้วหาเหตุหลบหนี อย่าหลงเชื่อโปรโมชั่น ที่ถูกเกินความเป็นจริง อย่าหลงเชื่อรีวิวง่ายๆ และควรตรวจสอบบริษัทหรือเจ้าของทัวร์อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดจากการนำรถจำนำ ที่เจ้าของรถต้องรู้

❌ความผิดจากการนำรถจำนำ ที่เจ้าของรถต้องรู้
        กรณีมิจฉาชีพหาช่องว่างทางกฎหมายกระทำความผิดและเบียดบังผู้ที่กำลังเดือดร้อน โดยนำรถที่จำนำไว้ไปขาย โดยไม่แจ้งให้เจ้าของรถทราบ จนเป็นข่าวให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการ “จำนำ” นั้นอาจต้องรับผิดทั้งเจ้าของรถและผู้รับจำนำ
       หากผู้เช่าซื้อนำรถที่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไปจำนำหรือขายให้กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อ จะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 “ ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
       สำหรับผู้ที่รับซื้อรถที่ติดไฟแนนซ์ ผู้ที่ประกอบธุรกิจรับซื้อขายรถยนต์ตามเต็นท์หรือตามอินเทอร์เน็ต
มีความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357“ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ  รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มา โดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
       ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท  ตามมาตรา 357 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายอาญา
      ข้อมูลจาก : ประมวลกฎหมายอาญา 335 (10)
      มาตรา 352 มาตรา 357

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อ

กฎหมายหน้ารู้