ความหมายของสัญญาจ้างทำของ

ความหมายของสัญญาจ้างทำของ https://www.funpizza.net/

            สัญญาว่าจ้างทำของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้

สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน https://www.highlandstheatre.com/

           กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกันสัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ    กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง https://www.sushitokyo.net/

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ในชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดี

ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ในชั้นเจ้าพนักงานบังคับคดี

ก่อนที่ท่านจะเข้าซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ท่านควรตรวจสอบรายละเอียดของทรัพย์ที่ท่านสนใจก่อน โดยสามารถตรวจสอบรายละเอียดจากประกาศขายทอดตลาด ซึ่งระบุรายละเอียด ประเภทของทรัพย์ที่ตั้งวัน เวลา สถานที่ที่จะทำ การขายทอดตลาด เงื่อนไขในการเข้าสู้ราคา ข้อสัญญาคำ เตือนผู้ซื้อและแผนที่การไปที่ปรากฏ

ในประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์นั้นโดยละเอียดครบถ้วน  ผู้ประสงค์จะเข้าสู้ราคาต้องวางหลักประกันการเข้าสู้ราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็ค โดยสั่งจ่ายสำ นักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 ถึง 6 หรือสำ นักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เป็นจำ นวนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง กำ หนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการขายทอดตลาดต่อไป เว้นแต่ ผู้เข้าสู้ราคานั้นเป็นผู้มีสิทธิหักส่วนได้ใช้แทน หรือคู่สมรสที่ศาลมีคำ สั่งอนุญาต

ให้กันส่วนแล้ว และต้องทำ สัญญาหรือข้อตกลงผูกพันกับกรมบังคับคดีในการเสนอราคา มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิเข้าสู้ราคา

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

วิธีดำเนินการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย

วิธีดำเนินการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย

                 การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ให้นำหมวดที่ ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม     เมื่อได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ทำการยึดทรัพย์ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง ดำเนินการยึดทรัพย์ภายในเวลาอันสมควร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั่วไป

                ถ้าผู้นำยึดในคดีล้มละลายไม่จัดการนำยึดทรัพย์ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่กองบังคับคดีแพ่งได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบทั้งนี้ไม่กินความถึงทรัพย์ที่มีเจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกัน เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ติดการจำนอง เป็นต้น

               ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือ ของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ ในคดีล้มละลาย ในการยึดทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ อันเป็นของลูกหนี้หรือที่ลูกหนี้ได้ครอบครองอยู่ และมีอำนาจหักพังเข้าไปในสถานที่นั้น ๆ รวมทั้งเปิดตู้นิรภัย ตู้ หรือ ที่เก็บของอื่น ๆ ตามที่จำเป็น

               ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีสงสัยว่าจะมีทรัพย์สินของลูกหนี้ซุกซ่อนอยู่ในเรือนโรงเคหสถาน หรือสถานที่อื่นอันมิใช่เป็นของลูกหนี้ ให้รายงานต่อผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่ง เพื่อแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอหมายค้นจากศาลต่อไป

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ

การยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ

ในคดีอาญาซึ่งจำเลยไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาเมื่อศาลส่งหมายบังคับคดีมายังกรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดแล้ว     ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว ดำเนินการตามหมายบังคับคดีนั้น และให้นำหมวด ๒ แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับคดีโดยอนุโลม     สำหรับกรณีเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เบิกจากงบประมาณของกรมบังคับคดี

ถ้าหมายบังคับคดีของศาลมิได้กำหนดผู้นำยึดก็ดี หรือกำหนดผู้นำยึดก็ดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชักช้า หากไม่สามารถทำการยึดด้วยประการใด ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ผู้นำยึดทรัพย์  ระเบียบ และข้อกฎหมาย

ผู้นำยึดทรัพย์  ระเบียบ และข้อกฎหมาย

         ผู้นำยึด  คือ  ผู้ซึ่งได้ระบุไว้ในหมายบังคับคดีหรือในหนังสือของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า เป็นผู้นำยึด       ผู้นำยึดอาจมอบอำนาจให้ทนายความของตน หรือ ผู้หนึ่งผู้ใดมาทำการแทนก็ได้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบพิมพ์กรมบังคับคดี

         ตามระเบียบแล้ว  ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำการบังคับคดี ต้องให้ผู้นำยึด หรือผู้รับมอบอำนาจทำคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามแบบพิมพ์กรมบังคับคดี และวางเงินค่าใช้จ่าย(๑) ไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดตามอำนาจในกฎหมาย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่าเช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ และค่าจ้างคนเฝ้ารักษาทรัพย์ด้วย

         กรณีถ้าเป็นการยึดที่ดิน ให้ผู้นำยึดส่งโฉนด หรือ หนังสือสำคัญสำหรับที่ดินรายที่จะนำยึดหรือสำเนาซึ่งเจ้าพนักงานรับรอง ถ้าหากมี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบก่อน      ผู้นำยึดเป็นผู้ช่วยเหลือให้ความสะดวก จัดยานพาหนะรับและส่งเจ้าพนักงานบังคับคดี ตลอดจนการขนย้าย และการเก็บรักษาทรัพย์ และออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะร้องขอ      ผู้นำยึดต้องอยู่ในสถานที่ยึดทรัพย์เพื่อชี้ทรัพย์(๒) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำการยึดและช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์ตามแต่เจ้าพนักงานบังคับจะขอร้องเพื่อให้การยึดสำเร็จไปโดยมิชักช้า

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

 ในกรณีผู้นำยึดแถลงความประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้นำส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ดังนี้

          (๑) เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส. ๓ นส. ๓ก.) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสำคัญที่ดินอื่นๆ หรือสำเนาที่เจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน ๑ เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่นหนังสือสัญญาจำนอง เป็นต้น

          (๒) แจ้งภูมิลำเนาและส่งสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๑ เดือน

          (๓) แผนที่การเดินทางไปทรัพย์ที่จะยึด พร้อมสำเนา

          (๔) ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึดโดยระบุขนาดกว้างยาว

          (๕) ราคาประเมินที่ดิน ห้องชุด ที่เจ้าพนักงานรับรอง

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

อำนาจเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานการบังคับคดี

อำนาจเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานการบังคับคดี

       เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจะดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหมายบังคับคดี หรือตามคำสั่งของศาล หรือ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายได้แต่ภายในเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี หรือมีคำสั่ง หรือขอบอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์      กรณีถ้าจะต้องบังคับคดีนอกเขตอำนาจของศาลที่ออกหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานพร้อมส่งหมายที่จะมีการบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแทน

       เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายบังคับคดีหรือคำสั่งของศาล หรือการมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการตามหมายบังคับคดี หรือ คำสั่ง หรือการมอบหมายนั้นภายในเวลาอันสมควร  

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

การอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

การอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

ท่านต้องไปแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอายัดโดยในคำแถลงต้องระบุถึงประเภททรัพย์ที่จะให้อายัดและต้องส่งสำเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องที่อายัด ซึ่งเจ้าพนักงานรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมสำเนา 1ฉบับ และสำเนาบัญชีค่าฤชาธรรมเนียมศาล สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของนายจ้างหรือบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด รวมทั้งเตรียมเงินทดรองค่าใช้จ่ายจำ นวน 1,500  บาท ไปด้วย

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

https://line.me/ti/p/VMuEj01WUO

กฎหมายหน้ารู้

อายุความคดีเช่าซื้อ

อายุความคดีเช่าซื้อ

     1. อายุความสัญญาเช่าซื้อ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 https://www.sushitokyo.net/

     2. อายุความค่าขาดประโยชน์ ก่อนสัญญาสิ้นสุดลง มีอายุความ 6 เดือน หลังสัญญาสิ้นสุดแล้ว มีอายุความ 10 ปี

     3. อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีอายุความ 2 ปี

     4. อายุความฟ้องเรียกค่าขายรถขาดทุน มีอายุความ 10 ปี

     5. อายุความฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคารถยนต์แทน มีอายุความ 10 ปี

     6. อายุความฟ้องเรียกรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืน เป็นการติดตามเอาทรัพย์คืน ตามมาตรา 1336 ไม่มีอายุความ

ติดตามคืนได้ตลอด แต่กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปแล้ว หรือตกเป็นของผู้อื่นแล้ว

ตามการครอบครองปรปักษ์ ก็ฟ้องติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไม่ได้ (ต้องนำสืบถึงเจตนาที่เราต้องการ

เป็นเจ้าของอย่างเปิดเผยด้วย) https://www.funpizza.net/

 

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ Tel. 02-1217414, 091-0473382 https://www.highlandstheatre.com/

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา

        ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของ และหากไฟแนนซ์รับรถยนต์คันเช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายทอดตลาดได้ราคาไม่ครบถ้วนตามสัญญา ผู้เช่าซื้อไม่จำต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าขาดราคานั้น   ถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลังหาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน

#ปรึกษาเรา ” สยามอินเตอร์ลอว์ “สำนักงานกฎหมาย ทนายความ

Tel. 02-1217414, 091-0473382

 

กฎหมายหน้ารู้