การกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ” ผู้ให้กู้ ” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกําหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ไม่ก็ได้
ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น จะต้องมีหลักฐานในการกู้ยืมเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อของคนยืมเป็นสําคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินกันนี้เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบ บังคับคนจน กฎหมายจึงได้กําหนดค่าอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือ ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัท เงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน)
ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทังหมด (เป็นโมฆะ) คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
การเช่าทรัพย์ คือสัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ ที่จะต้องชําระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ ที่จะต้องชําระค่าเช่าเป็นการตอบแทน
หลักเกณฑ์การเช่า
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา การเช่าทรัพย์มีรายละเอียดและข้อกำหนดการเช่าทรัพย์เอาไว้ดังต่อไปนี้
1) สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือ มีกําหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้องนําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2) ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว
3) ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เหมือนทรัพย์สินของตนเอง และยอมให้ผู้ให้เช่าตรวจตราทรัพย์สินเป็นครั้งคราว และไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สิน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า
4) ผู้เช่าต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อสัญญาเช่านั้นสิ้นสุดลง
———————————————————————————————————————-
4 ข้อสำคัญ ทำให้สัญญาไร้ผล
สัญญาที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลทำให้สัญญาที่เราได้ทำกันไว้ไม่สามารถนำใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า “สัญญาเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มต้น”
สัญญาที่ไม่สามารถใช้บังคับได้นั้น มีดังต่อไปนี้
📍ประการที่ 1 สัญญานั้นมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
📍ประการที่ 2 สัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยที่สามารถนำมาใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
📍ประการที่ 3 สัญญานั้นทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
📍ประการที่ 4 กฎหมายได้กำหนดว่าการกระทำนั้นๆเป็นโมฆะ หรือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้
ตัวแทนองค์กรหรือหน่วยงานนิติบุคคลใดบ้างที่สามารถเข้าเป็นผู้แทนในการทำสัญญาแทนนิติบุคคลนั้นได้
ลำดับที่ 1 บริษัทจำกัด มีผู้แทนในการทำสัญญาได้ก็คือกรรมการของบริษัท
ลำดับที่ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้แทนในการทำสัญญาได้ก็คือหุ้นส่วนผู้จัดการ
ลำดับที่ 3 สมาคมหรือมูลนิธิ มีผู้แทนทำสัญญาได้คือคณะกรรมการสมาคมหรือมูลนิธินั้น
ลำดับที่ 4 วัด มีผู้มีอำนาจในการทำสัญญาแทนได้ก็คือเจ้าอาวาส
ลำดับที่ 5 กระทรวง มีผู้แทนทำสัญญาได้ก็คือปลัดกระทรวง
ลำดับที่ 6 กรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนในการทำนิติกรรมสัญญาได้
ลำดับที่ 7 จังหวัด มีผู้แทนในการทำนิติกรรมสัญญาได้คือผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำดับที่ 8 ได้แก่พรรคการเมือง มีผู้แทนที่สามารถทำนิติกรรมได้คือหัวหน้าพรรคการเมือง
ท่านเคยไหมครับที่ได้ทำสัญญาไปแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะมีผลบังคับตามกฎหมายได้หรือไม่อย่างไร
สำหรับในเรื่องกฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาเบื้องต้นเอาไว้ว่า การทำสัญญาจะมีผลเป็นสัญญาได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า 2 ฝ่ายเข้ามาทำการตกลงโดยมีข้อเสนอและข้อสนองที่ตรงกัน
จึงจะทำให้เกิดสัญญาขึ้นได้ ส่งผลให้ขอให้เกิดหนี้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้ต่อกันด้วย และฝ่ายเจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์เรียกร้องให้ลูกหนี้ได้สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้เช่นเดียวกัน
แต่ในเรื่องนี้สำคัญอยู่ที่ว่าหากสัญญาที่เราทำไว้ไม่ถูกต้องล่ะ จะส่งผลทำให้สัญญาที่เราทำไว้บังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ ในเรื่องนี้กฎหมายเขาได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่า หากมีสัญญาใดที่ทำไว้โดยมีรายละเอียดและข้อบังคับที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ก็ให้นำสัญญานั้นมาใช้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและไม่ขัดต่อข้อกฎหมายเท่านั้นได้
ด้วยเหตุนี้ ท่านใดที่ทำสัญญาต่างๆไว้คงจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบให้มากขึ้นนะครับ เพราะหากเกิดความผิดพลาดหรือเกิดข้อบกพร่องใดๆแล้วอาจจะส่งผลร้ายต่อทรัพย์สินของท่านเองได้
ลาป่วย ป่วยจริงหรือป่วยการเมือง
#นายจ้างมีสิทธิ์ตัดเงินเดือนได้หรือไม่?
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 32 ถ้าภายในการทำงาน 1 ปี หากลูกจ้างสุขภาพไม่ดี และมีอาการเจ็บป่วยจริง ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิ์
ลางานได้ตามความเป็นจริง โดยตลอดระยะเวลาที่ป่วย ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลาป่วย
แต่ทั้งนี้ภายใน 1 ปี การลาป่วยต้องไม่เกินกว่า 30 วัน
กรณีหากการลาป่วยหรืออาการป่วยนาน ติดต่อเกินกว่า 30 วัน ในส่วนวันที่เกินจะไม่ได้รับค่าจ้าง
และหากลูกจ้างไม่สบาย และลาป่วยติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างมีสิทธิ์ขอดูใบรับรองแพทย์ได้ โดยต้องแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ
__________________________
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี