การชดใช้ค่าสินไหม จากเหตุละเมิด
“จากการเสียชื่อเสียง”
1.ชดใช้ค่าเสียหาย
2.จัดการให้ชื่อเสียงกลับมาดีดังเดิม
3.หรือทั้งสองอย่าง
ค่าสินไหมทดแทนจะชดใชดด้วยวิธีไหน/เท่าไหร่ ศาลจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัย
การชดใช้ค่าสินไหม จากเหตุละเมิด
“จากการเสียชื่อเสียง”
1.ชดใช้ค่าเสียหาย
2.จัดการให้ชื่อเสียงกลับมาดีดังเดิม
3.หรือทั้งสองอย่าง
ค่าสินไหมทดแทนจะชดใชดด้วยวิธีไหน/เท่าไหร่ ศาลจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัย
สิทธิการเรียกค่าเสียหาย “การชดใช้ความเสียหายแก่ชีวิต”
1.ทายาทจะได้รับ
– ค่าปลงศพ
– ค่าใช้จ่ายจำเป็นเพื่อการปลงศพ
– ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต
2. พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และลูกบุญธรรม หรือผู้รับลูกบุญธรรมจะได้รับ
– ค่าขาดการไร้การอุปการะ
3. พ่อแม่ สามีหรือภรรยา ลูก และนายจ้างจะได้รับ
– ค่าชดใช้ขาดแรงงาน
สัญญาค้ำประกัน
การค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน” สัญญาว่าจะชำาระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ ไม่ยอมชําระหนี้
สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ต้องทําหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน
ชนิดของสัญญาค้าประกัน ได้แก่ สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จํากัดจำนวน และสัญญาค้ำประกันจํากัดความรับผิด
————————————————————————————————————————-
การจำนำ
จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชําระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น
หลักเกณฑ์การจำนำที่ต้องปฏิบัติ
1) เมื่อผู้จำนำไม่ชําระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอกกล่าวแก่ผู้จำนำ
2) หากผู้จำนำยังไม่ชําระหนี้อีก ผู้รับจำนำมีสิทธินําทรัพย์สินนั้นขายออกทอดตลาด โดยต้องแจ้งเวลาและสถานที่แก่ผู้จำนำ
3) เมื่อขายทอดตลาดแล้ว ได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ