หลักเกณฑ์พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา

หลักเกณฑ์พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา

         ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ได้กำหนดเอาไว้ว่า “ ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา

หรือจำเลยในคดีนั้น จะต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบด้วย ซึ่งได้แก่ ความหนักเบาแห่งข้อหา พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด

พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีเป็นอย่างไร เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล

กรณีมีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการโจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลต้องนำมาประกอบในการวินิจฉัยการขอปล่อยตัวได้

กฎหมายหน้ารู้

สิทธิเรียกเงินค่าสินไหมทดแทน

สิทธิเรียกเงินค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทนเกิดจากการละเมิดนั้น  ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องจากฝ่ายทำผิดได้

หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลได้  โดยศาลจะเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยการวินิจฉัยตามสมควร

แก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด

ปกติค่าสินไหมทดแทน ได้แก่  การคืนทรัพย์สิน  ที่ผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะการละเมิด  หรือใช้ราคาทรัพย์สินรวม

ทั้งค่าเสียหายพึงบังคับให้ใช้  เพื่อความเสียหายอย่างใดๆที่ได้ก่อขึ้นด้วยสิทธิประโยชน์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

เพื่อเยียวยาความเสียหายจากการถูกทำละเมิด

กฎหมายหน้ารู้

2 กลุ่มสำคัญที่ใช้สิทธิปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลได้

2 กลุ่มสำคัญที่ใช้สิทธิปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลได้

 กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี และบุคคลที่ถูกกักขังหรือจำคุกอยู่ในกรณีอื่น เช่นศาลออกหมายจับพยานที่จงใจไม่มาศาล หรือกรณีละเมิดอำนาจศาล หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกจับกุมโดยเหตุ จงใจขัดขืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 300 เป็นต้นบุคคลเช่นว่านี้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวได้

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีเช่นพ่อแม่ ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้างบุคคลที่เกี่ยวข้องกันโดยทางสมรส บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้

กฎหมายหน้ารู้

ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีหลักประกันมาวางศาล

ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีหลักประกันมาวางศาล
     การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีหลักประกัน คือ การปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาเป็นการชั่วคราวในระหว่างคดียังไม่เสร็จสิ้น
ในการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวในรูปแบบนี้ ก่อนปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไป ผู้ประกันต้องมีหลักทรัพย์มาวางเป็นประกัน
ต่อศาลตามเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนดเอาไว้ รวมทั้งผู้ร้องขอหรือเจ้าของหลักประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันต่อศาลด้วย
ว่าผู้ประกันจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลถ้าไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันการขอปล่อยตัวชั่วคราวได้

กฎหมายหน้ารู้

การขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่มีประกัน

การขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่มีประกัน
     การขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกัน คือการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว
โดยไม่ต้องทำสัญญาประกัน และไม่ต้องมีหลักประกัน เพียงแต่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย
สาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกเท่านั้น

กฎหมายหน้ารู้