กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว

          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า  “ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง  อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง  และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น   เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่   ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย”

        ด้วยเหตุที่คดีอาญา เป็นคดีความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น  ทั้งต่อประชาชนด้วยกันและต่อรัฐ  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  รัฐในฐานะผู้ปกครองจำต้องเข้าไปเกี่ยวกล้องกับบุคคลในทางชีวิตร่างกายและเสรีภาพของบุคคลในการเคลื่อนไหวร่างกายและจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย

       แต่ด้วยเหตุที่รัฐเองก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย  และฉันต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน   ดังนั้นการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรจึงต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพของประชาชน

       ในการดำเนินคดีอาญานั้น  การควบคุมตัวระหว่างดำเนินคดี  จึงเป็นเรื่องของข้อยกเว้น  กล่าวคือ  โดยหลักจะต้องไม่ควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในอำนาจรัฐ  เว้นแต่  จะมีความจำเป็นจะต้องควบคุมตัวไว้  และในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องควบคุมตัวไว้ในระหว่างคดีนี้  อาจมีการพิจารณาอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวได้  ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอปล่อยตัวชั่วคราวไว้ในมาตรา 106  ถึงมาตรา 119 ทวิ  ในปัจจุบันได้มีบัญญัติในมาตรา 107 บัญญัติรับรองสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในการขอปล่อยตัวชั่วคราว   เมื่อได้รับคำร้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้เปิดตัวชั่วคราว

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์  https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการขอปล่อยตัวชั่วคราว

            นับแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา  ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพกันมากขึ้น   และที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อนในรอบ 65 ปี  เพื่อคุ้มครองและรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว   การที่เราจะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำให้ได้ทั้งนี้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  เกิดจากกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

            เมื่อเป็นดังนี้   เกี่ยวกับการประกันตัวหรือการขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน   กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันตัวเอาไว้ในมาตรา 239 ว่า  คำขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว   โดยจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีไม่ได้  การไม่ให้ประกันตัวต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมายและต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยทรัพย์โดยเร็ว   สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันซึ่งได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ  บุคคลผู้ถูกควบคุม  คุมขัง หรือจำคุก  ย่อมมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะและมีสิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควรอีกด้วย

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382 

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์  https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้