ออกเช็ค ของผู้อื่นและลงลายมือชื่อผู้อื่น

ออกเช็ค ของผู้อื่นและลงลายมือชื่อผู้อื่น

ในส่วนกรณีนี้ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเอาไว้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 1983/2514

จำเลยใช้เช็คของส.และลงชื่อส.เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นและมอบให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ทำให้ผู้เสียหายลงผิดว่าจำเลยเป็น ส.ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย  แต่ผู้เสียหายไปรับเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน  เช่นนี้ถือเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้า

การออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ล่วงหน้าโดยวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันครบกำหนดชำระเงิน ในส่วนนี้ศาลได้มีแนวคำพิพากษาฎีกาไว้ดังต่อไปนี้

ฎีกาที่ 7569/2541    การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมโดยปรากฏว่าวันเสาร์จ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงินแสดงว่าขนาดเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้น  ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องและบังคับได้ตามกฎหมาย      การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้วไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตามเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน    จำเลยที่๒ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

ฎีกาที่ 6888/2550  ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค      พ. ศ.2534 นั้น    วันออกเช็คย่อมหมายถึง  วันที่ลงในเช็คส่วนวันที่เขียนเช็คหรือมอบเช็คให้แก่ผู้เสียหายหาใช่วันที่ออกเช็คไม่ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าหลังจากที่ผู้เสียหายได้รับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและเช็คพิพาทแล้วผู้เสียหายก็มอบเงินที่กู้ยืมให้แก่จำเลยในวันเดียวกันนั้น ปรากฏว่าวันสั่งจ่ายเช็คที่ลงในเช็คพิพาทตรงกับวันครบกำหนดชำระเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแสดงว่าขณะที่เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือเป็นออกเช็คดังกล่าวสมบูรณ์และมีหลักฐานเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน    การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

 

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้

ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเช็ค

          ผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเช็ค

กรณีที่มีการออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยที่มีการเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยให้แก่ผู้เสียหาย กรณีนี้ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราหากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็ไม่ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหาย ตามกฎหมาย

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

กรณีที่มีการออกเช็คสั่งจ่ายเงินโดยรวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

ฎีกาที่ 508- 5010/2549

โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3  เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระหนี้เงินต้นเท่าใดจะได้ดอกเบี้ยเท่าใด  จึงถือได้ว่า  เช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คกับใบเสร็จการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

กฎหมายหน้ารู้

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น มีการออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พุทธศักราช 2527 ใช้บังคับปรากฏว่า

การกู้ยืมเงินและรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไปโดยมีการจ่ายเงิน  ดอกเบี้ย  หรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทนให้สูงเกินไปกว่าประโยชน์ที่ผู้กู้ยืมเงินหรือผู้รับฝากเงินจากเพิ่งหามาได้จากการประกอบธุรกิจตามปกติโดยผู้กระทำได้ร่วมประชาชนที่หวังจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูงให้นำเงินมาเก็บไว้กับตน ด้วยการใช้วิธีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงเป็นเครื่องล่อใจ แล้วนำเงินที่ได้มาจากการกู้ยืมหรือรับฝากเงินรายอื่นๆมาจ่ายเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ฝากเงินรายก่อนๆในลักษณะต่อเนื่องกันอันเป็นลักษณะของการฉ้อโกงประชาชนเพราะจะไม่ได้รับเงินคืน

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน

ทางปฏิบัติในการกู้ยืมเงินที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การกล่าวถึงหลักการพื้นๆไม่ลงลึกในรายละเอียด  เพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการแนวทาง ในการทำคดีประเภทนี้ ดังนั้นจึงไม่ควรจะยึดถือเป็นหลักตายตัวไปทั้งหมด จะยึดได้กรณีเฉพาะที่มีการแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเท่านั้น    ส่วนด้านอื่นที่เป็นเทคนิคของผู้ทำคดีแต่ละคนที่จะประยุกต์ใช้หรือมีเทคนิควิธีการที่ดีอยู่แล้วก็ได้ซึ่งเป็นเรื่องของเฉพาะบุคคลไป     ในทางปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงินในแต่ละขั้นตอน  ผู้เขียนเห็นว่าควรมีสิ่งดังต่อไปนี้

  1. การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องกระทำเมื่อเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี ทางหนึ่งที่จะได้ข้อเท็จจริงก็คือการตรวจสอบซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริงจากตัวความ เพิ่งมาติดต่อปรึกษาว่าจ้างให้เราเป็นทนายความให้ จะต้องซักถามรายละเอียดและข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมีอะไร อย่างไรบ้าง ต้องรวบรวมไว้ซึ่งจะต้องซักถามรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อมองลู่ทางรูปเขาของคดีแล้ว เมื่อตัดสินใจฟ้องร้องก็มักจะมีการออกหนังสือบอกกล่าวที่เรียกว่า Notice เป็นการกล่าวเตือนให้ปฏิบัติการชำระหนี้มิฉะนั้นจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ลักษณะของหนังสือบอกกล่าวนั้นควรมีลักษณะตรงไปตรงมา กล่าวถึงเหตุผลความเป็นมาของนิติกรรมสัญญาระหว่างกันการผิดนัดจำนวนหนี้สินที่ต้องชำระตลอดเป็นมาตรการที่จะให้ดำเนินการหากไม่ปฏิบัติตามการชำระหนี้คือ การฟ้องคดีนั้นเอง

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดยักยอกทรัพย์

ความผิดยักยอกทรัพย์

              ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 บัญญัติว่า    ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

             ถ่ายทอดนั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิดเพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใดหรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงครึ่งหนึ่ง

https://www.facebook.com/chessstudio/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

 

 

 

กฎหมายหน้ารู้

การแจ้งความเท็จ

การแจ้งความเท็จ

การกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จมักจะเกี่ยวเนื่องกับกรณีการไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานหรือพนักงานสอบสวน ซึ่งผู้แจ้งอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไป

             มาตรา 137 บัญญัติว่าผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

             มาตรา 172 บัญญัติว่าผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดีพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

             มาตรา 173 บัญญัติว่าผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่าได้มีการกระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท

https://www.facebook.com/chessstudio/

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

กฎหมายหน้ารู้

การคิดดอกเบี้ยทบต้น

การคิดดอกเบี้ยทบต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา65 ได้กำหนดบทบัญญัติไว้ว่า ” ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ถ้าว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปี 1 คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเท่ากับต้นเงินแล้ว  ให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ รายการตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ  ”

ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดีในการค้าขายอย่างอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี  หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่

ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายบัญญัติเป็นหลักเบื้องต้นไว้เลยว่าห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะต้องตามกรณีข้อยกเว้น  กล่าวคือ  กรณีที่มีการตกลงไว้เป็นหนังสือให้นำเอาดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปี 1 มาทบเท่ากับต้นเงินได้และในกรณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตลอดจนการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกัน    มาตรา 65 วรรคสองซึ่งการห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้นนี้ในเรื่องหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรค 2  ข้อบัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันว่า   ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

https://www.xn--m3chxdimor3acc6c2a3o7gd.com/

 

กฎหมายหน้ารู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

สอบถามเพิ่มเติม  091-0473382

หน้าแรก

 

กฎหมายหน้ารู้