• หน้าแรก
  • นโยบายของเรา
  • กฎหมายน่ารู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
  • ลูกค้าของเรา
  • ติดต่อเรา
  • https://personeriadeaguachica.gov.co/

  • https://www.miyosushi.net/

  • slot thailand

  • slot depo 5k

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับการขอปล่อยตัวชั่วคราว

ตัวอย่างที่ 1 สิทธิของผู้ถูกควบคุมขังโดยผิดกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัว

คำพิพากษาฎีกาที่ 4827/2550 ได้วางแนวเอาไว้ว่า   สิทธิ์ของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 90 นั้น  มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกควบคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น   ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว  พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว  โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้  กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะยื่นคำร้องแล้ว  ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอตามมาตรา 90 ได้  หากการจับไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง   ด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมายในเรื่องนั้นๆต่อไป  ทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่า   เจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น  ก็ไม่ใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90 เช่นกัน  พูดแล้วไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องเป็นคดีนี้

 

ตัวอย่างที่ 2  กรณีนิติบุคคลตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย  จะค้างหรือปล่อยชั่วคราวผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้  ปราณนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้และไม่ถือว่าเป็นการจัดที่จะได้รับรางวัลนำจับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 3117/2533   ได้ระบุรายละเอียดในเรื่องนี้เอาไว้ว่า   โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อพ.ร.บศุลกากร  คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ขอเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม  ดังนี้  กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆของนิติบุคคลนั้น   ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี   ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้  แต่จะขังหรือปล่อยตัวชั่วคราว  ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้  ตอนนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้  ขอให้ใช้วิธีการกรอกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี

การที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้ว  แจ้งข้อกล่าวหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด  จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย  ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพศ 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8

 

สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382

สนง.กฎหมายสยามอินเตอร์ลอว์

https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดที่เกี่ยวกับการละเมิด
การขายฝากกระเป๋าแบรนด์เนม
แนวทางการดำเนินคดียักยอกทรัพย์

สอบถามข้อมูล




    สำนักงานกฎหมาย สยามอินเตอร์ลอว์

    71/264 หมู่บ้านเดอะคัลเลอร์ส บางนา
    ซอยมหาชัย ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

    02-1217414 , 091-0473382

    siaminterlaw09@gmail.com

    ติดตามเรา

    • Facebook
    • Instagram
    • youtube
    • Line