ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
วรรค 3 บัญญัติว่า ” ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ” และมาตรา 40 (7) บัญญัติว่า ” ในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิ์ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความและการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว “
ซึ่งจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ จะทราบได้ว่า ในคดีอาญาตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลใดกระทำความผิดและต้องรับโทษ ตราบนั้น บุคคลนั้นก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาและถูกฟ้องร้อง และย่อมที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างที่ถูกดำเนินคดี และสำหรับคำขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาก็ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว แล้วจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีไม่ได้ การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมาย และต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้ต้องหาทราบหรือจำเลยทราบโดยเร็ว สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลผู้ถูกคุมขัง การคุมขัง หรือการจำคุก ย่อมมีสิทธิพบหรือปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะและมีสิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควรด้วย