ยึดทรัพย์ลูกหนี้
การยึด ป.วิ.พ. 296 (3)
คำจำกัดความ “การยึด” หมายถึง ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ครบกำหนดระยะเวลาคำบังคับจำเลย(ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ไม่ยอมปฏิบัติตาม (ไม่ยอมชำระหนี้) โจทก์ขอให้บังคับคดี และศาลออกหมายบังคับคดี หากปรากฎว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษา มีทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ดำเนินการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกมาขายทอดตลาด
การยึดทรัพย์สิน หมายความว่า การนำทรัพย์สินมาเก็บรักษาไว้หรือฝากไว้ ณ สถานที่ใดหรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร หรือมอบให้จำเลยเป็นผู้รักษานั้นโดยได้รับความยินยอมของโจทก์
-ทรัพย์ที่ยึด ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่อย่างไรก็ดี เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถดำเนินการยึดเองได้ โดยที่โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่ได้นำยึดก็ได้ ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา 5493/2563
ทรัพย์ที่สามารถยึดได้ อาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ แม้กระทั้งสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิในเครื่องหมายทางการค้า ลิขสิทธิ์ เป็นต้น และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนนาจยึดทรัพย์สินของคู่สมรส ทรัพย์สินของบุคคลอื่นเอามาบังคับชำระหนี้ได้ (ป.วิ.อ.มาตรา 297) เว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติว่าทรัพย์นั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (not liable to execution) ป.วิ.อ.มาตรา 301 ได้แก่
(1)เครื่องนุ่มห่มหลับนอน เครื่องใช้ครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว รวมกันไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท
(2) สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพ,วิชาชีพ รวมกันไม่มาณไม่เกิน 100,000 บาท
(3) สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้่ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่ช่วยหรือแทนอวัยวะ
(4) ทรัพย์สินที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น สมุดบัญชี จดหมายต่างๆ
(8) ทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่น ที่ดิน ส.ป.ก. ตามคำพิพากษาฎีกา 1340/2546
ห้ามมิให้ยึดเกินกว่าที่จะพอชำระหนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องยึดทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ ถ้าทรัพย์สินนั้นอยู่ในสภาพแบ่งยึดได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแบ่งยึดได้บางส่วนเท่าที่พอจะชำระหนี้ได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจจะคัดค้านคำสั่งหรือการดำเนินของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ซึ่งต้องยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือมีการดำเนินการดังกล่าว
ผลของการยึดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ที่ยึดจากลูกหนี้ตามคำพิพากษามาขายทอดตลาดและนำเงินได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีผลทางกฎหมาย
ตัวอย่างผลเกี่ยวกับดอกผลหรือเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์ เช่นดอกผลธรรมดาที่ไม่ใช่เงิน แตเป็นสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างเช่นเดียวกับทรัพย์ที่ถูกยึด ตัวอย่างยึดสุกรของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในครอก ย่อมครอบถึงลูกสุกรด้วย เครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์ เช่นเครื่องซ่อมแซมรถยนต์เป็นอุปกรณ์ของรถ
กรณียึดอสังหาริมทรัพย์ ย่อมมีผลเป็นการยึดครอบไปถึง ดอกผลธรรมดาที่ลูกหนี้มีสิทธิเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นดอกผลที่ผู้อื่นมีสิทธิเก็บเกี่ยวในอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ครอบไปถึงดอกผลธรรมดานั้นด้วย หากจะให้มีผลเป็นการยึดดอกผลธรรมดาในอสังหาริมทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลทรัพย์นั้นทราบขณะทำการยึดว่าได้ยึดดอกผลแล้ว จึงจะมีผลในการยึดนั้นครอบไปถึงดอกผลธรรมดา ตัวอย่างการยึดห้องแถวย่อมครอบไปถึงค่าเช่าด้วย คำพิพากษาฎีกา 187/2490