• หน้าแรก
  • นโยบายของเรา
  • กฎหมายน่ารู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
  • ลูกค้าของเรา
  • ติดต่อเรา

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

กู้ยืมเงินโดยไม่มีสัญญากู้

หลักฐานเป็นหนังสือนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินเสมอไป แต่จะปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบใดก็ได้ที่มีลายมือชื่อผู้กู้ ลงไว้เป็นสำคัญ  เช่น  จดหมายโต้ตอบ หนังสือรับสภาพหนี้ บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอรายงานการประชุม รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นต้น การมีหลักฐานดังกล่าวก็ถือว่าเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ในการฟ้องคดีได้แล้ว

ฎีกาที่ 36/2555

เอกสารหมาย จ.2 นอกจากจะเป็นหลักฐานว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินจาก ส.แล้ว เอกสารดังกล่าวยังมีข้อความที่แสดงว่าเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2536 จำเลยได้ผู้ยืมเงินจากจำนวน 2 ล้านบาท จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ   แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ไม่เจตนาให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินกันก็ตาม แต่การที่คู่สัญญาไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันเป็นหนังสือไว้แล้ว  หามีผลทำให้เอกสารฉบับนี้ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม    โจทก์จึงใช้เอกสาร หมาย จ. 2 เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือได้

 

ฎีกาเรื่องหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

ฎีกาที่ 167/ 2499

คำรับสารภาพหนี้ในบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นพยาน  แสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

ฎีกาที่ 65/2507

หนังสือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว    ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น

 

ฎีกาที่ 64/2509

บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง และจำเลยได้ลงชื่อไว้ท้ายบันทึกนั้นด้วย    แม้จะเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนเรียกไปไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตาม   ก็สามารถใช้บันทึกนั้นเป็นหลักฐานแทนสัญญาแห่งการกู้ยืมได้

ฎีกาที่ 215/2510

จำเลยและภรรยาได้จดทะเบียนหย่ากันที่อำเภอและได้ให้ถ้อยคำในบันทึกหลังทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนว่า ภรรยาจำเลยได้ยืมเงินจากโจทก์มายังไม่ได้คืน จำเลยและภรรยาได้ลงลายมือชื่อรับรองว่าบันทึกถูกต้อง  ดังนั้นบันทึกหลังทะเบียนการหย่าถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 653 โจทย์สามารถนำหลักฐานนั้นมาฟ้องร้องเรียกหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมได้

ฎีกาที่ 483/2510

จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่า ไม่ต้องมารบกวนอีกเก่ายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละอายใจเพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ   เพราะข้อความยังไม่ระบุจำนวนเงินโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ไม่ได้     แต่ต่อมาหากโจทก์ส่งข้อความไปให้จำเลยจำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับเงินแล้ว  และต่อมาจำเลยมีจดหมายอีก 2 ฉบับถึงจุดยืนยันว่าจะใช้เงินที่ยืมให้จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม     โจทก์จึงฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้

 

กฎหมายหน้ารู้

ความผิดฐานฉ้อโกงคืออะไร และต้องดำเนินคดีอย่างไร
ขายทอดตลาดรถเช่าซื้อไม่ชอบ  ลูกค้าต้องรับผิดหรือไม่
โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าไม่ประสงค์ดำเนินคดี

สอบถามข้อมูล




สำนักงานกฎหมาย สยามอินเตอร์ลอว์

71/264 หมู่บ้านเดอะคัลเลอร์ส บางนา
ซอยมหาชัย ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

02-1217414 , 091-0473382

siaminterlaw09@gmail.com

ติดตามเรา

  • Facebook
  • Instagram
  • youtube
  • Line