• หน้าแรก
  • นโยบายของเรา
  • กฎหมายน่ารู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
  • ลูกค้าของเรา
  • ติดต่อเรา
  • https://personeriadeaguachica.gov.co/

  • https://www.miyosushi.net/

  • slot thailand

  • slot depo 5k

การรับผิดเอารถเช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อ

#การรับผิดเอารถเช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อ
         มาตรา ๔๕๓ การซื้อขายทรัพย์สินนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๕๓)
        มาตรา ๗๔๗ การจำนำ คือ การที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘)
เมื่อการขายทรัพย์สินเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ และการจำนำคือการนำทรัพย์สินของตนเองให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ประทาน แต่ทั้งนี้เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นยังมิใช่กรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ ตามหลักผู้เช่าซื้อจึงไม่อาจนำรถยนต์คันเช่าซื้อไปจำนำหรือขายต่อให้แก่บุคคลภายนอกได้
       การที่ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปขายหรือจำนำต่อนั้น ไฟแนนซ์สามารถเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ 2 ราย คือ
1.) ผู้เช่าซื้อ ทางอาญา เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทางแพ่ง เป็นการผิดสัญญาและสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที https://www.funpizza.net/
2.) ผู้รับซื้อหรือรับจำนำ มีความผิดฐานรับของโจร
– รถอยู่ระหว่างผ่อน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ขายรถได้ไหม
ไม่ได้ เพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เว้นแต่เป็นการขายดาวน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2550 ป.พ.พ. มาตรา 572 เช่าซื้อคือสัญญาซึ่ง “เจ้าของ” เอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ซึ่งผู้มีอำนาจทำสัญญาจึงต้องเป็น “เจ้าของ” แต่โดยสภาพของสัญญาเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมจะโอนไปยังผู้เช่าซื้อในอนาคต หาได้โอนกรรมสิทธิ์ในทันทีขณะทำสัญญาไม่ “เจ้าของ” จึงหมายถึง ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขณะทำสัญญาเช่าซื้อและหมายรวมถึงผู้ที่จะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในอนาคตโดยชอบด้วย เมื่อ ค. ได้ซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาทมาจาก ห. โดย ห. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจโอนลอยทางทะเบียนให้ ค. ไว้แล้ว เพียงจะนำไปเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น โดย ค. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ด้วย เท่ากับว่าจะโอนเป็นชื่อของบริษัทโจทก์เมื่อใดก็ได้ ต่อมาโจทก์ได้ให้ ห. เช่าซื้อรถแทรกเตอร์คันพิพาท และ ห. นำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย ดังนั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็น “เจ้าของ” รถแทรกเตอร์คันพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อได้ สัญญาเช่าซื้อจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ห. ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยไม่นำค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แต่กลับนำรถแทรกเตอร์คันพิพาทไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดรถแทรกเตอร์คันพิพาทไว้จำต้องคืนให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ได้ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
สอบถามหรือรับคำแนะนำ (ฟรี ) 📱Tel. 02-1217414, 091-0473382
https://page.line.me/379vfaui

กฎหมายหน้ารู้

ข้อปฏิบัติในคดีกู้ยืมเงิน
การขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่มีประกัน

สอบถามข้อมูล




    สำนักงานกฎหมาย สยามอินเตอร์ลอว์

    71/264 หมู่บ้านเดอะคัลเลอร์ส บางนา
    ซอยมหาชัย ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

    02-1217414 , 091-0473382

    siaminterlaw09@gmail.com

    ติดตามเรา

    • Facebook
    • Instagram
    • youtube
    • Line