เกี่ยวกับการฟ้องหรือการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับคดีเงินกู้นั้น ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง ซึ่งบัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นนั้น
ดังนั้น จึงต้องมีการบรรยายฟ้องที่ชัดเจน ไม่เคลือบคลุม ไม่ขัดกันเอง เช่น กรณีวันที่กู้เป็นระยะเวลาหลังจากหนี้ถึงกำหนดแล้ว เช่น ฟ้องว่ากู้วันที่ 5 พฤศจิกายน 2533 กำหนด 1 เดือน ครบกำหนดสัญญาวันที่ 5 ตุลาคม 2533 ซึ่งอ่านแล้วก็จะไม่เข้าใจ อาจจะเป็นกรณีผิดพลาดเรื่องการพิมพ์ หรือบรรยายฟ้องวันทำสัญญากับวันครบกำหนดตามสัญญาสลับวันกัน การบรรยายฟ้องจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ขอสรุปเป็นข้อสังเกตุดังนี้
1.การบรรยายฟ้องไม่จำเป็นต้องบรรยายเกี่ยวกับที่มาหรือมูลหนี้ที่กู้ยืมแม้ไม่บรรยายก็ไม่ถือว่าเป็นฟองเคลือบคลุม
ฎีกา 720/2518
ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ซึ่งโจทย์ได้ส่งสำเนาสัญญากู้มาพร้อมกับฟ้องแล้ว แม้ในฟ้องจะได้กล่าวถึงที่มาหรือมูลหนี้ของสัญญากู้ฉบับที่โจทก์ฟ้อง แต่ไม่ได้เปล่ารายละเอียดต่างๆของที่มาหรือมูลหนี้นั้นไว้ด้วยก็ไม่เป็น
ฎีกา 2317/2530
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่า เดิมสามีจำเลยกู้เงินสดไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้จดไว้แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธิ์นำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง
- กรณีกู้เงินกันหลายครั้ง หลายปี แล้วนำมาฟ้องในคราวเดียวกัน บรรยายปีที่กู้สลับกันไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้เอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสารดังนี้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม (ฎีกาที่ 1324/2519) หรือกรณีโจทก์ฟ้องว่าจำเลยในฐานะที่เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการได้ทำหลักฐานยืมเงินจดไป 14 ครั้งรวมเป็นเงิน 61,500 บาท โดยจำเลยอ้างว่ายืมไปทดรองจ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้นำเงินยืมไปใช้ในกิจการของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยถือว่าฟ้องโจทก์ได้กล่าวแสดงรายละเอียดถึงวันเดือนปีและจำนวนเงินที่จำเลยยืมไปและมีสำเนาใบยืมท้ายฟ้องดังนี้ ฟ้องโจทย์ไม่เคลือบคลุม(ฎีกาที่ 10000/2511)
- กรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทย์เคลือบคลุมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 137 วรรค 2 นั้น หากจะให้ศาลสูงวินิจฉัยในประเด็นนี้โจทย์จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งเป็นประเด็นว่าคำฟ้องของโจทย์ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุใดหากไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตามลำดับแต่เพิ่งจะมายกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาแล้วศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 (ฎีกาที่ 77/2511)
- กรณีเรื่องบัญชีเดินสะพัดแต่ตั้งรูปเรื่องฟ้องมาเป็นกู้ยืมหากคำบรรยายฟ้องเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดศาลก็มีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก้คดีได้
ฎีกาที่ 4872/2528
โจทก์ฟ้องเรื่องกู้ยืมเงินแต่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าโจทย์ที่ 2 ได้รับโควตา เป็นผู้ส่งอ้อยให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกไร่ส่งอ้อยให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์นำไปขายให้แก่โรงงานน้ำตาล โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกทุนให้จำเลยทั้งสองก่อนโดยจ่ายเป็นเงินสดบ้าง เป็นเช็คบ้าง ทั้งได้จ่ายค่าไถ่ที่ดิน ค่าปุ๋ยและของอื่นๆเพื่อให้จำเลยใช้ในการทำไร่อ้อย โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับหนี้ทุกรายการ เมื่อตัดอ้อยแล้วจำเลยทั้งสองส่งให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 จะนำอ้อยดังกล่าวไปขายให้โรงงานน้ำตาล ครั้นโจทก์ที่ 2 ได้รับเงินค่าขายอ้อยจากโรงงาน จึงมาคิดหักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสอง หักค่าอ้อยที่จำเลยทั้งสองได้รับไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเบิกไป ก็ยกยอดไปในปีต่อไปและโจทย์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งจำเลยทั้งสองรับว่าเป็นผู้ปลูกอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในโควตาของโจทก์ โจทก์จ่ายค่าปุ๋ยให้จำเลย เมื่อโจทก์น้ำอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลและได้รับเงินมาแล้วก็มาคิดบัญชีกันเป็นรายปี แต่หลังจากจำเลยเลิกเป็นลูกไร่ของโจทก์แล้วไม่ได้คิดเงินกันโจทก์จำเลยจะเป็นหนี้ลูกหนี้กันเท่าใดจึงไม่ทราบ กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างจดที่ 2 กับจำเลย จึงเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดจึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องเรื่องกู้ยืมแต่ก็ได้บรรยายฟ้องเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัด ศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้ และการฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดิมสะพัดนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
- สำหรับสารที่จะรับคำฟ้องคดีกู้ยืมนั้น เดิมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 (2) คือสารที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเป็นหลัก ส่วนสารที่เป็นศาลยกเว้นคือสารที่มูลคดีเกิด ต่อมามีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยการฟ้องคดีเป็นไปตามมาตรา 4 คือศาลภูมิลำนาวจำเลยและศาลมูลคดีไม่แยกเป็นศาลหลักศาลยกเว้นเหมือนแต่ก่อน
ฎีกา 3789/2528
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดศรีสะเกษ แต่โจทก์ยื่นคำฟ้องให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสารที่มีมูลคดีเกิดศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีคำสั่งคำร้องนี้ว่า “รวม” และรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยเพื่อแก้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนกระทั่งเสร็จการพิจารณา ถือว่าศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(2) ศาลจังหวัดอุบลราชธานีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ( วินิจฉัยตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก่อนแก้ไข)
สอบถามกฎหมาย กับทนายคดีเงินกู้ สอบถามคดีเงินกู้เพิ่มเติม ติดต่อ 091-047-3382 (ทนายสุริยา สนธิวงศ์)